การศึกษาผลการผ่าตัดปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคสมองตาย และผลแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดในโรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พิชญา ประจันพาณิชย์ กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

การปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคสมองตาย, ผู้บริจาคสมองตายอัตราการรอดชีวิต, อัตราการรอดของไตที่ได้รับการปลูกถ่าย, อัตราการกรองของไต

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันการผ่าตัดปลูกถ่ายไตเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการรักษาผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายผู้ป่วยที่รักษาโดยผ่าตัดปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตาย พบอัตราการรอดชีวิตยืนยาวกว่าการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีอื่น ในบริบทของประเทศไทยนั้น ข้อมูลของการปลูกถ่ายไตในโรงพยาบาล และกระทรวงสาธารณสุขยังมีจำกัด การศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลังครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการผ่าตัดรักษาและผลแทรกซ้อนของกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ต้องได้รับการฟอกเลือดหลังการปลูกถ่ายไต (IGF) และกลุ่มที่ต้องได้ได้รับการฟอกเลือดใน 7 วันแรกหลังการปลูกถ่ายไต (DGF) จากการผ่าตัดปลูกถ่ายไตโดยรับไตจากผู้บริจาคสมองตายในโรงพยาบาลอุดรธานี ระหว่างวันที่ 18 ตุลาคม 2558 จนถึง 18 ตุลาคม 2561 จำนวน 14 ราย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยด้วยวิธีสืบค้นเวชระเบียนย้อนหลัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent Sample T-test

ผลจากการศึกษา ผู้ป่วย 14 คน คิดเป็นเพศชายร้อยละ 64.29 โดยช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือ 41-50 ปี (ร้อยละ 42.86) มีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูงทุกราย พบว่า ผู้ป่วยมีอัตราการรอดชีวิต 100% จากการติดตามเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ไม่พบภาวะแทรกซ้อนและไตไม่ต้องการการฟอกเลือด (Immediate graft function, IGF) ร้อยละ 71.42 และกลุ่มที่พบภาวะแทรกซ้อนและไตต้องการการฟอกเลือดภายในสัปดาห์แรกหลังการปลูกถ่าย (Delayed graft function, DGF) ร้อยละ 28.57 กลุ่ม IGF และ DGF มีค่าระยะเวลาเฉลี่ยที่ไตอยู่ในน้ำแข็ง (Cold    ischemic time, CIT) เท่ากับ 9.97 (S.D. 4.40) ชั่วโมง และ 9.80 (S.D. 6.05) ชั่วโมง ตามลำดับ ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ เมื่อติดตามการทำงานของไตที่ระยะเวลา 1 ปีหลังการปลูกถ่ายพบว่า กลุ่ม DGF มีค่าเฉลี่ยการทำงานของไตต่ำกว่ากลุ่ม IGF (Serum creatinine 1.47 (S.D. 0.59) mg/dL และ 1.56 (S.D. 0.55) mg/dL ตามลำดับ และค่าเฉลี่ยอัตราการกรองของไต (GFR) 61.49 (S.D. 20.10) mL/min และ 47.45 (S.D. 18.64) mL/min ตามลำดับ) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

จากศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตรอดชีวิตทั้งหมดและการทำงานของไตไม่แตกต่างในกลุ่มที่พบและไม่พบภาวะแทรกซ้อนหลังการปลูกถ่ายไตภายในระยะเวลา 1 ปี สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของบุคลากรและระบบการรักษาดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาลอุดรธานี

 

References

1. โสภณ จิรสิริธรรม, เจริญ ลีลานุพันธ. Surgical Technique for Kidney Transplantation. ศัลยศาสตร์วิวัฒน์ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษามหาราชา. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร; 2554; 47-328.
2. โสภณ จิรสิริธรรม. การผ่าตัดปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation). ใน: ไพฑูรย์ คชเสนี. ศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย Phitun Gojaseni’s Textbook of Urology. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ 2547; 626-652.
3. มณฑิรา อัศนธรรม, อาคม นงนุช. แนวทางการบำบัดทดแทนไตในเวชปฏิบัติทั่วไป. Nephrology review for internists 2558; 389-402.
4. วัฒนสิทธุ์ สุวรัตนานนท์. รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2561.
5. คู่มือแด่หมอใหม่. ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2538 หมวดที่ 8 การประกอบวิชาชีพเวชกรรมเกี่ยวกับการปลูกถ่ายอวัยวะ. 2539; 3:177-178.
6. US Renal Data System, UsRDS1998. Annual Data report. The National Institute of Health, National Institute of Diabetes and Digestive and kidney Disease, Bethesda, Maryland.
7. Gopalakrishnan, N., Dineshkumar, T., Dhanapriya, J., Sakthirajan, R., Balasubramaniyan, T., Srinivasa Prasad, N.D. et al. Deceased donor renal transplantation: A single center experience. Indian J Nephrol. 2017; 27(1):4–8
8. Mani MK. Review article, development of cadaver renaltransplantation in India. Nephrology 2002; 7:177-82.
9. Prabahar MR, Soundararajan P. Cadaveric renal transplantation: The Chennai experience. Transplant Proc 2008;40:1104-1107.
10. Swami YK, Singh DV, Gupta SK, Pradhan AA, Rana YP,HarkarS, et al. Deceased donor renal transplantation at armyhospital research and referral: Our experience. Indian J Urol 2013;29:105-109.
11. Chibsamanboon, U. A study of perceived selfefficacyand self-care behavior of chronic renal failure patients [Thesis]. Bangkok: Mahidol University; 2000.
12. Kayler L, Yu X, Cortes C, Lubertzky M, Friedman P. Impact of Cold Ischemia Time in Kidney Transplants From Donation After Circulatory Death Donors. Transplant Direct 2017;3(7):e177.
13. สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย. รายงานข้อมูลการปลูกถ่ายอวัยวะ ประจำปี พ.ศ.2559. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวช; 2560: 1-55.
14. สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย. รายงานข้อมูลการปลูกถ่ายอวัยวะ ประจำปี ประจำปี พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวช; 2561: 1-55.
15. สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย. รายงานข้อมูลการปลูกถ่ายอวัยวะ ประจำปี พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวช; 2562: 1-87.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-29