การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตในงานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (กรณีศึกษา 2 รายเปรียบเทียบกัน)

ผู้แต่ง

  • ผ่องใส ฮึกเหิม โรงพยาบาลปราสาท จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ, แบบประเมิน qSOFA

บทคัดย่อ

ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic shock) เป็นภาวะเร่งด่วนที่พบได้บ่อยในห้องฉุกเฉินเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากมีการดำเนินของโรคที่รวดเร็ว รุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูง ความล่าช้าในการประเมิน การวินิจฉัยและการรักษาจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนและเพิ่มอัตราตายของผู้ป่วยได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อในกระแสโลหิตสองราย นำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในการให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อในกระแสโลหิต การดูแลและการให้การพยาบาลเพื่อให้พ้นภาวะช็อกในงานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลปราสาท ประกอบด้วยการคัดกรอง การรักษา การให้พยาบาลและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตโดยการทบทวนวรรณกรรมและบทความงานวิจัยเกี่ยวกับการติดเชื้อในกระแสเลือด รายงานการพยาบาลของงานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ข้อมูลสถิติผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะช็อกระหว่าง พ.ศ.2560-2562 ทบทวนระบบบริการก่อนและหลังการปรับปรุงแบบประเมิน   sepsis ในหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลปราสาท ตั้งแต่จุดคัดกรอง การประเมินผู้ป่วย การวินิจฉัยและรักษาพยาบาล โดยการใช้แบบประเมิน qSOFA สำหรับคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด พบว่าหลังปรับปรุงคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้แบบประเมินสามารถลดอัตราการตายได้ในช่วง 2 ปีแรก และมีแนวโน้มสูงขึ้นในปี 2562 แต่พบว่าผู้ป่วยที่มาโดยระบบการแพทย์ฉุกเฉินได้รับการประเมินเข้ารับการรักษาต่อในโรงพยาบาลทันที ได้รับยาปฏิชีวนะภายใน  1 ชั่วโมง และไม่พบภาวะน้ำเกินจากการได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำจากการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้รวดเร็วขึ้น ได้รับการรักษาพยาบาลตาม CPG และการใช้แบบประเมินที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน นอกจากนั้นยังสามารถใช้เชื่อมไปยังทุกหน่วยงานเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นมาตรฐานเดียวกันต่อเนื่องครบถ้วนมากขึ้น ผู้ป่วยได้รับบริการที่รวดเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อน ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ลดอัตราการตายและได้ขยายผลการใช้ไปยังโรงพยาบาลชุมชนและรพ.สต.เครือข่าย

References

1. จริยา พันธุ์วิทยากุล, จิราพร มณีพราย. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต. ว.กองการพยาบาล 2561;45(1):86-104.
2. ทิฏฐิ ศรีวิสัย, วิมล อ่อนเส็ง. ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ: ความท้าทายของพยาบาลฉุกเฉิน. ว.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2560;9(2):152-163.
3. นงลักษณ์ โค้วตระกูล. ผลการพัฒนาคุณภาพระบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีติดเชื้อในกระแสเลือดของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว. ว.พยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2557;25(2):120-134.
4. พรรณวิไล ตั้งกุลพาณิชย์. หลักการซักประวัติและตรวจร่างกายในภาวะฉุกเฉิน. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี; 2559.
5. เพ็ญศรี อุ่นสวัสดิพงษ์. ผลของกิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรกต่อความรุนแรงของอวัยวะล้มเหลวในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการ Sepsis. ว.พยาบาลศาสตร์ 2554;29(2):102-110.
6. มณีรัตน์ จิรัปปภา. การลดความเสี่ยงการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้สูงอายุบทบาทพยาบาล. ว.การพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา 2560;18(3):15-26.
7. วีรพงศ์ วัฒนาวณิช. การบริหารยาในผู้ป่วยวิกฤตแลฉุกเฉิน (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2560.
8. Mitchell M. Levy. The Surviving Sepsis Campaign Bundle: 2018 update [Internet]. 2018 [cited 2019 Jul 1]. Available from: https://link.springer.com/content/pdf/10.1007/s00134-018-5085-0.pdf
9. Rivers E, Nguyen B, Havstad S, Ressler J, Muzzin A, Knoblich B, et al. Early Goal-Directed Therapy in the treatment of severe sepsis and septic shock. New England Journal Medicine 2010;345:1377-86.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-29