ผลของโปรแกรมพัฒนาการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบหัวใจเต้นช้าโดยการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร โรงพยาบาลอุดรธานี
คำสำคัญ:
สมรรถนะแห่งตน, โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ, การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวรบทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและปริมาณครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ แบบหัวใจเต้นช้าโดยการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร เลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์เฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้ป่วยที่เข้ารับผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร โรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 80 ราย ระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน 2563 แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 40 ราย ได้รับการพยาบาลตามปกติตามมาตรฐานเดิม และกลุ่มทดลองจำนวน 40 รายได้รับการพยาบาลปกติร่วมกับโปรแกรมเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนที่ผู้วิจัยคิดค้นขึ้น รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในป่วย ทำการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent Sample T-test
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วย 80 ราย ส่วนใหญ่ร้อยละ 83.75 เป็นเพศชาย ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 31.25 และระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 75.00 ในการศึกษาผลของโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนพบว่าผู้ป่วยในกลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน มีระดับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสูงกว่ากลุ่มควบคุม คะแนนเฉลี่ย 4.57 (S.D. 2.12) และ 3.25 (S.D. 1.27) ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การวิจัยนี้เสนอแนะว่า โปรแกรมการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนนี้ สามารถนำมาใช้เพื่อส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในกลุ่มโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบช้า และสามารถนำไปพัฒนาแนวทางในการให้การพยาบาลผู้ป่วยได้
References
2. งานห้องตรวจหัวใจ โรงพยาบาลอุดรธานี. สถิติห้องตรวจหัวใจโรงพยาบาลอุดรธานี. อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี; 2562.
3. Palmer SL. Post–implantation pacemaker complication: the nurse’s role in management. Brit J Cardiac Nurs 2014; 9(12): 592-8.
4. Kanjanarutjawiwat W, Pitaksuteepong T, Dermsomboon R. Permanent pacemaker; Prapokklao hospital experience complication and management. J Prapoklao Hospital Medical Education Center 2015 ; 32(1): 58-6.
5. Schiariti M, Cacciola M, Puddu PE. Complication of pacemaker implantation. Research Gate 2011; 38(2): 271-98.
6. Bandura, A. Self-Efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company; 1997.
7. Bandura, A. Self-efficacy. In: Anderson N. B., editors. Encyclopedia of health & Behavior. Thousand Oaks: Sage Publications; 2004. p. 708-714.
8. Bandura, A. Guide for constructing self- efficacy scales. In: Pajares F., Urdan T., editors. Self-efficacy beliefs of adolescents. Greenwich, CT: Information Age Publishing; 2006.
9. ทัศนี ประสบกิตติคุณ. การรับรู้สมรรถนะของตนเองกับพฤติกรรมสุขภาพ. สภาการพยาบาล 2544; 16(3): 1-12.
10. ศิริพร ชุดเจือจีน, ประไพพิศ สิงหเสม, สุดารัตน์ วุฒิศักดิ์ไพศาล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการสร้างเสริมทักษะชีวิตต่อพฤติกรรมสุขภาพทางเพศของนักเรียน. เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 4(2): 268-280.
11. สุปราณี หมื่นยา. การออกกำลังกายของผู้สูงอายุ: ประยุกต์ใช้ทฤษฎีสมรรถนะแห่งตน.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2560; 9(1): 59-69.
12. ณัชศฬา หลงผาสุก. กิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุ: ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่ง ตน. วชิรสารการพยาบาล 2562; 21(2): 67-76.
13. นพรัตน์ ธาระณะ, รัตนาภรณ์ ธนศิริจิรานนท์. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้สมรรถนะในตนเอง ความรู้ และความพึงพอใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังคลอดบุตรคนแรก. พยาบาลสาร 2562; 46(4): 70-82.
14. ชาญ ศรีรัตนสถาวร. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ. Cardiac arrhythmia: basic knowledge to clinical practice. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิสซิ่ง; 2546.
15. Shu-Fen Su. Age, arrhythmia perception, and knowledge as predictors of self-care ability in patients with permanent pacemakers. [Internet]. Sigma’s 29th International Nursing research congress. [cited 2020 Nov 1]. Available from:https://sigma.nursingrepository.org/bit stream/handle/10755/16281/Su_PST299_92 164_Info.pdf?sequence=2&isAllowed=y
16. Malen, D, Karlsson JE and Fridlund, B. Effect of self-care program on the health-related quality of life of pacemaker patient: A nurse intervention study. Cannadian J of Cardiovascular Nursing 2007; 17(1): 15-26.
17. ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วี อินเตอร์ พริ้นท์; 2549.
18. American Heart Association. Living with Your Permanent Pacemaker [Internet]. 2016 [cited 2020 Jul 5]. Available from: https://www.heart.org/en/health-topics/arrhythmia/prevention--treatment-of-arrhythmia/living-with-your-pacemaker
19. Hala H. Saied, Manal S. S. Soliman, Hoda A. H. Ahmed, Enaam A. F. Hamza. Effect of education program on outcomes of patients undergoing permanent pacemakers’ implantation. Evidence-Base Nursing Research 2020; 2(1): 102-114.
20. Bandura, A. Self-efficacy and health behavior. In: Baum A., Newman S., Wienman J., West R., & McManus C., editors. Cambridge handbook of psychology, health and medicine. Cambridge: Cambridge University Press; 1997.
21. Laddawan P., Noraluk U. Care of patients with permanent cardiac pacemaker: Nurse’s rolss. Rama Nurs J 2019; 25(3): 255-269.
22. ทีมพัฒนามาตรฐานการพยาบาลและประกันคุณภาพการพยาบาล โรงพยาบาลอุดรธานี. ผลการประเมินความพึงพอใจงานบริการผู้ป่วยโรงพยาบาล 2563. อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี; 2563.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร