การรับรู้เกี่ยวกับการหกล้ม พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม และจำนวนครั้งของการหกล้มของผู้สูงอายุภายหลังการใช้แนวปฏิบัติการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยตามหลัก 10 ป. ของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
การป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยตามหลัก 10 ป., การรับรู้, หกล้ม, ู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบการรับรู้เกี่ยวกับการหกล้ม พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม และจำนวนครั้งของการหกล้มของผู้สูงอายุจากการใช้แนวปฏิบัติการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยตามหลัก 10 ป. ของผู้สูงอายุในชุมชน ทำการศึกษาในช่วงตั้งแต่ 10 มิถุนายน – 9 ธันวาคม 2562 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอุดรธานี อายุ 65 ปีขึ้นไป และมีคะแนนปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มตั้งแต่ 4 คะแนนขึ้นไป จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือคัดกรองกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ (1) แบบประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน มีค่าความไว (sensitivity) เท่ากับ 0.92 และ ค่าความจำเพาะเท่ากับ (specificity) เท่ากับ 0.83 (2) แบบประเมิน Barthel ADL Index ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และ (3) แบบประเมินสภาพแวดล้อมที่บ้านของผู้สูงอายุ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 2) เครื่องมือทดลอง ได้แก่ แนวปฏิบัติการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยตามหลัก 10 ป.ของผู้สูงอายุในชุมชน คู่มือป้องกันการหกล้ม แผนการเยี่ยมบ้าน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 1 3) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ มีความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน (CVI) เท่ากับ 1 และค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือตามสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบราค (Conbrac alpha-Coefficient) มีค่า 0.86 ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated Measures ANOVA)
ผลการวิจัย อาสาสมัครเริ่มต้น 42 คน เข้าร่วมวิจัยตลอดระยะการดำเนินโครงการ จำนวน 39 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.80 อายุเฉลี่ย 68.76 ปี มีผู้ดูแลตลอดเวลา ร้อยละ 43.59 อยู่ตามลำพังเป็นบางเวลา ร้อยละ 30.77 อยู่ตามลำพังตลอดเวลาหรืออยู่กับผู้สูงอายุ ร้อยละ 25.64 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 74.36 ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ต่อการหกล้มตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันการหกล้มและจำนวนครั้งของการหกล้มของผู้สูงอายุก่อนได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติฯ หลังได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติฯ ทันที และระยะติดตามผล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอย่างน้อย 1 คู่ ในทุกด้าน ได้แก่ ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยง (p<.001) ด้านการรับรู้ความรุนแรง (p=.005) ด้านการรับรู้ประโยชน์ (p<.001) ด้านการรับรู้อุปสรรค (p=.010) พฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ (p <.001) และจำนวนครั้งของการหกล้ม (p=.023)
สรุป ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าแนวปฏิบัติการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยตามหลัก 10 ป. ของผู้สูงอายุในชุมชนนี้มีประโยชน์ และสามารถส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มเปลี่ยนแปลงไปและยังลดอุบัติการณ์การหกล้มของผู้สูงอายุได้ จึงควรนำไปในชุมชนอื่นที่มีลักษณะคล้ายชุมชนตัวอย่างได้
References
2. Thiamwong, L., Thamarpirat, J., Manee sriwongul, W., &Jitapunkul, S. Thai falls risk assessment test (Thai-FRAT) developed for community-dwelling Thai elderly. Medical journal of the Medical Association of Thailand, 2008; 91(12), 1823.
3. เลขา ดีรูป ศิริวรรณ มโนปัญจศิริ และ ประกิต เนตรหิน.คลินิกป้องกันการหกล้ม.วารสารกรมการแพทย์ 2562; 44(4), 16-21.
4. ฐิติมญชุ์ ปัญญานะ. ผลการใช้โปรแกรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุต่อประสิทธิผลของทีมการพยาบาลและ พฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2552.
5. ดาราวรรณ รองเมือง, ฉันทนา นาคฉัตรีย์, จีราพร ทองดีและจิตติยา สมบัติบูรณ์. อุบัติการณ์ของการหกล้ม ปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการหกล้มในผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2559; 27 (เพิ่มเติม): 124-38.
6. เยาวลักษณ์ คุ้มขวัญ, อภิรดี คำเงิน, อุษณีย์ วรรณลัย และ นิพร ขัดตา. แนวทางการป้องกันการพลัดตกหกล้มที่บ้านในผู้สูงอายุ:บริบทของประเทศไทย.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2561; 28(3): 10-22.
7. ละออม สร้อยแสง, จริยาวัตร คมพยัคฆ์ และ กนกพร นทีสมบัติ. แนวทางการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุชุมชนมิตรภาพพัฒนา. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15(1):122-9.
8. ลัดดา เถียมวงศ์ และ จอม สุวรรณโณ. ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัวบกพร่องของผู้สูงอายุในชุมชนชนบท. วารสารพยาบาลตำรวจ 2557; 6(2): 56-69.
9. Meiner, S. E. Safety gerontologic nursing. 4th ed. St. Lious: MOSBY ELSEVIER. Publishing; 2015.
10. Limpawattana P, Sutra S, Thavompitak Y, Chindaprasirt J, Mairieng P. Geriatric hospitalizations due to fall-related injuries. J Med Assoc Thai 2011; 95 Suppl 7: S235–239.
11. วิทยา วาโย, นารีรัตน์ จิตรมนตรี และวิราพรรณ วิโรจน์รัตน์. ผลของโปรแกรมการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560; 35(2): 25-33.
12. Center for Diseases Control and prevention. Preventing falls: how to develop community- Based falls prevention programs for older adults. National center for injury prevention and Control. Atlanta, Georgia. 2008.
13. ภาวดี วิมลพันธุ์ และ ขนิษฐา พิศฉลาด. ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560; 23(3): 98-109.
14. ธัญญารัตน์ อโนทัยสินทวี, แสงศุลี ธรรมไกรสร และ พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเรื่องมาตรการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. [รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์]. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. 2557.
15. วรรณพร บุญเปล่ง,วดีรัตน์ ศรีวงศ์วรรณ และพัฒนา เศรษฐวัชราวนิช. อัตราและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการหกล้มของผู้สูงอายุ: ชุมชนริมแม่น้ำ เจ้าพระยา จังหวัดนนทบุรี. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2557; 33(3): 74-86.
16. พรรณวรดา สุวัน, ณภัทรธร กานต์ธนาภัทร, จุฑารัตน์ เสาวพันธ์, สุปรีดา อินทรสงเคราะห์, อัญชลี อ้วนแก้ว และ สุภาพักตร์ หาญกล้า. การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยตามหลัก 10 ป. ของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารแพทย์นาวี 2563; 47(2): 414-431.
17. Scriven, A. Alliance in health promotion: Theory and practice. London: Mc. Millanpress; 1998.
18. Rosenstock, M. I. “History Origin of the Health Belief Model,” Health Education Monographs. 1974; 2(4): 328-53.
19. Ngamjarus, C., Chongsuvivutwong V.,& McNeil E. n4Studies: Sample Size Calculation for an Epidemiological Study on Smart Device.Siriraj Medical Journal, 2020 68(3): 160-170.
20. Loahaprasitiporn P., Jarusriwanna A., Unnanuntana A. Validity and Reliability of the Thai Version of the Barthel Index for Elderly Patients with Femoral Neck Fracture. J Med Assoc Thai 2017;100 (5): 539-548.
21. อริสรา มะโนเที่ยง. Ageing Balance in Aqua: Mobility and Stability. [เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลปิยะเวทและสวนสุขภาพอรุณสหคลินิก. 2558.
22. เจริญ กระบวนรัตน์. ตาราง 9 ช่องกับการพัฒนาสมอง พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทสินธนาก๊อปปี้เซนเตอร์; 2552.
23. ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์ และ กรรณิการ์ เทพกิจ. ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560; 35(3): 186-195.
24. ทรงวุฒิ พันหล่อมโส. ผลของการใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับโปรแกรมการออกกาลังกายต่อการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ตำบลโคกกลาง อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต] มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2562.
25. มานิตา รักศรี นารีรัตน์ จิตรมนตรี และเสาวลักษณ์ จิรธรรมคุณ. ผลของโปรแกรมการปรับความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2562; 12(2): 134-150.
26. วิลาวรรณ สมตน, ทัศนีย์รวิวรกุล และ ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ.ผลของโปรแกรมโปรแกรมป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2556; 27(3): 58-70.
27. กาญจนา พิบูลย์. ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยในผู้สูงอายุในชุมชน.[รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2562.
28. Kitipimpano K, Amnatsatsue K, Kerdmongkol P, Maruo S, Nityasuddhi D. Development and Evaluation of a Community-Base Fall Prevention Program for Elderly Thais. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 2012;16(3): 222-235.
29. อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในตำบลท่าแค จังหวัดลพบุรี. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก 2561; 36(3): 45-65.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร