การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของสื่อแผ่นพับกับวีดิทัศน์ต่อการสอนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเต้านม หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • อาภา ศรีสร้อย โรงพยาบาลอุดรธานี
  • อมรรัตน์ อัครเศรษฐสกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติ, สื่อการสอน, แผ่นพับ, วีดีทัศน์, การผ่าตัดเต้านม

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองเรื่องประสิทธิผลการสอนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเต้านม เปรียบเทียบการสอนโดยใช้สื่อแผ่นพับ กับสื่อวีดีทัศน์ หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิงโรงพยาบาลอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการสอนด้วยสื่อแผ่นพับ กับสื่อวีดีทัศน์ ในผู้ป่วยผ่าตัดเต้านมหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่แพทย์พิจารณาผ่าตัดเต้านม ระหว่างเดือนมกราคม 2560 ถึง ตุลาคม 2560 จำนวน 60 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีการคัดเลือกแบบสะดวก (Convenience sampling) แยกกลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 30 คน สอนในวันแรกที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (ก่อนผ่าตัด 1 วัน) โดยกลุ่ม 1 ใช้สื่อแผ่นพับในการสอน กลุ่ม 2 ใช้สื่อวีดีทัศน์ในการสอน โดยมีแบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการใช้สื่อ แบบประเมินทักษะการออกกำลังกาย และแบบสอบถามประเมินคุณภาพสื่อแผ่นพับและสื่อวีดีทัศน์ ตรวจสอบความสอดคล้องและความตรงในเนื้อหา (IOC) ได้ค่า เท่ากับ 0.73 ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค (Cronbach's Alpha coefficient) แบบสอบถามความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 แบบประเมินทักษะการออกกำลังกาย ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.71 และแบบประเมินคุณภาพสื่อได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent sample t-test

ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมหลังสอนด้วยสื่อแผ่นพับ (x̄=7.93, S.D. 1.11 ) และสื่อวีดีทัศน์ (x̄=8.63, S.D. 1.22) มากกว่าก่อนสอนด้วยสื่อแผ่นพับ (x̄=6.03, S.D. 1.58) และสื่อวีดีทัศน์ (x̄=6.03, S.D. 1.57)  ทั้ง 2 วิธี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าคะแนนความรู้ที่ได้จากการสอนด้วยสื่อวีดีทัศน์ มากกว่าสื่อแผ่นพับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (x̄=8.63, S.D. 1.07 และ x̄=7.93, S.D. 1.11) ตามลำดับ ผลการประเมินทักษะการออกกำลังกายพบว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนวีดีทัศน์ปฏิบัติได้ถูกต้องมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยสื่อแผ่นพับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการประเมินคุณภาพสื่อแผ่นพับพบว่ามีความชัดเจนของภาพประกอบ มากที่สุด (x̄=3.00, S.D. 0.00) ผลการประเมินคุณภาพสื่อวีดีทัศน์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากัน 3 ข้อคือมีความชัดเจนของภาพประกอบ มีความเหมาะสมของรูปแบบ และเนื้อหาเป็นลำดับดูแล้วปฏิบัติตามได้ (x̄=3.00, S.D. 0.00)

จากผลการวิจัยพบว่าทั้งสองวิธีผู้ป่วยมีความรู้เพิ่มขึ้น พยาบาลและบุคลากรทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องสามารถนำสื่อการสอนปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมโดยใช้สื่อวีดีทัศน์ และสื่อแผ่นพับ ดังนั้นสื่อจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปเป็นเครื่องมือในการพัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเต้านมได้คุณภาพมาตรฐานการพยาบาลต่อไป

 

References

1. Wilailak, S. Epidemiologic report of gynecologic cancer in Thailand. Journal of Gynecologic Oncology 2009;20:81-83.
2. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2560. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2560. หน้า 2-3.
3. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2559. เข้าถึงได้จาก: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/ health_strategy 2559.pdf.
4. เกวลิน บุญลอย. มะเร็งเต้านมและการป้องกัน. [เข้าถึงเมื่อ ธันวาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.inetfoundation.or.th/healthysmile/article.php?act=sh&Id=NA==.
5. รายงานประจำเดือนหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิงโรงพยาบาลอุดรธานี. อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี; 2560.
6. Polit, Denise F. Data Analysis and Statistics for Nursing Research.Philadelphia: Appleton & Lange; 1996.
7. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
8. PolitDeniseF & FAAN. Humanalysis. NY: Saratoga Springs; 1996.
9. จุฬาวิทยานุกรม(CHULAPEDIA). การสื่อสาร(Communication). [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.chulapedia.chula.ac.th/index.ph p?title=การสื่อสาร_(Communication).
10. นิคม ทาแดง, ศันศนีย์ สังสรรค์อนันต์, วาสนา ทวีกุลทรัพย์, ชัยวงศ์ พรหมวงศ์, วรางคณา โตโพธิ์ไทย, ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ. สื่อการศึกษาพัฒนสรร (Creative and Appropriate Educational Media) เล่ม 1 (หน่วยที่ 1-8). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช; 2558.
11. Curry RL. Using videorecording in pediatric nursing practice. Pediatr Nurs 1990;16:501-4.
12. อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์, ปวีณา จึงสมประสงค์, ชดชนก วิจารสรณ์, วิภารัตน์ สุขทองสา, นวลจันทร์ อุดมพงศ์ลักขณา, ชญานี จตุรชัยเดช. การเปรียบเทียบผลการสอนด้วยสื่อวีดีทัศน์กับภาพพลิกต่อความรู้และความวิตกกังวลของมารดาในการดูแลผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการสวนหัวใจ. ว.พยาบาลศาสตร์ 2557;2:41-51.
13. จันทร์จิรา สีสว่าง, ปาณิสรา ส่งวัฒนายุทธ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้ ทัศนคติและทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรี. ว.พยาบาลทหารบก 2556;14:17-24.
14. พัชราภรณ์ ใจบุญมา. การเปรียบเทียบการใช้สื่อการสอนโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ POWER POINT กับ การใช้เอกสารหรือตำราในการสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชา บัญชีสำหรับกิจการพิเศษ ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ; 2556.
15. Brown, J.W, Lewis, Richard B., Harcleroad, Fred F. AV Instruction: Technology,Media, and Methods. 6thed. NewYork: McGraw-Hill; 1985.
16. นิตยา สุภาภรณ์. ปัญหาการเรียนการสอนของวิทยาลัยราชพฤกษ์. นนทบุรี: วิทยาลัยราชพฤกษ์; 2552. หน้า 7.
17. อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. การออกแบบตราสัญลักษณ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550. หน้า 263-309.
18. ปิยะดนัย วิเคียน. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวีดีทัศน์. [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://krupiyadanai.wordpress.com/computer4/เทคโนโลยีสื่อประสม/วีดิทัศน์.
19. ณรงค์ สมพงษ์, ศศิฉาย ธนะมัย, สุรชัย ประเสริฐสรวย. การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีต่อการพัฒนาการศึกษา และอาชีพการเกษตรในท้องถิ่น. ว.ศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 2555;27:97-110.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-29