รูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท

ผู้แต่ง

  • กิตติยาภรณ์ โชคสวัสดิ์ภิญโญ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • วรณิช พัวไพโรจน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • สุจินตนา พันธ์กล้า คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • รุ่งนภา ประยูรศิริศักดิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การรับรู้, ความต้องการ, รูปแบบ, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การรับรู้และความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิต และ ผลของรูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชนบท ทำการศึกษา 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 สำรวจการรับรู้และความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิต ศึกษาในอำเภอสามโคก และลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่ตุลาคม 2561-มกราคม 2562 จากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในชนบท จำนวน 400 คน ระยะที่ 2 พัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ที่ตำบลบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี โดยการมีส่วนร่วม จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน และ ระยะที่3 ประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม และประเมินความพึงพอใจ  เครื่องมือที่ใช้ ระยะที่ 1 ได้แก่ แบบสำรวจการรับรู้และความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิต มีค่าความเที่ยง 0.98 และ 0.87 ตามลำดับ ระยะที่ 3 ใช้แบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าความเที่ยง 0.94  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 81.75 มีอายุระหว่าง 60-74 ปี ร้อยละ 78.25 สามารถดูแลตนเองในชีวิตประจำวันได้ ร้อยละ 99.25 การรับรู้และความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄=3.47, S.D. 0.81, x̄=4.10, S.D. 0.82, S.D. 0.77 ตามลำดับ) ระยะที่ 2 รูปแบบส่งเสริมคุณภาพชีวิตคือ พรหมโมเดล (พ: พัฒนาอาชีพ, ร: รักษาสุขอนามัย, ห: ห่วงใยและเอาใจใส่จากลูกหลาน, ม: มอบสวัสดิการจากภาครัฐ) ระยะที่ 3 ผลการประเมินการใช้รูปแบบพรหมโมเดลพบว่า พัฒนาด้านอาชีพ การรักษาสุขอนามัย การได้รับความห่วงใยและเอาใจใส่ และสวัสดิการจากภาครัฐ  กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อรูปแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับมาก (x̄=4.16, S.D. 0.74)

References

1. กองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ทิศทาง เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ ระยะ 10 ปี (พ.ศ.2555-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2554.
2. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. การสาธารณสุขไทย 2551-2553. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2553.
3. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ . สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ: คิวพีจำกัด; 2552.
4. Flanagan, J.C. Measurement of quality of life index for patient with cancer. Oncology Nursing Forum 1982;17:15-21.
5. มานพ นักการเรียน. พระพุทธศาสนากับแนวคิดเรื่องคุณภาพชีวิต [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 29 มีนาคม 2555]. เข้าถึงได้จาก: http://src.ac.th/web/index.php?option=content&task=view&id=976.
6. Srimuang Paluangrit, Frits van Griensven, Kua Wongboonsin. Improvement of the Quality of Life of the Elderly through Individual Empowerment, Family Care and Community Support: The Case of Phra Nakhon Si Ayutthaya Province, Thailand. Journal of Population and Social Studies 2006; 14(2); January-June.
7. ศรีเมือง พลังฤทธิ์. แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยบุคคล ครอบครัว และชุมชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา: การศึกษาเชิงคุณภาพ. ว.ประชากรศาสตร์; 2550:23(2):67-84.
8. นารีรัตน์ เชื้อสูงเนิน. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพ การปฏิบัติกิจกรรมการสนับสนุนจากครอบครัวกับความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
9. นารีรัตน์ จิตรมนตรี, วิไลวรรณ ทองเจริญ, สาวิตรี ทยานศิลป์. ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดีของครอบครัวและชุมชนเขตเมืองและกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-29