การพัฒนารูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคปอด งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนพิสัย
คำสำคัญ:
การคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคปอด, งานการพยาบาลผู้ป่วยนอกบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคปอดกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย บุคลากรด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคปอด จำนวน 44 คน ผู้ป่วยที่สงสัยวัณโรคปอดที่มารับบริการที่โรงพยาบาลโพนพิสัยในช่วงระยะเวลา 1 ธันวาคม 2562-31 ตุลาคม 2563 จำนวน 43 คน การวิจัยมี 4 ขั้นตอน ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติการ ขั้นประเมินผล ขั้นสะท้อนผลปฏิบัติการ เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อศึกษาสถานการณ์แบบประเมินความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคปอดเป็นแบบเลือกตอบ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มารับบริการ แบบประเมินความพึงพอใจของบุคลากรทางแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคปอด ค่าความเชื่อมั่นของอัลฟาคอนบารค 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบคะแนนความรู้ก่อนและหลังการอบรมโดยใช้สถิติ Paired t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยสถานการณ์เบื้องต้นพบว่าบุคลากรด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการคัดกรองวัณโรคปอดยังขาดความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติการคัดกรอง ทำให้มีการคัดกรองผู้ป่วยที่สงสัยวัณโรคปอดไม่ครอบคลุม จึงพบผู้ป่วยผลเสมหะบวกเดินปะปนกับผู้รับบริการอื่น ทำให้เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อสูง การพัฒนารูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคปอด ได้แนวทางการปฏิบัติงานการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคปอดคือ 1) จัดให้มีพยาบาลรับผิดชอบงานวัณโรคปอด 2) ใช้แบบคัดกรองวัณโรคปอดที่จุดคัดกรอง 3) กรณีพบผู้ป่วยสงสัยวัณโรคปอดส่งปรึกษาแพทย์ช่องทางด่วน 4) เพิ่มการสื่อสารผู้เกี่ยวข้อง 5) เพิ่มช่องทางด่วนส่งตรวจเอกซเรย์ 6) มีระบบนัดวันเวลาการส่งตรวจเสมหะ 7) ส่งพบแพทย์ตามแนวทางการรักษาวัณโรคปอด หลังพัฒนารูปแบบการคัดกรองวัณโรคปอดมีความครอบคลุมมากขึ้น ได้แนวทางการคัดกรองวัณโรคปอด การประเมินการใช้แบบคัดกรองวัณโรคปอดสามารถคัดกรองถูกต้องร้อยละ 90.91 ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจการคัดกรองของบุคลากรก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลางหลังการพัฒนาความรู้ของบุคลากรมีความรู้เพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยคะแนน 12.57 เป็น 15.64 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) บุคลากรด้านการแพทย์มีความพึงพอใจต่อระบบคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.2 (SD 0.51) และพึงพอใจมากที่สุดคือเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรและผู้มารับบริการมีค่าเฉลี่ย 4.7 (SD 0.46)
References
2. กรมควบคุมโรค. สำนักวัณโรค. แนวทางปฏิบัติป้องกันควบคุมวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก ภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.
3. World Health Organization. Systematic screening for active tuberculosis: An operationalguide. Geneva: World Health Organization; 2015.
4. ฉวีวรรณ พงษ์วงษ์, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ที่เกิดจากตัวผู้ป่วยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. ว.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2560; 24(1): 36-46.
5. โรงพยาบาลโพนพิสัย. สถิติข้อมูลผู้ป่วยโรงพยาบาลโพนพิสัย ย้อนหลัง 5 ปี. รายงานเวชระเบียนผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลโพนพิสัย. โพนพิสัย: โรงพยาบาลโพนพิสัย; 2563.
6. Kermis, S, Mc Tagart, R. The Action Research Planer. 3 rd ed. Victoria: Deakin University; 1988.
7. เนตรชนก จุละวรรณโณ. ผลการให้ความรู้รายบุคคลต่อพฤติกรรมการดูแบบตนเองของผู้ป่วยวัณโรค. ว.เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559; 3(1): 17-30.
8. Bloom, B.S. Mastery learning.UCLA – CSEIP Evaluation Comment.1(2). Losangeles: University of California at Los Angeles; 1971.
9. ชูใจ คูหารัตนไชย. สถิติเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร; 2542.
10. พนิดา ว่าพัฒนวงศ์, ชมพูนุช สุภาพวานิช, อรรณพ สนธิไชย. พฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงานในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส. ว.มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2560; 9(1): 73.
11. ศิริพร อุปจักร์, วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร, จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ. ประสิทธิภาพของแบบคัดกรองวัณโรคปอดในโรงพยาบาล. พยาบาลวารสาร 2559; 43(1): 107-117.
12. ประเทือง ธราธรรุ่งเรือง. การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอดในงานบริการผู้ป่วยนอก ว.วิททยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า 2561; 1(2): 77-82.
13. Nahid, Payam, Dorman, Susan E., Alipanah, Narges, Barry, Pennan M, Brozek, Jan L, Cattamanchi, Adithya, et al. Official American Thoracic Society/Centers for Disease Control and Prevention/Infectious Diseases Society of America Clinical Practice Guidelines: Treatment of Drug-Susceptible Tuberculosis. Clinical Infectious Disease 2016; 63(7): 147-195.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร