ภาวะอ้วนลงพุงของบุคลากรโรงพยาบาลค่ายทหารแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ศรินรัตน์ นิลภุผาทวีโชติ โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม
  • กาญจนา ปัญญาธร มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ชลการ ทรงศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

คำสำคัญ:

ภาวะอ้วนลงพุง, ดัชนีมวลกาย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะอ้วนลงพุงและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วนลงพุงของบุคลากรในโรงพยาบาลค่ายทหารแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานีโดยศึกษาปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล พฤติกรรมสุขภาพ ผลการตรวจร่างกายและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างได้มาแบบเฉพาะเจาะจงเป็นข้าราชการและลูกจ้างประจำทุกคนที่เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี พ.ศ.2561 จำนวน 245 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่มีภาวะอ้วนลงพุงจำนวน 71 คน และกลุ่มไม่มีภาวะอ้วนลงพุงจำนวน 174 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบบันทึกผลการตรวจร่างกายและแบบรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน พ.ศ.2561 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ใช้ chi-square

ผลการวิจัยพบว่า ภาวะอ้วนลงพุงในบุคลากรคิดเป็นร้อยละ 29.0 ลักษณะส่วนบุคคลกลุ่มที่มีภาวะอ้วนลงพุงร้อยละ 53.5 เป็นเพศชายมีอายุมากกว่า 35 ปี ร้อยละ 95.8 สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 84.5 และมีโรคประจำตัวร้อยละ 35.2 พฤติกรรมสุขภาพทั้งสองกลุ่มมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสมโดยรับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม เป็นประจำและขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอต่างกันที่กลุ่มที่มีภาวะอ้วนลงพุงสูบบุหรี่มากกว่ากลุ่มไม่มีภาวะอ้วนลงพุง (ร้อยละ 9.9 และ 5.2) และดื่มสุรามากกว่า (ร้อยละ 36.6 และ 29.3) ผลการตรวจร่างกายกลุ่มที่มีภาวะอ้วนลงพุงมีผลการตรวจร่างกายเกินมาตรฐานมากกว่ากลุ่มที่ไม่อ้วนลงพุง ได้แก่มีรอบเอวเกินเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 100 มีความดันโลหิตมากกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอท ร้อยละ 69.0 และมีดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 25 ร้อยละ 78.9 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการกลุ่มที่มีภาวะอ้วนลงพุงมีผลการตรวจค่าเฉลี่ยเกินมาตรฐานมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีภาวะอ้วนลงพุงทุกด้าน ได้แก่ HDL โคเลสเตอรอลต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 56.3 ไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง ร้อยละ 31.0 ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร้อยละ 49.3 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วนลงพุงพบว่าเพศ อายุ สถานภาพสมรส การมีโรคประจำตัว การบริโภคอาหารหวานมันเค็มประจำ รอบเอว ความดันโลหิต โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์และระดับน้ำตาลในเลือดมีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วนลงพุงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยสามารถนำไปวางแผนการรักษาเฝ้าระวัง ส่งเสริมพฤติกรรมและป้องกันควบคุมภาวะอ้วนลงพุงของบุคลากรโรงพยาบาลค่ายทหารจังหวัดอุดรธานีและแห่งอื่น ๆ ต่อไป

 

References

1. Mohammad G.Saklayen. The global Epidemic of metabolic syndrome [internet]. 2018 [cited 2020 May 12]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5866840/
2. Heval M Kelli, Ibrahim Kassas, Omar M Lattouf. Cardio Metabolic Syndrome: A Global Epidemic Journal of Diabetes and Metabolism [internet]. 2015 [cited 2020 May 12] .Available from: https://www.longdom.org/open-access/car dio-metabolic-syndrome-a-global-epidemic
3. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการจัดการปัญหาอ้วนลงพุงและภาวะแทรกซ้อน.[อินเทอร์เน็ต]. 2018 [เข้าถึงเมื่อ1 กุมภาพันธ์ 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://164.115.27.97/digital/files/original/
4. Donna L Mendrick et al. Metabolic Syndrome and Associated Diseases: From the Bench to the Clinic. [internet]. 2017 [cited 2020 May 12]. Available from: https://academic. oup.com/toxsci/article/162/1/36/4585010
5. ละอองดาว คำชาตา, เพ็ญศิริ ดำรงภคภากร, อัมพรพรรณ ธีรานุตร. โรคอ้วนลงพุง: สัญญาณอันตรายที่ต้องจัดการ. ศรีนครินทร์เวชสาร 2561; 33(4): 386-390.
6. พลอยฌญารินทร์ ราวินิจ, อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนลงพุงในประชากรตำบลชะแมบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ว.สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 2559; 5(2): 33-47.
7. พรหมินทร์ เมธากาญจนศักดิ์, จุฬาภรณ์ โสตะ. การรับรู้ความยากของการจัดการโรคอ้วนลงพุงจากมุมมองผู้ที่มีโรคอ้วนลงพุง. ว.การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2558; 33(4): 121-130.
8. พรทิพย์ มาลาธรรม, ขวัญใจ สิทธินอก, พรรณวดี พุธวัฒนะ, ฉัตรประอร งามอุโฆษ. ความชุกและองค์ประกอบของกลุ่มอาการเมตาบอลิคของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา. ว.สภาการพยาบาล 2554; 26 (4): 137-148.
9. ปฏิพันธ์ เสริมศักดิ์. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงภาวะเมตาบอลิกซินโดรมของพนักงานที่เข้ากะในโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกในจังหวัดนครราชสีมา. ว.พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558; 25(2): 157-165.
10. พรรณิภา บุญเทียร, บงกช อนุฤทธิ์ประเสริฐ, จงจิต เสน่หา. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะอ้วนลงพุงของผู้ป่วยที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2560; 35(4): 74- 86.
11. ทิพรดา ประสิทธิแพทย์, กุหลาบ รัตนสัจธรรม, ชิงชัย เมธพัฒน์, อนามัย เทศกะทึก. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะอ้วนลงพุงของพนักงานสถานประกอบการขนาดใหญ่ในเขตภาพตะวันออก. ว.วิชาการสาธารณสุข 2561; 27(5): 792-799.
12. ณัฐภัสสร แก้วรัตนะอัมพร, พัชราณี ภวัตกุล, สุวัฒน์ ศรีสรฉัตรและเรวดี จงสุวัฒน์.ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนลงพุงในพนักงานชาย บริษัทผลิตรถยนต์ที่ทำงานรอบกลางคืน. วารสารสุขศึกษา 2557 ; 37(127): 83-97.
13. แดน สุวรรณรุจิ. ปัจจัยกำหนดภาวะ metabolic syndromeของตำรวจไทย. วารสารประชากรศาสตร์ 2561;34(1) :72-91.
14. วรรณวิมล เมฆวิมล. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นทีฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/865/1/039_53.pdf
15. ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, สมเกียรติยศ วรเดช. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะอ้วนลงพุงในนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. ว.สาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2558; 10(2): 55-65.
16. จันทร์แรม สายสุด, พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในบุคลากรโรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://grad.dpu.ac. th/upload/content/files
17. ปวีณา ประเสริฐจิตร. วิถีชีวิตคนเมืองที่มีผลต่อภาวะอ้วนลงพุง กรณีศึกษาบุคลากรคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2562; 63 suppl: 211-212.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30