การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลการเฝ้าระวังภาวะ Compartment Syndrome กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • เสาวภา ไกรศรีวรรธนะ โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

Compartment Syndrome, การเฝ้าระวัง, แนวปฏิบัติการพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลการเฝ้าระวังภาวะ compartment syndrome และศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการเฝ้าระวังภาวะcompartment syndrome กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) พยาบาลปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ 1,2,3 และหอผู้ป่วยพิเศษ กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ จำนวน 40 คน 2) ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่แขน หรือขาที่มีความเสี่ยงต่อภาวะcompartment syndrome ที่รับไว้ในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ 1,2,3 และหอผู้ป่วยพิเศษ ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2560-ธันวาคม 2560 จำนวน 70 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยชุดที่ 1 แบบประเมิน Compartment Syndrome และชุดที่ 2 แผนผังแนวปฏิบัติการพยาบาลการเฝ้าระวังภาวะ Compartment Syndrome กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี กลุ่มที่ 2.เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้เครื่องมือแบบประเมิน compartment syndrome ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.87 2) แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล  ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.87 และ 3) ประเมินการปฏิบัติของพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลการเฝ้าระวังภาวะ compartment syndrome ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.84 ประเมินคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านและวิเคราะห์ความสอดคล้องค่า IOC เฉลี่ยทั้งฉบับได้ 0.84 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา แนวปฏิบัติการการพยาบาลการเฝ้าระวังภาวะCompartment Syndrome ประกอบด้วย 1.แบบประเมิน  Compartment Syndrome ที่มีความเฉพาะแยกประเมินรยางค์บน (แขน) และรยางค์ล่าง (ขา) ชัดเจน 2.แผนผังกำกับการปฏิบัติของพยาบาลในการเฝ้าระวังภาวะ Compartment Syndrome ผลการนำไปใช้ 1) ด้านพยาบาล พบว่า แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นช่วยให้พยาบาลมีแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวังภาวะ Compartment Syndrome อย่างเป็นระบบและเป็นแนวทางเดียวกัน พยาบาลวิชาชีพมีค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติอยู่ในระดับสูงดังนี้ 1. ช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน, 2. ช่วยให้พยาบาลตัดสินใจรายงานอาการผู้ป่วยกับแพทย์ได้รวดเร็วขึ้น, 3. ช่วยให้รวบรวมข้อมูลได้อย่างครอบคลุมและ, 4. พยาบาลสามารถจำแนกอาการผิดปกติผู้ป่วยได้และรายงานอาการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว (x̄=4.17, S.D. 0.75, x̄=4.13, S.D. 0.78, x̄=4.10, S.D. 0.71, x̄=4.07, S.D. 0.69 ตามลำดับ) 2) ด้านการปฏิบัติของพยาบาล ค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ การสอบถามหรือประเมินการได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ว่ามีกระดูกแขนหรือขาหัก/ได้รับการรักษาผ่าตัดดามเหล็ก/ใส่เฝือกเมื่อผู้ป่วยรับใหม่หรือรับย้ายทุกราย และปรับแผนการพยาบาลเมื่อพบผู้ป่วยมีความเสี่ยงได้ถูกต้อง ค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (x̄=2.67, S.D. 0.57) และการประคบเย็นที่ขาหรือแขนที่กระดูกหักตั้งแต่แรกรับผู้ป่วย และพยาบาลสามารถประเมินอาการผิดปกติได้ ค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (x̄=2.57, S.D. 0.41) 3) ด้านคุณภาพบริการ พบว่า อัตราการเกิด fasciotomy และ    Amputation ของกลุ่มตัวอย่างเป็นศูนย์ กลุ่มตัวอย่างที่มีความเสี่ยงได้รับการแก้ไขโดยการตัดเฝือก 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.43     

ข้อเสนอแนะ แนวปฏิบัติการพยาบาลในการให้การพยาบาลผู้ป่วยที่กระดูกรยางค์ได้รับบาดเจ็บ ทั้งระยะก่อนและหลังผ่าตัดหรือทำหัตถการ เพื่อเฝ้าระวังความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Compartment Syndrome ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทางออร์โธปิดิกส์ ช่วยให้รวบรวมข้อมูลได้อย่างครอบคลุม นำไปวางแผนการพยาบาล ช่วยให้พยาบาลรายงานอาการผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที และปลอดภัย จากภาวะ compartment syndrome การติดตามประเมินซ้ำอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะใน 24 ชั่วโมงแรกและการบันทึกที่ถูกต้องครบถ้วนมีความสำคัญ ในช่วงที่ภาระงานมากอาจถูกละเลยดังนั้นการมอบหมายงานและนิเทศติดตามอย่างสม่ำเสมอจึงมีความสำคัญ

 

References

1. ยุทธชัย ชัยสิทธิ์, ประเสริฐ ไพบูลย์รุ่งโรจน์. ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง: แนวคิดและการปฏิบัติการพยาบาล. ว.กองการพยาบาล 2555;39(3):65-74.
2. The Sydney children’s hospital network. Neurovascular Assessment practice guideline; 2014. p.1-10.
3. Wall CL, Lynch J, Harris IA, Richardson MD, Brand C, Lowes AJ, et al. Clinical practice guidelines for the management of acute limb compartment syndrome following trauma. ANZ Journal Surgeons 2010;80(3);151-156.
4. Royal College of Nursing. Peripheral neurovascular observations for acute limb compartment syndrome. London; 2014.
5. รายงานประจำปีกลุ่มงานออร์โธปิดิกส์โรงพยาบาลอุดรธานี.อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี; 2560.
6. เสาวภา อินผา. ภาวะความดันเพิ่มในช่องกล้ามเนื้อ:บทบาทพยาบาล. ว.ชมรมพยาบาลออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย 2557;19(1):23-40.
7. ฉวีวรรณ ธงชัย. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก. ว.กองการพยาบาล 2548;20(2):63-76.
8. The Royal Children’s Hospital Melbourne. A great children’s hospital, leading way clinical guidelines Nursing Neurovascular observations, Parkville Victoria Australia; 2015.
9. อนุชา ไทยวงษ์, กัญญาพัชร เบ้าทอง, ทัตภณ พละไชย, ฉัตรชัย แป้งหอม, จุฑามาศ นุชพูล. ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูงในผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์: บทบาทพยาบาลในการประเมินและการป้องกัน. ว.พยาบาลทหารบก 2561;19 (ฉบับพิเศษ กันยายน–ธันวาคม):17-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-29