การประเมินการส่งตรวจการทำงานของไทรอยด์ ตามแนวทางของสมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย พ.ศ.2556 ในการวินิจฉัยไทรอยด์เป็นพิษ ในโรงพยาบาลวังสะพุง

ผู้แต่ง

  • นพปฎล เทียนสว่าง กลุ่มงานการแพทย์ โรงพยาบาลวังสะพุง จังหวัดเลย

คำสำคัญ:

ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ, การวินิจฉัย, การตรวจการทำงานของไทรอยด์

บทคัดย่อ

      การตรวจประเมินการทำงานของต่อมไทรอยด์ นำมาใช้ในการวินิจฉัยภาวะไทรอยด์ทำหน้าที่ผิดปกติ การติดตามการรักษาโรคของไทรอยด์ การรักษาโรคไทรอยด์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเจาะเพื่อวินิจฉัยไทรอยด์เป็นพิษ โรงพยาบาลวังสะพุงได้นำแนวทางการวินิจฉัยไทรอยด์เป็นพิษของสมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย เรื่อง ภาวะความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ พ.ศ.2556 ลงสู่การปฏิบัติ ซึ่งแนะนำให้ตรวจ Thyroid stimulating hormone (TSH) ในรายที่อาการไม่ชัดเจน ตรวจ Free thyroxine (FT4) และ TSH ในรายที่มีอาการชัดเจน เพื่อลดการตรวจที่ไม่จำเป็นที่ตรวจโดยเจาะทั้ง TSH, FT3 (หรือT3), FT4 ในภาพรวม โดยเริ่มจัดทำแนวทางปฏิบัติในโรงพยาบาลวังสะพุงในปีพ.ศ.2558 และจัดตั้งคลินิกไทรอยด์ในปีพ.ศ.2560

       งานวิจัยเชิงพรรณนาย้อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์จากการวางระบบในการปรับแนวทางวินิจฉัยการประเมินและประเมินซ้ำของภาวะผิดปกติของฮอร์โมนไทรอยด์ในโรงพยาบาลวังสะพุง ทำการวิจัยเดือนพฤศจิกายน 2563 โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาลตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 ถึง 2562 เปรียบเทียบแบบแผนการส่งตรวจประเมินการทำงานของต่อมไทรอยด์ แบบตรวจทั้ง Thyroid stimulating hormone (TSH), Free thyroxine (FT4) และ triiodothyronine (T3) หรือ Free triiodothyronine (FT3) เปรียบเทียบกับการส่งตรวจทั้งหมดร่วมกับประเมินค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากการนำแนวทางเวชปฏิบัติของสมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทยลงสู่แนวทางของโรงพยาบาลในปีงบประมาณ 2558 ร่วมกับมีการกระตุ้นการนำแนวทางปฏิบัติไปใช้ในงานผู้ป่วยนอก และจัดตั้งคลินิกไทรอยด์ในงานทำงานเฉพาะในปี 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

       ผลการศึกษาจำนวนผู้ป่วยไทรอยด์ที่เข้ารับบริการในช่วงเวลาปีงบประมาณ 2556 – 2562 มีจำนวน 4,749 คน ได้รับการเจาะเลือดประเมินการทำหน้าที่ไทรอยด์ 12,167 ครั้ง สัดส่วนการเจาะตรวจ TSH, FT4 และ FT3 หรือ T3 เปรียบเทียบกับการเจาะตรวจทั้งหมด ก่อนทำแนวทางปฏิบัติในโรงพยาบาลเท่ากับร้อยละ 36.80 หลังจัดทำแนวทางปฏิบัติในโรงพยาบาลเท่ากับร้อยละ 22.79 และหลังจัดตั้งคลินิกไทรอยด์เท่ากับร้อยละ 20.88 ค่าใช้จ่ายในการส่งตรวจแต่ละครั้งก่อนจัดทำแนวทางปฏิบัติในโรงพยาบาล ใช้ค่าตรวจเฉลี่ย 350.23 บาท/ครั้ง หลังจัดทำแนวทางปฏิบัติในโรงพยาบาลเท่ากับ 314.40 บาท/ครั้ง หลังจัดตั้งคลินิกไทรอยด์ 288.60 บาท/ครั้ง แต่มูลค่าโดยรวมสูงขึ้นเนื่องจากมีการเจาะประเมินการทำงานของต่อมไทรอยด์มากขึ้นจากเฉลี่ย 1,356 ครั้ง/ปี (ปีงบประมาณ 2556-2557) เป็น 1,598 ครั้ง/ปี หลังจากจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติ (ปีงบประมาณ 2558-2559) และเป็น 2,087 ครั้ง/ปี หลังจัดตั้งคลินิกไทรอยด์ ในปีงบประมาณ 2560-2562 สรุปการนำแนวทางเวชปฏิบัติในการคัดกรองภาวะคอพอกเป็นพิษตามคำแนะนำภาวะผิดปกติของต่อมไทรอยด์ พ.ศ.๒๕๕๖ สามารถลดการเจาะประเมินการทำงานของต่อมไทรอยด์ที่ไม่จำเป็นได้ แต่มูลค่าการส่งเพิ่มสูงขึ้นเพราะมีการตรวจประเมินในกลุ่มประชากร และติดตามการทำงานของต่อมไทรอยด์บ่อยขึ้น

 

References

1. Ceccarini G., Santini F., Vitti P. Tests of Thyroid Function. In: Vitti P., HegedÜs L, editors. Thyroid Diseases. Endocrinology. Springer, Cham 2017: 1-23.
2. George J. Kahaly, Luigi Bartalena, Lazlo Hegedüs. 2018 European Thyroid Association Guideline for the Management of Graves’ Hyperthyroidism. Eur Thyroid J 2018; 7: 167-86.
3. Vanderpump M, Ahlquist J, Franklyn J. Consensus statement for good practice and audit measures in the management of hypothyroidism and hyperthyroidism. BMJ 1996; 313(31): 539-544.
4. Michael T. Sheehan. Biochemical Testing of the Thyroid: TSH is the Best and, Oftentimes, Only Test Needed–A Review for Primary Care. Clin Med Res 2016; 14(2): 83-92.
5. สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับภาวะไทรอยด์เป็นพิษ. ใน: ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์, บรรณาธิการ. คำแนะนำสำหรับภาวะผิดปกติของต่อมไทรอยด์ พ.ศ.๒๕๕๖. กรุงเทพ: กรุงเทพเวชสาร; 2556. หน้า 8-20.
6. Eggertsen R1, Petersen K, Lundberg PA. Screening for thyroid disease in a primary care unit with a thyroid stimulating hormone assay with a low detection limit. BMJ 1988; 17:297(6663): 1586-92.
7. Martin I. Surks, Inder J. Chopra, Cary N. Mariash. American Thyroid Association Guidelines for Use of Laboratory Tests in Thyroid Disorders. JAMA 1990; 263(11): 1529-32.
8. สุทิน ศรีอัษฎาพร. ภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนเป็นพิษและฮัยเปอร์ธัยรอยดิสซึม. ใน: เอกสารประกอบการอบรมระยะสั้นเพื่อการศึกษาต่อเนื่อง 13th CME Course โครงการอายุรศาสตร์สัญจร ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ 22-24 พ.ย. 2549; ณ โรงแรมริมปาว จังหวัดกาฬสินธุ์. กาฬสินธ์; 2549. หน้า 232-275.
9. Graham H, Geoffrey J, Jayne F. Hyperthyroidism. UK Guidelines for the Use of Thyroid Function Tests Jul 2006; 32-38.
10. De Los Santos, StarichGH, Mazzaferri EL. Sensitivity, specificity,and cost-effectiveness of the sensitive thyrotropin assay in the diagnosis of thyroid disease in ambulatory patients. Arch Intern Med 1989; 149(3): 526-32.
11. Ross, Douglas S., Burch, Henry, B., Cooper, David S., Greenlee, M Carol., Laurberg, Peter, Maia, Ana Luiza, et al. David S Cooper. 2016 American Thyroid Association Guidelines for Diagnosis and Management of Hyperthyroidism and Other Causes of Thyrotoxicosis. Thyroid 2016; 26 (10): 1343-1421
12. Panchavinnin P, Preechasuk L, Kunavisarut T. Prevalence of T3 Toxicosis in Thai Patients with Thyrotoxicosis. J Med Assoc Thai 2018: 101(8): 1055-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31