ผลของการใช้การเจริญสติต่อระดับความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในการคลอดของผู้คลอด

ผู้แต่ง

  • วัลภา ศรีบุญพิมพ์สวย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • กาญจนา ปัญญาธร มหาวิทยาลัยราชธานี อุดรธานี
  • เพชรา ทองเผ้า วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • วริดา นิลธิราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • พณาวรรณ พาณิชย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

คำสำคัญ:

การเจริญสติ, ระดับความเจ็บปวด, พฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด

บทคัดย่อ

      การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของการใช้การเจริญสติต่อระดับความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในการคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอด จำนวน 60 คน ที่มาคลอด ณ โรงพยาบาลอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง และแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมในการฝึกการเจริญสติ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการเจริญสติ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินระดับความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในการคลอด วิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ (Chi - square Test) และสถิติการทดสอบทีแบบอิสระต่อกัน (Independent T-test)

       ผลการวิจัยพบว่า ผู้คลอดที่ได้ฝึกการเจริญสติ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวดในการคลอด (x̄=8.23, SD 1.59) น้อยกว่าผู้คลอดที่ไม่ได้ฝึกการเจริญสติ (x̄=9.50, SD 1.14) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในการคลอด (x̄=5.17, SD 2.12) มากกว่าผู้คลอดที่ไม่ได้ฝึกการเจริญสติ (x̄=1.83, SD 2.17) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลห้องคลอดสามารถนำการเจริญสติไปประยุกต์ใช้เพื่อช่วยให้ผู้คลอดเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเจ็บปวดในระยะคลอดและมีการรับรู้ประสบการณ์การคลอดที่ดี

 

References

1. Lowe NK. The nature of labor pain. Am J Obstet Gynecol 2006; 186: 16-24.
2. Cheng, Y. Normal Labor and Delivery. Medscape.com. 2013.
3. สุจินดา ตรีเนตร. ผลของการใช้โปรแกรมการสอนเพื่อเตรียมตัวคลอดที่เน้นการสนับสนุนจากสามีต่อระดับความเจ็บปวดและพฤติกรรมเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดของหญิงครรภ์แรก [วิทยานิพนธ]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
4. ทัศนีย์ คล้ายขำ. ผลของการนวดร่วมกับการประคบร้อนต่อความเจ็บปวดและการเผชิญความเจ็บปวดของผู้คลอดครรภแรก [วิทยานิพนธ]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.
5. ปาริฉัตร อารยะจารุ, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร, ฉวีวรรณ อยู่สำราญ, วรรณา พาหุวัฒนากร. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อความวิตกกังวล ระดับความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด ของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก. ว.สภาการพยาบาล 2555; 27(4): 96-108.
6. มาณี จันทร์โสภา, ฉวี เบาทรวง, สุกัญญา ปริสัญญกุล. ผลของการสนับสนุนทางสังคมต่อความเจ็บปวดในการคลอดและการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดวัยรุ่นครรภ์แรก. พยาบาลสาร 2555; 39(4): 72-84.
7. เบญจมาภรณ์ ชูช่วย. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในระยะคลอดโดยพยาบาลต่อระดับความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดในหญิงวัยรุ่นครรภ์แรก [วิทยานิพนธ]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2558.
8. หญิง แท่นรัตน์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดต่อคะแนนความเจ็บปวดและการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดครั้งแรก [วิทยานิพนธ]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.
9. Melzack R., Wall P.D. Pain mechanisms: A new theory. Science 1965;150(699): 971-979.
10. Melzack R. Gate control theory: On the evolution of pain concepts. Pain Forum 1996; 5(2): 128-138.
11. ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ. วิทยาความเครียดในทางจิตเวชศาสตร์. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2544.
12. ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ, สมจิตร์ หร่องบุตรศรี, ผ่องพรรณ กฤษณะประกรกิจ. สมาธิบำบัดทางจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัย ขอนแก่น; 2552.
13. อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2548.
14. กาญจนา เพียรบัญญัติ, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งที่มีความปวด. ว.พยาบาลสภากาชาดไทย 2557; 7(1): 10-25.
15. อารี นุ้ยบ้านด่าน, ทิพมาส ชิณวงศ์. สมาธิกับการรับรู้ความเจ็บปวด. ว.พยาบาลสงขลานครินทร์ 2556; 33(1): 69-74.
16. กาญจนา สังข์สิงห์, อุไร หัถกิจ, อังศุมา อภิชาโต. ประสบการณ์ของผู้ป่วยมะเร็งในการใช้สมาธิในการเยียวยาตนเอง. สงขลานครินทร์เวชสาร 2550; 25(1): 39-48.
17. Mohammed WA, Pappous A and Sharma D. Effect of Mindfulness Based Stress Reduction (MBSR) in Increasing Pain Tolerance and Improving the Mental Health of Injured Athletes [Internet]. 2018 [cited 2020 Sep 20]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5963333/pdf/fpsyg-09-00722.pdf
18. Sollgruber A, Bornemann-Cimenti H, Szilagyi I-S, Sandner-Kiesling A. Spirituality in pain medicine: A randomized experiment of pain perception, heart rate and religious spiritual well-being by using a single session meditation methodology [Internet]. 2018 [cited 2020 Sep 20]. Available from: https://pdfs.semantic scholar.org/f829/1e265128bdce3e8bb86f5dd6a46f 38251b02.pdf
19. Duncan LG, Cohn MA, Chao MT, Cook JG, Riccobono J and Bardacke N. Benefits of preparing for childbirth with mindfulness training: a randomized controlled trial with active Comparison [Internet]. 2017 [cited 2020 Sep 20]. Available from: https://centerhealthyminds.org/assets/files-publications/DuncanBenefitsofPre paring.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31