การศึกษาปริมาณรังสียังผลและปริมาณรังสีดูดกลืนที่ผู้ป่วยมะเร็งปอดได้รับจากจำลองการรักษาด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จำลองการรักษาในโรงพยาบาลสกลนคร

ผู้แต่ง

  • พัฒนพงษ์ แสนชนม์ หน่วยรังสีรักษา กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลสกลนคร

คำสำคัญ:

ปริมาณรังสียังผล, ปริมาณรังสีดูดกลืน, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์จำลองการรักษา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อหาค่าปริมาณรังสียังผลและปริมาณรังสีดูดกลืนที่ผู้ป่วยมะเร็งปอดได้รับจากเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จำลองการรักษา ปัจจุบันมีการนำเครื่องมือจับสัญญาณการหายใจ (respiratory gating) มาใช้ในการตรวจจับการหายใจของผู้ป่วยเพื่อนำมาใช้กำหนดตำแหน่งในการฉายรังสีในขั้นตอนการวางแผนการรักษาและการฉายรังสีเพื่อลดผลแทรกซ้อนต่ออวัยวะเสี่ยงข้างเคียงจากการฉายรังสี แต่ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวในโรงพยาบาลสกลนคร หน่วยรังสีรักษาจึงมีการพัฒนาการจำลองการฉายรังสีด้วยการนำเทคนิคการจำลองการรักษาแบบ 3 ชุด (Series) มาใช้ในการกำหนดตำแหน่งก้อนมะเร็งแทน โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่เข้ารับการฉายรังสี จำนวน 50 ราย ประกอบด้วยผู้ป่วยเพศชาย 27 ราย และเพศหญิง 23 ราย อายุระหว่าง 23-85 ปี ระหว่างวันที่ 6 ธันวาคม 2560 ถึง 30 มิถุนายน 2561 ในหน่วยรังสีรักษา โรงพยาบาลสกลนคร ผู้ป่วยทุกรายได้รับการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จำลองการรักษา ด้วยเทคนิคการจำลองการรักษาแบบ 3 ชุด ประกอบด้วย ชุดที่ 1 ผู้ป่วยหายใจเข้าเต็มที่กลั้นใจนิ่งแล้วทำการสแกน ชุดที่ 2 ผู้ป่วยหายใจออกสุดกลั้นใจนิ่งแล้วสแกน และ ชุดที่ 3 ผู้ป่วยหายใจปกติแล้วทำการฉีดสารทึบรังสีพร้อมกับสแกน สำหรับภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทั้ง 3 ชุดของผู้ป่วยแต่ละรายถูกนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์วางแผนการรักษาและทำการหลอมรวมภาพเพื่อทำการกำหนดขอบเขตของตำแหน่งในการฉายรังสีและอวัยวะเสี่ยงข้างเคียง สำหรับปริมาณรังสียังผลและปริมาณรังสีดูดกลืนที่ผู้ป่วยได้รับทำการคำนวณด้วยโปรแกรมคำนวณปริมาณรังสีสำหรับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์อิมแพค รุ่น 1.0.4 ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณรังสียังผลเฉลี่ย ต่ำสุดและสูงสุด มีค่าเท่ากับ 23.01, 19.50 และ 40.50 มิลลิซีเวิร์ต ตามลำดับ สำหรับค่าปริมาณรังสีดูดกลืนเฉลี่ยในหลอดอาหาร ปอด หัวใจ เต้านม ต่อมหมวกไต ตับ ตับอ่อน ม้าม กระเพาะอาหาร ไต และลำไส้เล็ก มีค่าอยู่ระหว่าง 4.70–33.64 มิลลิเกรย์ สรุปผลศึกษาครั้งนี้พบว่าการจำลองการรักษาผู้ป่วยมะเร็งปอดด้วยเทคนิคการจำลองการรักษาแบบ 3 ชุด ทำให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสียังผลและปริมาณรังสีดูดกลืนเพิ่มขึ้นแต่จะทำให้แพทย์รังสีสามารถกำหนดขอบเขตก้อนมะเร็งและอวัยวะข้างเคียงให้ได้รับปริมาณรังสีครอบคลุมตรงตามแผนการรักษาที่กำหนด

 

References

1. Protection NCoR, Measurements, Meinhold CB. Limitation of Exposure to Ionizing Radiation: Recommendations of the National Council on Radiation Protection and Measurements. United States: The Council; 1993.
2. ศรีชัย ครุสันธิ์. วิทยาการใหม่ของรังสีรักษา. ศรีนครินทร์เวชสาร 2554;26:35-42.
3. Mettler F, Thomadsen B, Chatfield M, Gilley D, Gray J, Lipoti J, et al. Medical radiation exposure in the U.S. in 2006: Preliminary results. Health physics 2008;95:502-7.
4. Charles M. ICRP Publication 103: Recommendations of the ICRP. Ann ICRP 2007;37.
5. Carlsson G, Dance D, DeWerd L, Kramer H, Ng K, Pernicka F, et al. Dosimetry in Diagnostic Radiology: An International Code of Practice; 2007.
6. International Atomic EnergyAgency. Dosimetry in Diagnostic Radiology: An International Code of Practice, Technical Reports Series No.457. Vienna: IAEA; 2007.
7. Dendy PP, Heaton B. Physics for Diagnostic Radiology. 3 rd ed . London: Taylor & Francis; 1999.
8. Puekpuang R. Organ and Effective Doses from A Multidetector Computed Tomography in Chest Examination. Journal of Mrdical Physics and Biophysics 2015;2:27-9.
9. Fujii K, Aoyama T, Yamauchi-Kawaura C, Koyama S, Yamauchi M, Ko S, et al. Radiation dose evaluation in 64-slice CT examinations with adult and paediatric anthropomorphic phantoms. The British journal of radiology 2009;82:1010-8.
10. Lumlertdacha S. Patient Dose Undergoing Routine 64 Multi Detector Computed Tomography (MDCT) Examinations of Rajavithi Hospital. Sawanpracharak Medical Journal 2010;7(2):127-38.
11. Shrimpton P, Jansen J, Harrison J. Updated estimates of typical effective doses for common CT examinations in the UK following the 2011 national review. The British journal of radiology 2015;89:20150346.
12. Pyone Y, Suriyapee S, Sanghangthum T, Oonsiri S, Tawonwong T. Determination of effective doses in image-guided radiation therapy system. Journal of Physics: Conference Series 2016;694:012007.
13. Sanklaa K. Evaluation of effective doses in CT simulation using CTDIw calculation. Journal of Associated Medical Sciences 2017;50(3):417-23.
14. Wang W, Yuan F, Wang G, Lin Z, Pan Y, Chen L. Three-dimensional conformal radiotherapy by delineations on CT-based simulation in different respiratory phases for the treatment of senile patients with non-small cell lung cancer. OncoTargets and therapy 2015;8:2461-7.
15. Deluca P, Wambersie A, Whitmore G. Prescribing, recording, and reporting proton-beam therapy. Journal of the ICRU 2007;7:1-210.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-29