อุบัติการณ์และผลการรักษาโรคไส้เลื่อนกะบังลมแต่กำเนิดในโรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • โสภิดา ตันธวัฒน์ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

โรคไส้เลื่อนกะบังลมแต่กำเนิด

บทคัดย่อ

โรคไส้เลื่อนกะบังลมแต่กำเนิดเป็นความผิดปกติแต่กำเนิดที่พบได้น้อย แต่มีอัตราตายสูงตั้งแต่ในระยะแรกเกิดได้จากภาวะปอดแฟบและความดันหลอดเลือดปอดสูง การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และผลการรักษาโรคไส้เลื่อนกะบังลมแต่กำเนิดใน โรงพยาบาลอุดรธานีระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 – ธันวาคม พ.ศ. 2562 ทำการเก็บข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี จากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคไส้เลื่อนกะบังลมแต่กำเนิดและเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดโรงพยาบาลอุดรธานีภายใน 28 วันหลังเกิด ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ.2558 – ธันวาคม พ.ศ.2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน และพิสัย (Range) สถิติวิเคราะห์ใช้ Fisher Exact test, Student T test กำหนดความเชื่อมั่นที่ 0.05

ผลการศึกษา: ในระยะเวลา 5 ปี มีทารกได้รับการวินิจฉัยโรคไส้เลื่อนกะบังลมแต่กำเนิดทั้งหมด 16 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์การเกิดโรคไส้เลื่อนกะบังลมแต่กำเนิด 5.7 ต่อทารกเกิดมีชีพ 10,000 ราย ทารกถูกตัดออกจากการศึกษา 3 ราย สัดส่วนทารกเพศชายมากกว่าหญิง คิดเป็นอัตราส่วน 3.3:1 ทารกคลอดครบกำหนด 10 ราย ร้อยละ 76.9 ทารกน้ำหนักน้อย 2 ราย ร้อยละ 15.4 ทารกส่วนใหญ่ถูกส่งต่อมาจากโรงพยาบาลอื่น มีทารก 1 รายได้รับการวินิจฉัยก่อนเกิด จากการตรวจพบความผิดปกติด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง การวินิจฉัยภายหลังเกิดอาศัยอาการแสดงที่สำคัญคือ หายใจเร็ว ระดับออกซิเจนต่ำ ใช้แรงในการหายใจมากขึ้น พบว่าร้อยละ 84.6 มีอาการเร็วภายใน 6 ชั่วโมงแรกหลังเกิด การตรวจเอกซเรย์ปอดพบว่าไส้เลื่อนขึ้นมาที่ช่องอกด้านซ้ายทุกราย พบความผิดปกติของระบบอื่นร่วม 2 รายจากสมองบวมน้ำรุนแรงและอวัยวะเพศกำกวม อัตราตายร้อยละ 61.5 (8 รายใน 13 ราย) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของโรคไส้เลื่อนกะบังลมแต่กำเนิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง ทารกที่รอดชีวิตทั้งหมด 5 ราย ได้รับการผ่าตัดแบบ primary repair ค่ามัธยฐานอายุที่ได้รับการผ่าตัด 3 วัน พบทารก 1 ราย มีภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัดคือ accidental splenectomy ไม่พบภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดแบบเฉียบพลัน ทารกทุกรายติดตามอย่างน้อยจนถึงอายุ 1 ปี พบการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย

สรุป: อุบัติการณ์โรคไส้เลื่อนกะบังลมแต่กำเนิดในโรงพยาบาลอุดรธานีใกล้เคียงทั้งในไทยและต่างประเทศแต่พบว่าอัตราตายสูงกว่า สาเหตุการตายที่สำคัญคือภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง

 

References

1. Gallot D, Boda C, Ughetto S, Perthus I, Robert-Gnansia E, Francannet C, et al. Prenatal detection and outcome of congenital diaphrmatic hernia: a French registry-based study. Ultrasound Obstet Gynecol 2007; 29: 276-83.
2. Canadian Congenital Diaphragmatic Hernia Collaborative, Puligandla PS, Skarsgard ED, et al. Diagnosis and management of congenital diaphragmatic hernia: a clinical practice guideline. CMAJ 2018; 190(4): E103-12.
3. Pober BR. Genetic aspects of human congenital diaphragmatic hernia. Clin Genet 2008;74:1-15.
4. Holder AM, Klaassens M, Tibboel D, de Klein A, Lee B, Scott DA. Genetic factors in congenital diapgragmatic hernia. An J Hum Genet 2007; 80: 825-45.
5. Pober BR, Lin A, Russell M, Ackerman KG, Chakravorty S, Strauss B, et al. Infants with Bochdalek diaphragmatic hernia: sibling precurrence and monozygotic twin discordance in a hospital-based malformation surveillance program. Am J Med Genet A 2005; 138A(2): 81-8.
6. Sinha CK, Islam S, Patel S, Nicolaides K, Greenough A, Davenport M: Congenital diaphragmatic hernia: prognostic indices in the fetal endoluminal tracheal occlusion era. J Pediatr Surg 2009; 44: 312-6.
7. Mesas Burgos C, Hammarqvist-Vejde J, Frenckner B, Conner P. Differences in outcomes in prenatally diagnosed congenital diaphragmatic hernia compared to postnatal detection: A single-center experience. Fetal Diagn Ther 2016; 39: 241-7.
8. Colvin J, Bower C, Dickinson JE, Sokol J. Outcomes of congenital diaphragmatic hernia: A population-based study in Western Australia. Pediatrics 2005; 116: e356-63.
9. Garne E, Haeusler M, Barisic I, Gjergia R, Stoll C, Clementi, M, et al. Congenital diaphragmatic hernia: Evaluation of prenatal diagnosis in 20 European regions. Ultrasound Obstet Gynecol 2002; 19: 329-33.
10. น้ำทิพย์ บุญประสิทธิ์, พรพิมล โรจนครินทร์. การศึกษาการเสียชีวิตและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดที่ได้รับการวินิจฉัยโรคไส้เลื่อนกะบังลมแต่กำเนิดในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. ว.กุมารเวชศาสตร์ 2563; 59: 40-7.
11. อรพิชญ์ ขยันกิจ, รังสรรค์ นิรามิษ, ไมตรี อนันต์โกศล. ไส้เลื่อนกะบังลมแต่กำเนิด: ผลของการรักษาระหว่างปี พ.ศ. 2545-2552. กุมารเวชสาร 2553; 3: 179-85.
12. อรไท ชั้นแก้ว, รังสรรค์ นิรามิษ, วีระ บูรณะกิจเจริญ, ปัจจัยหลังคลอดที่มีผลต่อการมีชีวิตรอดของทารกไส้เลื่อนกะบังลมแต่กำเนิด. ว.กรมการแพทย์ 2561; 2: 131-6.
13. Clark RH, Hardin WD Jr, Hirschl RB, Jaksic T, Lally KP, Langham MR Jr, Wilson JM: Current surgical management of congenital diaphragmatic hernia: a report from the Congenital Diaphragmatic Hernia Study Group. J Pediatr Surg 1998; 33: 1004-9.
14. Logan JW, Cotten CM, Goldberg RN, Clark RH. Mechanical ventilation strategies in the management of congenital diaphragmatic hernia. Semin Pediatr Surg 2007; 16: 115-25.
15. Downard CD, Jaksic T, Garza JJ, Nemes, L, Jennings, RW. Analysis of an improved survival rate for congenital diaphragmatic hernia. J Pediatr Surg 2003; 8: 729-32.
16. Chiu P, Hedrick HL, Postnatal management and long term outcome for survivors with congenital diaphragmatic hernia. Prenat Diagn 2008; 28: 592-603.
17. Pierro M, Thebaud B. Understanding and treating pulmonary hypertension in congenital diaphragmatic hernia. Semin Fetal Neoatal Med 2014; 19: 357-63.
18. Bosenberg AT, Brown RA. Management of congenital diaphragmatic hernia. Curr Opin Anaesthesiol 2008; 21: 323-31.
19. The neonatal Inhaled Nitric oxide Study Group (NINOS). Inhaled nitric oxide and hypoxic respiratory failure in infants with congenital diaphragmatic hernia. Paediatrics 1997; 99: 838-45.
20. Clack RH, Kueser TJ, Walker MW, Southgate WM, Huckaby JL, Perez JA, et al. Low dose nitric oxide therapy for persistent pulmonary hypertension of the newborn. N Engl J Med 2000; 342: 469-74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30