การบริหารแขนท่าประสิทธิ์ไทยประยุกต์ (มณีเวช) 4 ท่า ร่วมกับการปรับการยศาสตร์ ในบุคลากรโรงพยาบาลหนองคายที่มีอาการปวดคอและบ่า

ผู้แต่ง

  • วันรัฐ ตั้งกิจวานิชย์ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลหนองคาย
  • พัทธ์ปิยา สีระสาพร ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การบริหารแขน, มณีเวช, การยศาสตร์, ปวดคอและบ่า

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi experiment) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการลดปวดด้วยวิธีการบริหารแขนท่าประสิทธิ์ไทยประยุกต์ (มณีเวช)  4 ท่า ร่วมกับการปรับการยศาสตร์ในบุคลากรโรงพยาบาลหนองคาย กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะ (purposive sampling) จากทุกกลุ่มงานในโรงพยาบาลหนองคาย ที่มีอาการปวดบริเวณคอและบ่า 1 ข้างและ 2 ข้างขึ้นไป นานกว่า 1 เดือนและมีระดับความปวดตาม NRS (numeric rating scale) ตั้งแต่ 3 คะแนนขึ้นไป จำนวน 41 คน การศึกษานี้ดำเนินการในโรงพยาบาลหนองคายในเดือนกรกฎาคม – กันยายน  2562 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย (1) แบบสอบถามเกี่ยวกับอาการปวดบริเวณคอ บ่า ไหล่ (2) การบรรยายและฝึกปฏิบัติการบริหารแขนท่าประสิทธิ์ไทยประยุกต์ (มณีเวช) 4 ท่า (3) คำแนะนำการปรับการยศาสตร์ (ergonomics) ในที่ทำงาน พร้อมทั้ง (4) เอกสารคู่มือท่าการบริหารแขนประสิทธิ์ไทยประยุกต์ (มณีเวช) 4 ท่า เพื่อไปทบทวนด้วยตนเองและ (5) สมุดบันทึกการบริหารแขนและการปรับการยศาสตร์ จากนั้นมีการติดตามอาการในสัปดาห์ที่ 6 ทำการเก็บข้อมูลตามแบบสอบถามซ้ำ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมาน paired t-test เปรียบเทียบคะแนนความปวดก่อนและหลังทำการบริหารและการยศาสตร์ที่สัปดาห์ที่ 0 และ 6 หักอาสาสมัครที่ไม่สามารถทำตามกระบวนการวิจัยได้ครบถ้วน 12 คนแล้ว คงเหลืออาสาสมัคร 29 คน

ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง 29 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 72.4 อายุเฉลี่ย 40.0 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.9) ในการติดตามอาการที่สัปดาห์ที่ 6 หลังการบริหารแขนท่าประสิทธิ์ไทยประยุกต์ (มณีเวช) 4 ท่า ร่วมกับการปรับการยศาสตร์พบว่า ร้อยละ 86.2  มีระดับความเจ็บปวดลดลง โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนความเจ็บปวดสูงสุดที่สัปดาห์ที่ 0 และสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 6 เท่ากับ 4.95 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.7) และ 3.24 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.2) ตามลำดับ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)

สรุป การบริหารแขนท่าประสิทธิ์ไทยประยุกต์ (มณีเวช) 4 ท่า ร่วมกับการปรับการยศาสตร์ มีผลลดอาการปวดคอและไหล่ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

 

References

1. Cerezo-Téllez E, Torres-Lacomba M, Mayoral-del Moral O, Sánchez-Sánchez B, Dommerholt J, Gutiérrez-Ortega C. Prevalence of Myofascial Pain Syndrome in Chronic Non-Specific Neck Pain: A Population-Based Cross-Sectional Descriptive Study. Pain Medicine [Internet]. 2016 [cited 2019 Aug 12]; 17(12):2369–77. Available from: https://acade-mic.oup.com/painmedicine/article-lookup/doi/10.1093/pm/pnw114
2. Andersen JH, Kaergaard A, Mikkelsen S, Jensen UF, Frost P, Bonde JP, et al. Risk factors in the onset of neck/shoulder pain in a prospective study of workers in industrial and service companies. Occup Environ Med [Internet]. 2003;60(9):649. Available from: http://oem.bmj.com/content/ 60/9/649.abstract
3. จารุวรรณ ปันวารี, จักรกริช กล้าผจญ. อาการปวดคอที่เกิดจากบุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์การศึกษาปัจจัยทางการยศาสตร์. J Thai Rehabil [Internet].2018 [cited 2018 Oct 6]; 2552(19):30–5.Available from: http://rehabmed.or.th/main/wp-content/uploads/2015/01/L-279.pdf
4. Evans O, Patterson K. Predictors of neck and shoulder pain in non-secretarial computer users. International Journal of Industrial Ergonomics [Internet]. 2000 [cited 2019 Aug 12]; 26(3):357–65. Available from: https://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S0169814100000111
5. Korhonen T, Ketola R, Toivonen R, Luukkonen R, Häkkänen M, Viikari-Juntura E. Work related and individual predictors for incident neck pain among office employees working with video display units. Occupational and Environmental Medicine 2003; 60(7):475-482.
6. ลาวัณย์ เวชกิจวานิชย์, อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา. ภาวะปวดคอ ปวดไหล่ และปวดแขนถึง ปลายมือจากบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์. J Thai Rehabil [Internet]. 2019 [cited 2019 Jun 23 ]. 2543(3):97-110. Available from: http://rehabmed.or.th/main/wp-content/uploads/2015/01/L-129.pdf
7. รัชติญา นิธิธรรมธาดา, สุนิสา ชายเกลี้ยง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดคอไหล่หลังของทันตบุคลากรในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดขอนแก่น. Journal of Public Health [Internet]. 2019 [cited 2019 Jun 23 ]. 2559(46):42–56. Available from: https://www.tci-thaijo.org/index.php/jph/article/view/58071/48003
8. วิลาสินี โอภาสถิรกุล, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์. ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ งานการพยาบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. พยาบาลสาร [Internet]. 2019 [cited 2019 Jun 23]. 42(2):49-61. Available from: https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/39419/32613
9. Rodjakorn Luemongkol, Sunisa Chaik lieng. Musculoskeletal Disorders and Work Stress among Emergency Nurses at the Regional Hospitals in the Northeast of Thailand Srinagarind Medical Journal: SMJ) [Internet]. 2014 [cited 2019 Jun 23]. Available from: http://www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_detail=T&art_id=1906
10. Smith DR, Choe M-A, Yang Jeon M, Ran Chae Y, Ju An G, Sim Jeong J. Epidemiology of Musculoskeletal Symptoms Among Korean Hospital Nurses. International Journal of Occupational Safety and Ergonomics [Internet]. 2005 [cited 2019 Aug 15]; 11(4):431–40.Available from: http://www.tandfon line.com/doi/full/10.1080/10803548. 2005.11076663
11. Sorour AS, El-Maksoud MMA. Relationship Between Musculoskeletal Disorders, Job Demands, and Burnout Among Emergency Nurses: Advanced Emergency Nursing Journal [Internet]. 2012 [cited 2019 Aug 15]; 34(3):272–82. Available from: http://content. wkhealth.com/linkback/openurl?sid =WKPTLP:landingpage&an=01261775-201207000-00011
12. Yasobant S, Rajkumar P. Work-related musculoskeletal disorders among health care professionals: A cross-sectional assessment of risk factors in a tertiary hospital, India. Indian Journal of Occupational and Environmental Medicine [Internet]. 2014 [cited 2019 Aug 15]; 18(2):75. Available from: http://www.ijoem.com/text.asp?2014/18/2/75/146896
13. Smedley J. Risk factors for incident neck and shoulder pain in hospital nurses. Occupational and Environmental Medicine [Internet]. 2003 [cited 2019 Aug 15]; 60(11):864–9. Available from: http://oem.bmj.com/cgi/doi/10.1136/oem.60.11.864
14. Bhattacharya A. Costs of occupational musculoskeletal disorders (MSDs) in the United States. International Journal of Industrial Ergonomics [Internet]. 2014 [cited 2019 Aug 15]; 44(3):448–54. Available from: https://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S0169814114000468
15. ประวิตร เจนวรรธนะกุล, ปราณีต เพ็ญ, ธเนศ สินส่งสุข, วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี, ศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติ.ความชุก ปัจจัยส่งเสริม และความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากการทำงานในผู้ที่ทำงานในสำนักงานในสถานประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร/prevalence contributing factors and economic lossof work-related musculoskeletal symptoms amongoffice workers in company in bangkok metropolis area. ฐานข้อมูลวิจัยด้านแรงงาน กระทรวงแรงงาน [Internet]. [cited 2018 Oct 10]. Available from: https: //bit.ly//3hjUvbP
16. สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย.แนวทางเวชปฏิบัติกลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อMyofascial Pain Syndrome Fibromyalgia. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2552: 2-12.
17. Wongtra-ngan N, Wivatvongvana P, Kovinda A, The Modified Prasit Thai Upper Extremities Exercises in Patients with Neck and Shoulder pain: a Pilot study. J Thai Rehabil Med 2009; 19(3):79-85.
18. นภดล นิงสานนท์. มณีเวช...เพื่อชีวิตง่ายๆสบายๆ (SIMPLE WAY TO MAKE LIFE EASIER…BY MANEEVEDA). ว.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) 2554; (5):1–13.
19. Chen CK, Nizar AJ. Myofascial pain syndrome in chronic back pain patients. The Korean Journal of Pain 2011; 24(2):100–104.
20. ชินภัทร์ จิระวรพงศ์. รูปแบบของเอกสารความรู้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดด้วยตนเองตามความต้องการของผู้ป่วย. พุทธชินราชเวชสาร 2553; 27(3):447-454.
21. Safety and Health at work Promotion association Thailand.การยืนและนั่งทำงานอย่างถูกวิธี[internet]. [cited 2019 Jun 23]. Availablefrom: http://www.shawpat.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=223:-m---m-s&catid=50:-m---m-s&Itemid=204
22. Tsang SMH, So BCL, Lau RWL, Dai J, Szeto GPY.Comparing the effectiveness of integrating ergonomics and motor control to conventional treatment for pain and functional recovery of work-related neck-shoulder pain: A randomized trial.Eur J Pain [Internet]. 2019 [cited 2019 Dec12];Jul;23(6):1141-1152. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/30793422

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-29