ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายประยุกต์ท่าฤๅษีดัดตนขณะฟอกเลือดต่ออาการเหนื่อยล้าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

ผู้แต่ง

  • ฐาปนันท์ มหิศนันท์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

ฤๅษีดัดตน, การออกกำลังกาย, อาการเหนื่อยล้า, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, โรคไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (The pretest-posttest design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายประยุกต์ท่าฤๅษีดัดตนขณะฟอกเลือดต่ออาการเหนื่อยล้าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แผนกไตเทียม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จำนวน 30 ราย  ทำการศึกษาในช่วง สิงหาคม-ตุลาคม 2563 โดยผู้ป่วยจะได้รับการฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายประยุกต์ท่าฤๅษีดัดตนขณะฟอกเลือด 3 ครั้งต่อสัปดาห์ 15 นาทีต่อครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ความหนักในการออกกำลังกายระดับเบา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินความเหนื่อยล้าใช้แบบประเมินความเหนื่อยล้า (Revised Piper Fatigue Scale) ซึ่งมีค่า Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการทดสอบที (Independent T-test)

ผลการวิจัย: อาสาสมัครมีอายุเฉลี่ย 57.2 ปี (S.D. 10.53)1) เป็นเพศชายร้อยละ 63.33 พบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยความเหนื่อยล้าของอาสาสมัครที่ได้รับการฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายประยุกต์ท่าฤๅษีดัดตนขณะฟอกเลือดลดลงจาก 96.07 เหลือ 80.63 และ 68.83 ในสัปดาห์ที่ 5 และ 9 ตามลำดับ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) 2) การเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิต Systolic และ Diastolic ในผู้ป่วยที่ได้รับการฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายประยุกต์ท่าฤๅษีดัดตนขณะฟอกเลือดไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: โปรแกรมการออกกำลังกายประยุกต์ท่าฤๅษีดัดตนขณะฟอกเลือดส่งผลลดความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ฟอกเลือดโดยใช้ไตเทียม

 

References

1. The Nephrology Society of Thailand, Thailand Renal Replacement Therapy 2019.[online]. Access date 22 July 2020. Available from http://www.nephrothai.org/ฐานข้อมูลงาน วิจัยของประเทศไทย-1/trt-annual-report-1/333-annual-report-thailand-renal-replacement-therapy-2007-2019-th.
2. Artom M, Moss-Morris R, Caskey F, Chilcot J. Fatigue in advanced kidney disease. Kidney Int 2014;86(3):497-505.
3. McCann K, Boore JRP. Fatigue in persons with renal failure who require maintenance haemodialysis. J Adv Nurs 2000; 32(5): 1132-1142.
4. Wang, S. Y, Zang, X. Y, Fu, S. H, Bai, J. B, Liu, J. D, Tian, L., et al. Factorsrelated to fatigue in Chinese patients with end-stage renal disease receiving maintenance hemodialysis: a multi-center cross-sectional study. Renal Failure 2016; 38(3): 442-450.
5. Soliman HMM. Effect of intradialytic exerciseon fatigue, electrolytes level and bloodpressure in hemodialysis patients: A randomized controlled trial. Journal of Nursing Education and Practice 2015; 5(11): 16-28.
6. Gomes EP, Reboredo MM, Carvalho EV, Teixeira DR, Carvalho LFCdO, Filho GFF, et al. Physical Activity in Hemodialysis Patients Measured by Triaxial Accelerometer. Biomed Research International 2515 (2): 1-7
7. Patcharin Injan, Sunida Preechawong. The Effect of Integrated Exercise Oriented Program on Fatigue in Persons with Chronic Kidney Disease Receiving Hemodialysis. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University 2019;31(1): 49-60
8. สถาบันการแพทย์แผนไทยกระทรวงสาธารณสุข. กายบริหารแบบไทยฤาษีดัดตน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2537.
9. นารา กุลวรรณวิจิตร. อัตราความชุกของการเกิดความอ่อนล้าขณะขับรถ. และปัจจัยที่ เกี่ยวข้องในพนักงานขับรถโดยสารประจําทางในเส้นทางภาคเหนือภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ(จตุจักร). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,สาขาวิชาอาชีวเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
10. Chonticha Yamma. Sleep Problems, Fatigueand Work Efficiency Among Registered Nurseat King Chulalongkorn Memorial Hospital [Dissertation]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2013;58(2): 183-196.
11. Maniam, R, Subramanian, P, Singh, S. K. S., Lim, S. K., Chinna, K., Rosli, R. Preliminary study of an exercise programme for reducing fatigue and improvingsleep among long-term haemodialysis patients. Singapore Medical Journal 2014;55(9): 476-482.
12. Mohseni, R, Zeydi, A. E, Ilali, E, Adib-Hajbaghery, M., Makhlough, A. The effect of intradialytic aerobic exercise on dialysis efficacy in hemodialysis patients: a randomized controlled trial. Oman Medical Journal 2013;28(5): 345-349.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30