ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสูบบุหรี่ของเกษตรกรชายชาวไร่ยาสูบ จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • รณชัย คล่ำคง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ณรงศักดิ์ หนูสอน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ชาวไร่ยาสูบ, บุหรี่, พฤติกรรมการสูบบุหรี่

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่และปัจจัยที่ส่งผลต่อการบุหรี่ของเกษตรกรชายชาวไร่ยาสูบในจังหวัดสุโขทัย ประชากร คือ เกษตรกรชายชาวไร่ยาสูบจังหวัดสุโขทัย จำนวน 1,322 คน การคำนวณกลุ่มตัวอย่างมากกว่าหรือเท่ากับ 30 เท่าของจำนวนตัวแปรทำนายได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 480 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยสุ่มตำบลก่อน ตามด้วยการสุ่มหมู่บ้านและหลังคาเรือน และแบ่งกลุ่มตัวอย่างโดยการกระจายตามสัดส่วนของประชากรในพื้นที่ ทำการเก็บข้อมูลเดือนมกราคม-มีนาคม 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ได้ข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาปัญหาการสูบบุหรี่ของเกษตรกรชายชาวไร่ยาสูบ

ผลการศึกษาจะเป็นแนวทางในการวางแผนป้องกันพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเกษตรกรชายชาวไร่ยาสูบและผลการศึกษาสามารถใช้ประกอบการจัดทำนโยบายหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 46 -50 ปี ร้อยละ 24.2 มีสถานภาพสมรสร้อยละ 88 .1 ระยะการเป็นชาวไร่ยาสูบมากที่สุดคือ ช่วง 6-10 ปี ร้อยละ 37.9 การเป็นชาวไร่ยาสูบเฉลี่ยคือ 13.47 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้รับจ้างทำไร่ยาสูบร้อยละ 89.0 ทำยาสูบชนิดเบอร์เลย์มากที่สุดร้อยละ 90.4 การเก็บใบยาสูบตากแห้งร้อยละ 81.2 พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เฉพาะงานประเพณีสำคัญต่าง ๆ ร้อยละ 38.9 ผลความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.27 พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 46.7 สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสูบบุหรี่ คือ การศึกษา สถานะทำไร่ยาสูบ สถานที่เก็บใบยาสูบ พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีเพื่อนร่วมงานสูบบุหรี่ ทัศนคติการสูบบุหรี่ การรับรู้ผลกระทบการสูบบุหรี่ และความเครียด สามารถร่วมอธิบายความผันแปรของตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ ร้อยละ 65.4

 

References

1. กรมควบคุมโรค.บุหรี่พิษภัยต่อร่างกาย [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 11 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news. php
2. World Health Organization. สนธิสัญญาการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ [อินเทอร์เน็ต]. 2018 [เข้าถึงเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.voathai.com/a/who-tobacco-control
3. สำนักงานสถิติ. ผลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 19 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nso.go.th/sites/ 2014/Pages
4. สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุโขทัย. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชาชนจังหวัดสุโขทัย [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://sukhothai.cdd.go.th
5. สำนักงานเศรษฐกิจทางการเกษตร.ข้อมูลเศรษฐกิจทางการเกษตรของประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 19 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.oae.go.th/view/
7. ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพมหานคร. การสำรวจข้อมูลสุขภาพของประชาชนในกรุงเทพมหานคร[อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bangkok.go.th.
8. บัวพันธ์ พรหมพักพิง. เส้นทางยาเส้นเกษตรกรผู้ปลูก ผู้ผลิตยาเส้น ผู้จำหน่ายและผู้บริโภคบุหรี่มวนเอง. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ; 2554.
9. สุสารี ประคินกิจ และ จรัสดาว เรโนลด์. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมและความวิตกกังวล ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่เข้ารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลสมุทรสาคร. [รายงานการวิจัย] กรุงเทพมหานคร :มหาวิทยาลัยสยาม. 2552.
10. ประภาภรณ์ รักษ์สุข. พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชาชนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561.
11. กัลยา วานิชย์บัญชา. สถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: 2559.
12. เอมอร พุฒิพิสิฐเชฐ. การรับรู้และพฤติกรรมของคนไทยต่อการสูบบุหรี่ในสวนสาธารณ. [อินเตอร์เน็ต] 2562. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2562] เข้าถึงได้จากhttps://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/120 8?locale-attribute=th
13. กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข. แบบวัดความเครียด กรมสุขภาพจิต (SPST-20). [เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562] เข้าถึงได้จาก http://www.bsh.go.th/download/Download/Download01.doc
14. เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์. ข้อคำนึงในการสร้างเครื่องมือประเภทมาตรประมาณค่า (Rating Scale) เพื่องานวิจัย. 2552 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 กันยายน 2562 จาก http://ms.src.ku.ac.th/schedule/Files/ 2553/Oct/1217086.doc
15. จิตตานันทร์ พงศ์วรินทร์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของพนักงานโรงงานยาสูบ. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ; 2556..
16. Cad Saude Publica. Prevalence of alcohol use disorders and associated factors: a population-based study using AUDIT in southern Brazil. Research of health and social students: 2016.
17. สุชาดา อินทรกำแหง ณ ราชสีมา, พีระ เรืองฤทธิ์, วราภรณ์ วรรณประสาธน์. แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการลด เลิก บุหรี่ของประชาชน บ้านบึงบอระเพ็ด ตำบลแควใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ; 2556.
18. ธีระวัฒน์ เจริญชัยรัตนะ, สุชาดา ภัยหลีกลี้. การสำรวจความชุกและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชาชนในจังหวัดหนองบัวลำภู มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ว.การพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2557; 2(3): 285-297.
19. Yves Martinet, Abraham Bohadana and Karl Fagerström. Introducing oral tobacoco for tobacco harm reduction: what are the main obstacles. Harm Reduction Journal 2007. 4 :17
20. Roux, P. et al. Study on smoking habit among farmers in France. Research of health and social students: 2017.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30