บทบาทของพยาบาลในการส่งเสริมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยจิตเภทเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

ผู้แต่ง

  • สาริณี โต๊ะทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
  • เจนจิรา เกียรติสินทรัพย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยจิตเภท, บทบาทพยาบาล, การดูแลตนเอง, การกลับเป็นซ้ำ

บทคัดย่อ

การกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยโรคจิตเภทในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากภาวะโรคทำให้เกิดความผิดปกติของโครงสร้างสมองและสารเคมีที่ผิดปกติส่งผลให้เกิดอาการทางจิตทางลบ ทำให้ผู้ป่วยมีความบกพร่องในการดูแลตนเอง ผลที่เกิดขึ้นตามมาที่สำคัญคือ โอกาสของการรักษาให้หายเป็นปกติจะลดลงเรื่อย ๆ ตามจำนวนครั้งของการกลับเป็นซ้ำ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันไม่ให้กลับเป็นซ้ำ ซึ่งเป็นงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของพยาบาลที่ต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ บทความนี้จึงประสงค์ที่จะเสนอความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทเพื่อเสริมสร้างความรู้ให้กับพยาบาล โดยสังเคราะห์ความรู้จากการทบทวนแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรณีศึกษา

ผลการวิเคราะห์ได้องค์ความรู้ประกอบด้วย 1) การดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภท 5 ด้านคือ (1) สุขวิทยาส่วนบุคคล (2) การรับประทานยา (3) การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น (4) การปฏิบัติงาน (5) การทำกิจกรรมผ่อนคลายความเครียด พบว่าสาเหตุของความบกพร่องในการดูแลตนเองทั้ง 5 ด้านเกิดจากความผิดปกติของกระบวนการคิดและการรับรู้ ดังนั้นจึงต้องช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับกระบวนการคิดและการรับรู้ให้ถูกต้องเพื่อให้สามารถกลับมาดูแลตนเองได้ 2) ปัจจัยที่ทำให้เกิดการกลับเป็นซ้ำประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลักคือ (1) ปัจจัยด้านร่างกาย (2) ปัจจัยด้านจิตใจ (3) ปัจจัยด้านครอบครัว และ (4) ปัจจัยด้านการเสพยาเสพติด โดยปัจจัยด้านร่างกายคือภาวะความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง ปัจจัยด้านจิตใจคือ การเผชิญปัญหาที่ไม่มีประสิทธิภาพและความรู้สึกคุณค่าในตนเองลดลง ปัจจัยด้านครอบครัวคือ การได้รับการดูแลจากครอบครัวที่ไม่เหมาะสม ส่วนปัจจัยด้านการเสพยาเสพติดคือ พฤติกรรมการเสพยาเสพติดของผู้ป่วย ซึ่งปัจจัยทั้ง 4 ด้านที่ทำให้ผู้ป่วยกลับเป็นซ้ำจะมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่าผู้ป่วยรายใดมีปัจจัยใดบ้างที่เป็นสาเหตุของการกลับเป็นซ้ำเพื่อจะได้แก้ไขได้ครอบคลุมอย่างตรงประเด็นของผู้ป่วยแต่ละราย และ 3) บทบาทของพยาบาลในการส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำประกอบด้วย 6 ด้านคือ (1) การรับรู้การเจ็บป่วยตามความเป็นจริง (2) การรับประทานยาตามแผนการรักษา (3) การเสพยาเสพติด (4) การประกอบอาชีพ (5) การจัดการความเครียดและการเผชิญปัญหา และ (6) การดำเนินชีวิตในสังคม ซึ่งในแต่ละด้านมีกิจกรรมรองรับกำหนดไว้เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติโดยจะต้องกำหนดรายละเอียดการปฏิบัติของแต่ละกิจกรรมให้สอดคล้องกับผู้ป่วยแต่ละราย  ซึ่งจากกรณีศึกษาแสดงให้เห็นการปฏิบัติกิจกรรมของบทบาทด้านต่าง ๆ ส่งผลให้ผู้ป่วยจิตเภทสามารถดูแลตนเองได้อันจะส่งผลให้ไม่เกิดการกลับเป็นซ้ำ

 

References

1. World Health Organization. Schizophrenia [Internet]. 2015 [cited 2020 Jan 30]. Available from: http://www.who.int/mediacentre/fact sheets/fs397/en/
2. กรมสุขภาพจิต.คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทสำหรับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ (ฉบับพยาบาล/นักวิชาการสาธารณสุข). พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: วิคทอเรีย; 2560.
3.โรงพยาบาลศรีธัญญา. กลุ่มโรค 5 อันดับแรกที่แผนกผู้ป่วยนอก ปีงบประมาณ 2562. กรมสุขภาพจิต:โรงพยาบาลศรีธัญญา; 2562.
4. Wongsin, N., Yunibhand, J, Suktrakul, S. Discriminant analysis of relapse and non-relapse in Thai muslim schizophrenicpatients. The Journal of Psychiatric Nursingand Mental Health 2012; 27(3): 87-100.
5. อติญา โพธิ์ศรี. การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง: กรณีศึกษาชุมชนหนองนาสร้าง. ว.พยาบาลกองทัพบก 2561; 19: 239-247.
6. Somporn B., Nattha S. Progressive Psychiatry 2010. Bangkok: Ruen Kaew; 2010.
7. สมลักษณ์ เขียวสด, วิมลพรรณ นิติพงศ์, ทับทิม อุตะเดช, วัลลภา แสนศิลา. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่มต่อการรับรู้ตราบาปของผู้ป่วยจิตเภท. ว.การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2560; 31(3): 58-70.
8. สุดาพร สถิตยุทธการ. การกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง สถานการณ์และแนวทางการป้องกัน. ว.พยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2559; 28(3): 1-15.
9. ทศา ชัยวรรณวรรต. บทบาทของพยาบาลจิตเวชในการส่งเสริมสุขภาพจิต และการป้องกันการเจ็บป่วยทางจิต. ว.การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช 2560; 31(2): 16-30.
10. อัญชลี วิจิตรปัญญา. การพัฒนาโปรแกรมการจัดการความเจ็บป่วยตนเองต่อความสามารถในการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยโรคจิตเภท. ว.การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2561: 32(1): 86-101.
11. ธิดารัตน์ คณึงเพียร, สุพิศตรา เศลวัฒนะกุล.ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภท แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสุรินทร์; 2558.
12. ณัฐติกา ชูรัตน์. การศึกษาสาเหตุและแนวทางการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็งที่ประสบเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้.ว.มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2559; 3(1): 24-36.
13. ยชญ์รวินทร์ จรบุรมย์, สิริกร สุธวัชณัฐชา, นพภัสสร วิเศษ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังในชุมชนต่อการส่งเสริมความร่วมมือในการรับประทานยาทางจิตเวชหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558; 24(2): 60-68.
14. ศรินรัตน์ จันทพิมพ์, ขนิษฐา นันทบุตร. การดูแลผู้ป่วยจิตเภทโดยชุมชน. ว.การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561; 36(2): 68-76.
15. ธนพร หงส์คณานุเคราะห์, ธรรมนาถ เจริญบุญ. อัตราการถูกจ้างงานในผู้ป่วยจิตเภทและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. ว.สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2562; 64(3): 259-270.
16. สินเงิน สุขสมปอง, ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์, พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยโรคจิตครั้งแรก. ว.สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2559; 61(4): 331-340.
17. Arnaud Tessier, Laurent Boyer, Mathilde Husky, Franck Baylé, PierreMichel Llorca. Medication adherence in schizophrenia: The role of insight, therapeutic alliance and perceived trauma associated with psychiatric care. Psychiatry Research 2017;November 2017: 315-321.
18. Tan, S. C. H., Yeoh, A. L., Choo, I. B. K., Huang, A. P. H., Ong, S. H., Ismail, H., Chan, Y.H. Burden and coping strategies experienced by caregivers of persons with schizophrenia in the community. Journal of Clinical Nursing 2012; 21(17-18): 2410-2418.
19. Razali, S.M., Hussein, S., Ismail, T.A.T. Perceived stigma and self-esteem among Patients with Schizophrenia. International Medical Journal 2010; 17(4): 255-260.
20. ลำเจียก กำธร, โสภิต สุวรรณเวลา, เนาวรัตน์ สิงห์สนั่น. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังที่บ้าน. ว.โรงพยาบาลมหาสารคาม 2561; 15(3): 114-125.
21.วิลาสินี พิศนุ, ธรรมนาถ เจริญบุญ. ภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกเป็นภาระในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. ว.สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2562; 64(4): 317-336.
22.จารุรินทร์ ปิตานุพงศ์. ความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. ว.สุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2562; 27(2): 95-106.
23. กนกวรรณ บุญเสริม.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกลับมารักษาซ้ำในผู้ป่วยจิตเภท: มุมมองผู้ป่วย. ว.การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2559; 30(1): 123-138.
24. สมจิตร์ มณีกานนท์, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, วิจิตรา พิมพะนิตย์, นิตยา จรัสแสง, ขวัญสุดา บุญทศ. ความชุกของการใช้สารเสพติดในกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ว.สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2563; 59(4): 371-380.
25. กมลวรรณ สีเชียงสา, จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์, สายทิพย์ สุทธิรักษา. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนโดยทีมสหวิชาชีพของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ. ว.เภสัชกรรมไทย 2562; 11(2): 457-462 .
26. ผกาพันธุ์ วุฒิลักษณ์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตเภท บทบาทและกระบวนการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: ดีไซน์ปริ้นท์ มีเดีย; 2562.
27. นิตยา เจริญยุทธ, กชพงศ์ สารการ, หทัยรัตน์ ปฏิพัทธ์ภักดี. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลัง อำนาจต่อแหล่งพลังอำนาจ ความมีคุณค่าในตนเอง และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทหญิง. ว.การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช 2555; 26(3): 41-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30