ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมป้องกันการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในสตรีที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ผู้แต่ง

  • กรรณิกา เพ็ชรักษ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • ศีตรา มยูขโชติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • นภศพร เทวะเศกสรรค์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • เยาวพา วรรณแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • ฝนทอง จิตจำนง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์, แรงจูงใจป้องกันภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์, พฤติกรรมป้องกันภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาไปข้างหน้า (Prospective descriptive study) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมป้องกันการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ที่เข้ารับบริการที่แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสุรินทร์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแรงจูงใจและพฤติกรรมป้องกันการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีค่าความเที่ยง 0.93 กลุ่มตัวอย่าง 111 คน คัดเลือกแบบเจาะจง ทำการศึกษาในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2563 สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Fisher’s Exact test กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจต่อพฤติกรรมป้องกันการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยมีแรงจูงใจในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง (x̄=3.00) 2) พฤติกรรมป้องกันการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์โดยรวมอยู่ในระดับน้อย (x̄=2.12)    3) ปัจจัยส่วนบุคคล และแรงจูงใจต่อพฤติกรรมป้องกันการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ไม่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมป้องกันการเกิดภาวะเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

การลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรเพิ่มช่องทางการสื่อสารให้ข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงทุกราย เช่น Line application หรือ Social media เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เห็นภาพที่ชัดเจน และกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง

 

References

1. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. สถิติโรคเบาหวานในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://i-regist.igenco.co.th/web/dmthai_old/news_and_knowledge/2215.
2. โรงพยาบาลสุรินทร์. เวชระเบียนแผนกห้องคลอด. รายงานสถิติประจำปี 2559. สุรินทร์: โรงพยาบาล; 2559.
3. โรงพยาบาลสุรินทร์. เวชระเบียนแผนกห้องคลอด. รายงานสถิติประจำปี 2560. สุรินทร์: โรงพยาบาล; 2560.
4. โรงพยาบาลสุรินทร์. เวชระเบียนแผนกห้องคลอด. รายงานสถิติประจำปี 2561. สุรินทร์: โรงพยาบาล; 2561.
5. ธรรมพจน์ จีรากรภาสวัฒน์. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id= 1197:gestational-diabetes-mellitus&catid= 45&Itemid=561.
6. กาญจนา ศรีสวัสดิ์, อรพินท์ สีขาว. การดูแลหญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์. ว.พยาบาลทหารบก 2557;2:50-59.
7. ศิริพร พรแสน, พร้อมจิตร ห่อนบุญเหิม, ชลธิลา ราชบุรี. ปัจจัยที่สัมพันธ์และผลลัพธ์การตั้งครรภ์ในสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานที่มาคลอด โรงพยาบาลมหาสารคาม. ว.โรงพยาบาลมหาสารคาม 2561;15:126-34.
8. Rogers RW. A protection motivation theory of fear appeals and attitude change. The Journal of psychology 1975;91:99.
9. ดุษฎี จันทรบุศย์, นงนุช โอบะ, วิรัช ศิริกุลเสถียร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีและไม่มีภาวะแทรกซ้อน. ว.การพยาบาลและสุขภาพ 2560;11:1-15.
10. สุวรรณี โลนุช, มยุรี นิรัตธราดร, ศิริพร ขัมภลิขิต. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี. การพยาบาลและการศึกษา 2011;4:79-93.
11. บุญนาค พวงทอง, ประทุมา ฤทธิ์โพธิ์, สุภาพร แนวบุตร. ปัจจัยส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการปรับตัวของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในจังหวัดสุโขทัย. ว.การพยาบาลและสุขภาพ 2560;11:16-27.
12. Cathering, K, Laura, NM, John, DP, Jennifer, G, Assiamira, F, Elizabeth, AW. Risk
perception for diabetes among women with histories of gestational diabetes mellitus. Diabetes Care 2007;30:2281-6.
13. อรวรรณ จุลวงษ์. แรงจูงใจในการป้องกันโรคกับพฤติกรรมสุขภาพของพลทหารกองประจำการ. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15: 28-32.
14. ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง, ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร, อภิธาน พวงศรีเจริญ และ อรวรรณ พินิจเลิศสกุล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในสตรีตั้งครรภ์ที่มี Glucose Challenge Test ผิดปกติ. Journal of Nursing Science 2559; 34: 58-69.
15. บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2553.
16. Lee, S, Avers, S, Holden, D. Risk perception of women during high risk pregnancy: A systematic review. Health, Risk and Society 2012;14:511-31.
17. วิชุดา สังขฤกษ์, ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์, เยาวภา ติอัชสุวรรณ. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการฝากครรภ์ของแรงงานต่างด้าวในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดสมุทรสาคร. ใน: การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 4; วันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2557. นนทบุรี:ฝ่ายส่งเสริมมาตรฐานบัณฑิตศึกษา; 2557.
18. Pender, NJ. Health promotion in nursing practice. 2nd ed. Connecticut: Appleton & Lange; 1987.
19. มะไลทอง วาปี, สุกัญญา ปริสัญญกุล, ปิยนุช ชูโต. การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรคของการสร้างเสริมสุขภาพและพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของหญิงมีครรภ์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. พยาบาลสาร 2558;42:108-19.
20. ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง, ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร, อภิธาน พวงศรีเจริญ, อรวรรณ พินิจเลิศสกุล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในสตรีตั้งครรภ์ที่มี Glucose Challenge Test ผิดปกติ. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2559;34:58-69.
21. นวลนิตย์ แก้วนวล, เยาวลักษณ์ อ่ำรำไพ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคในบุคลากรผู้ส่งมอบยาวัณโรค. ว.ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2557;9:193-202.
22. ศศิธร โพธิ์ชัย. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์แรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชา จังหวัดสระแก้ว [วิทยานิพนธ์]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.
23. ธารินันท์ ลีลาทิวานนท์, โสเพ็ญ ชูนวล, สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. ว.มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2561;10:25-37.
24. เกสรา ศรีพิชญาการ, วันเพ็ญ มีชัยชนะ, ยุพิน เพียรมงคล. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรู้และพฤติกรรมการป้องกันความผิดปกติแต่กำเนิดของสตรีตั้งครรภ์. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติ วลัยลักษณ์วิจัย ครั้งที่ 10; วันที่ 27-28 มีนาคม 2561: สถาบันวิจัยและนวตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. นครศรีธรรมราช; 2561.
25. Pender, N, Carolyn, M, Mary AP. Health promotion in nursing practice. Prentice Hal; 2006.
26. สุจิตต์ แสนมงคล. การรับรู้ภาวะสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการดูแลตนเองหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครั้งแรก จังหวัดภูเก็ต. ว.วิชาการแพทย์ เขต 11 2559;30:105-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30