ผลของโปรแกรมเสริมพลังอำนาจผู้ดูแลต่อความรู้ความสามารถในการดูแลเด็กโรคปอดเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • ศิริมา สาระนันท์ โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

โรคปอดเรื้อรังในเด็ก, การเสริมสร้างพลังอำนาจ, ผู้ดูแล, ความสามารถ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นแบบการทดลองเบื้องต้น (Pre-experimental research) แบบ One group pretest-posttest design มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมพลังอำนาจผู้ดูแลต่อความรู้ความสามารถในการดูแลเด็กโรคปอดเรื้อรังก่อนทดลองและหลังทดลอง โดยใช้โปรแกรมเสริมพลังอำนาจผู้ดูแลตามแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจของกิ๊บสัน (Gibson) ซึ่งประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมในโปรแกรมเสริมพลังอำนาจ แผนการสอนความรู้โรคปอดเรื้อรังรายบุคคล แผนการสอนสาธิตการฝึกปฏิบัติการดูแลเด็กโรคปอดเรื้อรัง และคู่มือการดูแลเด็กโรคปอดเรื้อรัง ส่วนเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้ และแบบสังเกตความสามารถของผู้ดูแลเด็กโรคปอดเรื้อรัง

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดเรื้อรัง ที่เข้ารับการรักษาในแผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี ระหว่างเดือน สิงหาคม ถึงพฤศจิกายน 2563 เลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ตามเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 14 ราย ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ หาค่าความตรงของเนื้อหา (Content validity) ได้ค่า IOC=1 และนําไปทดลองใช้กับผู้ดูแลเด็กโรคปอดเรื้อรัง ความเชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้สูตรของคูเดอร์ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson (KR-20) ค่าความเชื่อมั่น = 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้ และความสามารถของผู้ดูแลเด็กโรคปอดเรื้อรังก่อนและหลังทดลอง ใช้สถิติ Paired t-test

ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 14 คน เป็นเพศหญิง ร้อยละ 100 มีอายุระหว่าง 18-64 ปี (Mean 33.85, S.D. 16.53) มีความสัมพันธ์กับเด็ก คือเป็นมารดามากที่สุด ร้อยละ 78.57 ค่าเฉลี่ยความรู้และความสามารถของผู้ดูแลเด็กก่อนได้รับโปรแกรม 12.28 (S.D. 1.81) และ 9.43 (S.D. 0.43) ซึ่งเพิ่มขึ้นหลังการได้โปรแกรมเสริมพลังอำนาจเป็น 15.07 (S.D. 1.26) และ 35.94 (S.D. 0.14) ตามลำดับ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001 และ       p< 0.001 ตามลำดับ) จึงควรนํารูปแบบโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมาพัฒนาแนวทางในการดูแลของผู้ดูแลเด็กโรคเรื้อรังอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการดูแลผู้ป่วยเด็กโดยเน้นการค้นพบสถานการณ์ตามจริง เพื่อให้เกิดวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมในแต่ละบริบทของบุคคล และมีความยั่งยืนที่จะปฏิบัติในการดูแลให้มีประสิทธิภาพต่อไป

 

References

1. กลุ่มงานกุมารเวชกรรม. โรงพยาบาลอุดรธานี. รายงานประจำปี 2562 โรงพยาบาลอุดรธานี. 2562
2. สุภาพร แนวบุตร. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยในครอบครัว.วารสารการพยาบาลและการศึกษา.[อินเตอร์เน็ต] [ เข้าถึงเมื่อ 7 ม.ค . 63] เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/arti cle/view/48003/39839
3. เรณู ชมพิกุลและวีณา จีระแพทย์.ประสบการณ์ความยากลําบากของผู้ดูแลในการดูแลทารกแรกเกิดโรคปอดเรื้อรังที่บ้าน.วารสารพยาบาลทหารบก.[อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค . 63 ]เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/184951/130141
4. Gibson, C. H. A concept analysis of empowerment.Journal of Advanced Nursing,[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค . 63] เข้าถึงได้จากhttps://he01.tcithaijo.org/index.php/hhsk/issue/view/15281
5. จรณิต แก้วกังวาน,พรรณี ปิติสุทธิธรรมและชยันต์ พิเชียรสุนทร.ขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยทางคลินิก ใน: พรรณี ปิติสุทธิธรรม บรรณาธิการ. ตำราการวิจัยทางคลินิก.พิมพ์ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557:8 (4): 107-144.
6. กรกฎ เจริญสุข,สิริมา ชุ่มศรี และพรทิพา ศุภราศรี. ผลของโปรแกรมเสริมพลังอำนาจผู้ดูแลต่อความสามารถในการดูแลเด็กที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลัน.; วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. [อินเตอร์เน็ต] [ เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค .63] เข้าถึงได้จากhttps://he01.tci-thaijo.org/index.php/hhsk/article/view/202790/150336
7. กนกจันทร์ เขม้นการ, สุวิชัย พรรษา,จิดาภา ผูกพันธ์, จิระวรรณ บุตรพูลและรรฤณ แสงแก้ว. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลของพยาบาลต่อความรู้และการรับรู้ถึงความพึงพอใจ ของผู้ปกครองต่อการดูแลผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล.พยาบาลสาร. [อินเตอร์เนต] 44พิเศษ(2) 2560[ เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค . 63] เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/download/169193/121718/.
8. พรรณทิพา บัวคล้าย, ประทุมา ฤทธิ์โพธิ์ และทยุตา อินทร์แก้ว. ผลของโปรแกรมเสริมพลังอำนาจต่อความรู้การรับรู้พลังอำนาจ ในตนเองและพฤติกรรมสุขภาพขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดของผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์ของ มารดาหลังคลอดที่มีเด็กติดผู้ต้องขังในทัณฑสถานหญิง. การพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา.[อินเตอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค . 63] เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/140380
9. วิจิตรา เชาว์พานนท์, สุวรรณา วิภาคสงเคราะห์ และสาลินี ไทยธวัช. ผลของการสร้างพลังอำนาจในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลัง ต่อความรู้ การรับรู้ และการปฏิบัติตัวเพื่อฟื้นสภาพหลังผ่าตัด.วารสารกองการพยาบาล. [อินเตอร์เน็ต] [ เข้าถึงเมื่อ 7 ม.ค. 63] เข้าถึงได้จาก https://kmnurse.files.wordpress.com/2011/ 12/journal36v2.pdf

10. วรุณวรรณ ผาโคตร และสุภาพ ไทยแท้. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณของแม่วัยรุ่นหลังคลอดต่อการรับรู้สมรรถนะในตนเองของการเลี้ยงลุกด้วยนมแม่ที่บ้านอย่างต่อเนื่อง.วารสารพยาบาลสาธารณสุข.[อินเตอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 7 ม.ค.63] เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/arti cle/view/47907
11. รุ่งนพนันท์ เขียวสุประเสริฐ และนุจรี ไชยมงคล. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอํานาจมารดาต่อความสามารถของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมากในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. [อินเตอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 7 ม.ค. 63] เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/51948
12. นาถอนงค์ บำรุงชน, พนิดา รัตนไพโรจน์และจารุวรรณ ประดา. การพัฒนาโปรแกรมเสริมพลังอำนาจผู้ดูแลผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา.วารสารจิตเวชและสุขภาพจิต. [อินเตอร์เน็ต] [ เข้าถึงเมื่อ 7 ม.ค . 63] เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/24639/20967
13. สังวาลย์ พิพิธพร. ผลของโปรแกรมการเสริมพลังอานาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลอุดรธานี 2 อำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2563,28(1), 30-42.
14. Gibson, C. H. The process of empowerment in mothers of chronically ill children. Journal of Advanced Nursing .[Internet]. Available from: https://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/downlo ad?doi=10.1.1.488.4008&rep=rep1&type=pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30