การพัฒนารูปแบบการมอบหมายงานในหอผู้ป่วยในชายโรงพยาบาลโพนพิสัย

ผู้แต่ง

  • สุภาพร เวียงสีมา โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
  • นเรนทร์ฤทธิ์ ผาจันทร์ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

รูปแบบการมอบหมายงาน, หอผู้ป่วยในชาย, โรงพยาบาลโพนพิสัย

บทคัดย่อ

           การมอบหมายงานเป็นกระบวนการหนึ่งของการจัดบริการพยาบาลเป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้ออำนวยให้พยาบาลสามารถวางแผนและปฏิบัติตามแผนการพยาบาลได้ประสบความสำเร็จการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการมอบหมายงานของหอผู้ป่วยในชาย ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2562- เดือนเมษายน 2563 กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ 1) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยในชาย  จำนวน 13 คน 2) ผู้รับบริการที่นอนรักษาในหอผู้ป่วยในชาย โรงพยาบาลโพนพิสัย จำนวน 40 คน ในเดือนมกราคม 2563 การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือการศึกษาสถานการณ์ การพัฒนารูปแบบการมอบหมายงาน การประเมินผลรูปแบบการมอบหมายงาน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพที่ใช้รูปแบบการมอบหมายงาน แบบสอบถามความพึงพอใจผู้รับบริการ แบบบันทึกข้อมูลการรับ-ส่งเวร แบบสรุปเวชระเบียนแผนกผู้ป่วยในชายและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับรูปแบบการมอบหมายงาน แบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.86 และ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพที่ใช้รูปแบบการมอบหมายงานที่พัฒนาขึ้น มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (เฉลี่ย 3.99, S.D.=0.66) ทั้งด้านลักษณะงาน ด้านการบังคับบัญชา ด้านสภาพการทำงาน ด้านการติดต่อสื่อสารและด้านผู้ร่วมงาน ส่วนความพึงพอใจของผู้รับบริการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (เฉลี่ย=4.16, S.D. 0.58) หลังการใช้รูปแบบการมอบหมายงานแบบทีมพบอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนด้านบริหารยาลดลงจาก 110 ครั้ง เหลือ 69 ครั้ง ความสมบูรณ์ของบันทึกทางการพยาบาลเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 79.12 เป็นร้อยละ 84.95 ระยะเวลาในการรับและส่งเวรต่อครั้งลดลงจากเดิม 65 นาที เป็น 31 นาที ซึ่งพบว่าการทำงานเป็นทีมที่ได้รับมอบหมายมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยพยาบาลและสามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานในแผนกอื่นได้

 

References

1. ปรางทิพย์ อุจะรัตนะ. การบริหารทางการพยาบาล: การจัดระบบการดูแลผู้ป่วย. กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์; 2541.
2. คณะกรรมการสารสนเทศ. ข้อมูลสารสนเทศ หอผู้ป่วยในชาย (2558-2561). หนองคาย: โรงพยาบาลโพนพิสัย; 2561.
3. กลุ่มงานการพยาบาลโรงพยาบาลโพนพิสัย. สรุปผลการดำเนินงานแผนกผู้ป่วยในชาย 2562. หนองคาย: โรงพยาบาลโพนพิสัย. อัดสำเนา.
4. อรพิน บุษบัน. การพัฒนาระบบพยาบาลเจ้าของไข้แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิในจังหวัดราชบุรี[วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2557.
5. ชูใจ คูหารัตนไชย. สถิติเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร; 2542.
6. Eleanor J. Sullivan, Phillip J. Decker. Effective leadership and management in nursing. 6th ed. U.S.A.: Pearson Education; 2005.
7. สิริพร สังคะสุข. ผลการใช้รูปแบบการมอบหมายงานเป็นทีมการพยาบาลต่อความรับผิดชอบในวิชาชีพการพยาบาลและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์. [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2548.
8. วีณา จิระแพทย์. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วย. ใน: วีณา จิระแพทย์, เกรียงศักดิ์ จิระแพทย์, บรรณาธิการ. การบริหารความปลอดภัยของผู้ป่วย: แนวคิดกระบวนการและแนวปฏิบัติความปลอดภัยทางคลินิก. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์; 2550.
9. ทิพยวรรณ โฉมใส. สมรรถนะการบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาลประจำการแผนกหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2550.
10. จิรวรรณ อินคุ้ม, ณัฐธินี สาลีวรรณ, นันท์นภัส ฟักแก้ว, มัสลิน จันทน์ผา, อมรรัตน์ พรหมมินทร์, อัจฉรา กลัดแก้ว, และคนอื่น ๆ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal 2009; 4: 517-32.
11. ฐิรพร อัศววิศรุต, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, รุ้งรังษี วิบูลย์ชัย. การพัฒนารูปแบบการมอบหมายงานในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลยโสธร.ว.กองการพยาบาล 2557; 41(2): 54-71.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30