ประสิทธิผลการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยต้อหินที่รักษาด้วยวิธีการผ่าตัด โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ยุพาวดี สกุลวรรณรักษ์ โรงพยาบาลอุดรธานี
  • ธนสร เธียรธไนศวรรย์ โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

โรคต้อหิน, การผ่าตัดรักษาต้อหิน, การสอนสาธิต

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยต้อหินที่รักษาด้วยวิธีการผ่าตัด โรงพยาบาลอุดรธานี คำนวณกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G* Power ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 60 ราย โดยจำแนกเป็นกลุ่มทดลอง 30 ราย และกลุ่มควบคุม 30ราย เก็บข้อมูลในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป การติดตามผลลัพธ์หลังผ่าตัด แบบประเมินความรู้และการปฏิบัติของผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อหินโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยการเตรียมผู้ป่วยโดยมีการประเมินการปฏิบัติในกิจกรรมที่สำคัญตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (Reliability) ด้วยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบราค (Cronbach’ alpha       coefficient) มีค่าเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ paired sample t-test

ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มควบคุมส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 83.33 มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 58.03 ปี ส่วนกลุ่มทดลอง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.67 มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 55.75 ปี โดยการเปรียบเทียบประสิทธิผลของการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยต้อหินที่รักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ด้านความรู้ กลุ่มควบคุมมีค่าคะแนนความรู้ก่อนเข้าโปรแกรมมาตรฐาน โดยให้สุขศึกษาเพียงอย่างเดียวเฉลี่ย13.23 (SD 1.96) หลังให้ความรู้มีค่าคะแนนความรู้ เฉลี่ย 17.80 (S.D0.82) กลุ่มทดลอง มีคะแนนความรู้ก่อนเข้าโปรแกรมเฉลี่ย 15.53 (SD 1.81) หลังให้โปรแกรมมีค่าคะแนนเฉลี่ย 19.53 (SD 0.93) และพบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยหลังให้ความรู้ในโปรแกรมที่แตกต่างกันทั้งสองกลุ่มมีค่าคะแนนความรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.001 ด้านความสามารถในการดูแลผู้ป่วยโรคต้อหิน 5 ด้านของกลุ่มทดลองที่ผ่านการประเมินครั้งแรกสูงกว่ากลุ่มควบคุม คิดเป็นร้อยละ 70.00 และ 46.67 ตามลำดับ โดยกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจสูงกว่ากลุ่มควบคุม โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.85 ซึ่งมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ย 3.33 ซึ่งมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางข้อเสนอแนะควรนำโปรแกรมไปใช้ในหน่วยงานและเผยแพร่รูปแบบการสอนและให้สุขศึกษาในกลุ่มผู้ดูแลคู่กับการให้ความรู้แบบปฏิบัติโดยมีการเตรียมผู้ดูแลผู้ป่วยต้อหิน

 

References

1. พรทิพย์ นิติการุณ. ต้อหิน. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2563; 37: 154-159
2. ภารตี จันทรรัตน์ และ ทัศนา ชูวรรณะปกรณ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านการมองเห็นของผู้สูงอายุโรคต้อหิน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.
3. กลุ่มงานจักษุวิทยาโรงพยาบาลอุดรธานี. สรุปรายงานประจำปี 2562. โรงพยาบาลอุดรธานี; 2563
4. อภิชาติ สิงคาลวณิช. สายตาผิดปกติจากโรคเบาหวานและการป้องกัน. ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล: 2553.
5. วรรณชนก จันทชุม. เอกสารคำสอนวิจัยทางการพยาบาล. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.
6. เบญจวรรณ พวงเพชร และคณะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายแบบผู้ป่วยนอกต่อความวิตกกังวลและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2559; 34(3): 53-62.
7. Bloom, B.S. Mastery. learning.UCLA – CSEIP Evaluation Comment. (2) Losangeles. University of California at Los Angeles, 1971.
8. ชูใจ คูหารัตนไชย. สถิติเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร, 2542
9. เอกรัฐ โพธิรุกข์. ผลการรักษาต้อหินทุติยภูมิด้วยวิธีผ่าตัดเปิดทางระบายน้ำจากลูกตาออกสู่เยื่อบุตาขาวในโรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม; 2018: 15(1): 196-206.
10. จิรัชยา เจียวก๊ก และคณะ. การรับรู้และพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยต้อหิน. วารสารจักษุธรรมศาสตร์ 2556; 8(2): 29-45.
11. ศิริลักษณ์ โชติวุฒิมนตรี, รุจิรา ดวงสงค์.ผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคต้อหิน โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น; วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556; 6(1): 37-46

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30