ผลของโปรแกรมบริหารกล้ามเนื้อและข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า

ผู้แต่ง

  • นิลุบล ไชยโกมล โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

โรคเข่าเสื่อม, โปรแกรมการบริหารกล้ามเนื้อและข้อเข่า, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบการทดลองเบื้องต้น (Pre-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของโปรแกรมการบริหารกล้ามเนื้อและข้อเข่า ในผู้ป่วยนอกโรคข้อเข่าเสื่อม หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า และเปรียบเทียบผลของโปรแกรมดังกล่าวกับการพยาบาลตามปกติ  กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าครั้งแรก ที่มาตรวจติดตามการรักษาที่ห้องตรวจออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง ตุลาคม พ.ศ.2563 เพศหญิงและเพศชาย อายุ 50 ปีขึ้นไป จำนวน 40 คน สุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบริหารกล้ามเนื้อหลังผ่าตัดเปลี่ยนเข่า โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม และแนวคิดในการออกกำลังกาย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม Modified Womac Score ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน ได้แก่ ANOVA และ T-test

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ยของกลุ่มทดลอง 66.35 ปี อายุเฉลี่ยของกลุ่มควบคุม   62.60 ปี ดัชนีมวลกายมีค่าเฉลี่ยมากกว่าเกณฑ์ปกติทั้ง 2 กลุ่ม ผลของการใช้โปรแกรมบริการกล้ามเนื้อและข้อเข่า ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า มีระดับอาการปวดลดลง ข้อฝืดหรือข้อติดลดลง และเพิ่มความสามารถในการใช้ข้อเข่า มากขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทางสถิติ (p<0.05) ส่วนพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเข่า พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน

 

References

1. พรสินี เต็งพาริชกุล. การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในการพยาบาลผู้ป่วยทางออร์โธปิดิกส์. ใน: อรพรรณ โตสิงห์, พรสินี เต็งพานิชกุล, ธิลาวัลย์ เชื้อตาเล็ง, ณัฐมา ทองธีรธรรม, บรรณาธิการ. การพยาบาลผู้ป่วยทางออร์โธปิดิกส์. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559: 159-170.
2. ชนิดา อินทร์แก้ว. การศึกษาประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมในการลดปัญหาข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุ โรคข้อเข่าเสื่อม รพ.สต.ช้างซ้าย อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี. ว.วิชาการแพทย์เขต 11 2562;
33(2):294-301.
3. พรฑิตา ชัยอำนวย, สุมาภา ชัยอำนวย. ปรับชีวิตพิชิตข้อเสื่อม. กรุเทพฯ: อมรินทร์สุขภาพ; 2560.
4. วิชัย อึงพินิจพงศ์, กานดาชัยภิญโญ, สมรรถชัย จำนงค์กิจ. คู่มือการฟื้นฟูผู้สูงอายุหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า. กรุงเทพฯ: สมานมิตรการพิมพ์; 2558. 1-5.
5. ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล, สุวรรณี สร้อยสงค์, บุศริน เอี่ยวสีหยก. การพยาบาลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า. ว.วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2561;29(1):223-238.
6. งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลอุดรธานี. แผนกออร์โธปิดิกส์ ระบบสารสนเทศ: 10 อันดับโรคทางออร์โธปิดิกส์. อุดรธานี: โรงพยาบาล; 2561.
7. งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลอุดรธานี. แผนกออร์โธปิดิกส์ ระบบสารสนเทศ: 10 อันดับโรคทางออร์โธปิดิกส์. อุดรธานี: โรงพยาบาล; 2562.
8. สักกาเดช ลิ้มมหาคุณ. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Knee Arthroplasty) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://web.med. cmu.ac.th/index.php/th/knowledge-to-the-people/54-sick-clinic/knowledge-to-the-people/589-knee-arthroplasty
9. ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล, สุวรรณี สร้อยสงค์, บุศริน เอี่ยวสีหยก. การพยาบาลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า. ว.วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2561;29(1):223-238.
10. American Collage of Sport Medicine [ASCM]. ACSM's guidelines for exercise testing and prescription. 8th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2010.
11. อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์. แนะหลักการ FITT ช่วยสุขภาพดี. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th.
12. พารุณี วงษ์ศรี, ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีของโอเร็มกับการดูแลและการให้
คำแนะนำผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. ว.พยาบาลตำรวจ 2561;10(1):209-219.
13. มนทกานต์ ยอดราช, ทัศนา ชูวรรธนปกรณ์. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมร่วมกับการออกกำลังกายด้วย ยางยืดต่อความรู้และความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายของผู้สูงอายุ หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. ว.พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2557;23(3):63-75.
14. Kuptniratsaikul V, Rattanachaiyanont M. Validation of a modified Thai version of the Western Ontario and McMaster (WOMAC) osteoarthritis index for knee osteoarthritis. Clinical Rheumatolog 2007;26:1641-5.
15. วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล. ออกกำลังกายต้านข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 16 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.lokwannee.com
16. รัตถพล เจริญพันธุ์. เมนูดูแลเข่า แอปฯ ช่วยฟื้นฟูหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://m.mgronline.com
17. จิตติศักดิ์ ทิมแจ้ง. การป้องกันและท่าออกกำลังกายเพื่อข้อเข่าที่แข็งแรง [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://bangpo-hospital.com
18. ภาสกร วัธนธาดา. หลักการพื้นฐานของการออกกำลังกาย [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.haijai.com
19. ธนพงศ์ แสงส่องสิน, ชนนท์ กองกมล. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบเพิ่มแรงต้านและการจัดการด้านกายศาสตร์แบบมีส่วนร่วมต่อการดูแลตนเอง ความรุนแรงของโรค และสมรรถภาพข้อเข่าในชาวสวนยางพาราสูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม. เวชสารแพทยทหารบก 2560:70(3);139-147.
20. อังคณารัชต์ แก้วแสงใส, กนกพรม สุคำวัง, ภารดี นานาศิลป์. ผลของการออกกำลังกายแบบไอเยนกะโยคะต่อความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ. พยาบาลสาร 2563:47(1);175-184.
21. ชยารัตน์ ฤกษ์หร่าย. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองมุ่งเน้นการออกกำลังกายต่อความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.
22. ดวงกมล สีมันตะ, กู้เกียรติ ทุดปอ, ประเสริฐ ประสมรักษ์. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดร่วมกับการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพต่อการชะลอโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุ ตำบลกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. ว.การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561;36(2):44-48.
23. ปิยะพล พูลสุข, มณฑา เก่งการพานิช, ธราดล เก่งการพานิช, ศรัณญา เบญจกุล. ผลของโปรแกรมการบริหารข้อเข่าด้วยท่าฤๅษีดัดตนร่วมกับการประคบร้อนเพื่อบรรเทาความปวดในผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม. ว.พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2559;46(2);191-202.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30