การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาเม็ดมหาพิกัดตรีผลา ยาเม็ดสารสกัดมหาพิกัดตรีผลา กับยาเม็ดสารสกัดมะขามแขกเพื่อบรรเทาภาวะท้องผูก

ผู้แต่ง

  • นราธิป วิเวกเพลิน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สมศักดิ์ นวลแก้ว คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ประสบอร รินทอง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ตรีผลา, มหาพิกัดมะขามแขก, ท้องผูก, ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่ม ปกปิดทั้งผู้เข้าร่วมโครงการและผู้วิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาเม็ดและยาเม็ดสารสกัดมหาพิกัดตรีผลาแก้วาตะสมุฏฐานที่มีอัตราส่วนสมอไทย 12 ส่วน มะขามป้อม 8 ส่วน และสมอพิเภก 4 ส่วนกับยาเม็ดสารสกัดมะขามแขกเพื่อบรรเทาภาวะท้องผูก กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคืออาสาสมัครที่มีภาวะท้องผูกในเขตตำบลเซิม อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย จำนวน 201 คน แบ่งกลุ่มโดยการสุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยาเม็ดมหาพิกัดตรีผลาขนาด 500 มิลลิกรัมจำนวน 2 เม็ด กลุ่มที่ได้รับยาเม็ดสารสกัดมหาพิกัดตรีผลาขนาด 250 มิลลิกรัมจำนวน 2 เม็ด และกลุ่มที่ได้รับยาเม็ดสารสกัดมะขามแขกที่มีปริมาณเซนโนไซด์ 7.5 มิลลิกรัมจำนวน 2 เม็ด โดยทั้ง 3 กลุ่มรับประทานวันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบตรวจประเมินอาสาสมัครที่มีภาวะท้องผูก แบบสอบถามอาสาสมัครก่อนการวิจัยและสมุดบันทึกการถ่ายอุจจาระประจำวัน

ผลการศึกษาพบว่าอาสาสมัครที่ได้รับยาเม็ดมหาพิกัดตรีผลา ยาเม็ดสารสกัดมหาพิกัดตรีผลา และยาเม็ดสารสกัดมะขามแขกสามารถถ่ายอุจจาระภายใน 24 ชั่วโมงหลังการรับประทานผลิตภัณฑ์คิดเป็นร้อยละ 79.7, 82.5 และ 88.5 ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบทั้งสามกลุ่ม อาสาสมัครที่ได้รับยาเม็ดสารสกัดมะขามแขกมีจำนวนครั้งที่ถ่ายอุจจาระต่อวันมากที่สุดคือ 4 ครั้ง ซึ่งมากกว่าอาสาสมัครที่รับประทานยาเม็ดมหาพิกัดตรีผลาและยาเม็ดสารสกัดมหาพิกัดตรีผลาที่มีจำนวนครั้งการถ่ายอุจจาระมากที่สุดคือ 2 และ 3 ครั้งต่อวันตามลำดับ นอกจากนี้การรับประทานผลิตภัณฑ์ทั้งสามชนิดยังทำให้ปริมาณอุจจาระเพิ่มขึ้น ใช้แรงเบ่งลดลง ความพึงพอใจของอาสาสมัครต่อภาพรวมของการถ่ายอุจจาระเพิ่มขึ้น อาการท้องอืดและเบื่ออาหารลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนรับประทาน อาสาสมัครทุกกลุ่มเริ่มถ่ายอุจจาระภายหลังการรับประทานผลิตภัณฑ์ประมาณ 10 ชั่วโมง และส่วนใหญ่ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์

ผลการศึกษาสรุปได้ว่ายาเม็ดและยาเม็ดสารสกัดมหาพิกัดตรีผลาแก้วาตะสมุฏฐานมีประสิทธิผลบรรเทาภาวะท้องผูกไม่แตกต่างจากยาเม็ดสารสกัดมะขามแขก

 

References

1. Lacy BE, Mearin F, Chang L, Chey WD, Lembo AJ, Simren M, et al. Bowel Disorders. Gastroenterology [Internet]. 2016 ;150(6):1393-1407.e5. Available from: http://www.science direct.com/science/article/pii/S0016508516002225
2. Leung L, Riutta T, Kotecha J, Rosser W. Chronic constipation: An evidence-based review. J Am Board Fam Med [Internet]. 2011;24(4):436–51. Available from: http://www.jabfm.org/cgi/doi/10. 3122/jabfm.2011.04.100272
3. วุฒิพงษ์ อัศวเพชรกุล, สุเทพ กลชาญวิทย์. การศึกษาผลกระทบของภาวะท้องผูกเรื้อรังที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต. จุฬาอายุรศาสตร์ 2558;28(1):1–13.
4. Belsey J, Greenfield S, Candy D, Geraint M. Systematic review: impact of constipation on quality of life in adults and children. Aliment Pharmacol Ther 2010;31(9):938–49.
5. คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ. คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุผลตามบัญชียาหลักแห่งชาติ เล่ม 1 ยาระบบทางเดินอาหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2552.
6. นงลักษณ์ ลิ้มกุล, พรอนงค์ อร่ามวิทย์, อำนาจ ชัยประเสริฐ. ประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้ยาเม็ดมะขามแขกในการรักษาภาวะท้องผูกเรื้อรังในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย. ว.ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2553;5(1):31–6.
7. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. พจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ.2559. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2560.
8. ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, วิเชียร จีรวงส์. คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2558.
9. กัญจนา ดีวิเศษ, บรรณาธิการ. เภสัชกรรมแผนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิชย์; 2547.
10. Tamhane MD, Thorat SP, Rege NN, Dahanukar SA. Effect of oral administration of Terminalia chebula on gastric emptying: an experimental study. J Postgrad Med 1997;43(1):12–3.
11. Mehmood MH, Rehman A, Rehman N-U, Gilani A-H. Studies on prokinetic, laxative and spasmodic activities of Phyllanthus emblica in experimental animals. Phyther Res 2013;27(7):1054–60.
12. เพ็ชรเกษตร วิเชียรแสน. ประสิทธิผลของยาไทยตำรับตรีผลาในการลดระดับไขมันในเลือดในผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง. [วิทยานิพนธ์]. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง; 2555.
13. Mukherjee PK, Rai S, Bhattacharyya S, Debnath PK, Biswas TK, Jana U, et al. Clinical study of “Triphala” - A well known phytomedicine from India. Iran J PharmacolTher [Internet]. 2006;5(1):51–4. Available from: http://ijpt.iums. ac.ir/index.php/ijpt/article/viewArticle/182VN- readcube.com
14. Singh AK, Pandey TN, Bagde A, Sharma R, Dave K. Clinical evaluation of Triphala in constipation: A double blind placebo controlled clinical study. The Antiseptic 2010;1:33–4.
15. Phetkate P, Kummalue T, U-Pratya Y, Kietinun S. Significant increase in cytotoxic T lymphocytes and natural killer cells by triphala: a clinical phase I study. Evidence-based Complement Altern Med [Internet]. 2012. Available from: http://dx.doi.org/10.1155/2012/239856
16. กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย. คู่มือการตรวจรักษาโรคการแพทย์แผนไทยประยุกต์. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559.
17. Mard SA, Veisi A, Naseri MKG, Mikaili P. Spasmogenic activity of the seed of Terminalia chebula Retz in rat small intestine: In vivo and In vitro studies. Malaysian J Med Sci [Internet]. 2011 Sep 20;18(3):18–26. Available from: http://www. ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3216221/
18. Zhong LLD, Cheng C, Kun W, Dai L, Hu D, Ning Z, et al. Efficacy of MaZiRenWan, a Chinese Herbal Medicine, in Patients With Functional Constipation in a Randomized Controlled Trial. Clin Gastroenterol Hepatol [Internet]. 2018; Availablefrom: http://www.sciencedirect.com/science article/pii/S1542356518303410
19. Unites States Pharmacopoeia Convention. United States Pharmacopoeia 38-National Formulary 33. USA: Stationery Office; 2010.
20. Portalatin M, Winstead N. Medical management of constipation. Clin Colon Rectal Surg 2012;25(1):12–9.
21. Tarasiuk A, Mosińska P, Fichna J. Triphala: current applications and new perspectives on the treatment of functional gastrointestinal disorders. Chin Med [Internet]. 2018 Jul 18;13:39. Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6052535/
22. Kim JE, Go J, Koh EK, Song SH, Sung JE, Lee HA, et al. Gallotannin-Enriched Extract Isolated from GallaRhois May Be a Functional Candidate with Laxative Effects for Treatment of Loperamide-Induced Constipation of SD Rats. PLoS One 2016 ;11(9):e0161144–e0161144.
23. Kim JE, Lee MR, Park JJ, Choi JY, Song BR, Son HJ, et al. Quercetin promotes gastrointestinal motility and mucin secretion in loperamide-induced constipation of SD rats through regulation of the mAChRs downstream signal. Pharm Biol 2018;56(1):309–17.
24. Gunasekar CJ. Study on the efficacy of trace metals in selected herbs [Internet]. Doctoral Dissertation, Department of Chemistry University of Madras; 2012. Available from: http://hdl.handle.net/10603/205733
25. Sheng Z, Yan X, Zhang R, Ni H, Cui Y, Ge J, et al. Assessment of the antidiarrhoeal properties of the aqueous extract and its soluble fractions of Chebulae Fructus (Terminalia chebula fruits). Pharm Biol 2016 ;54(9):1847–56.
26. Kumar B, Divakar K, Tiwari P, Salhan M, Goli D. Evaluation of anti-diarrhoeal effect of aqueous and ethanolic extracts of fruit pulp of Terminalia belerica in rats. Int J Drug Dev Res 2010;2(4):769–79.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-29