ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลบ้านจั่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ ทาแจ้ง มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • จุฑารัตน์ เสาวพันธ์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • ฉวีวรรณ อุปมานะ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • ผาณิต คำหารพล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลิ้งคำ
  • ปราณี ปัดชาสี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลิ้งคำ

คำสำคัญ:

ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม, สมองเสื่อม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาศึกษาข้อมูลแบบตัดขวาง เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลโดยทั่วไปและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องต่อภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในเขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต.บ้านจั่น อ.เมือง จ.อุดรธานี เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม 2562 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม จำนวน 80 คน โดยใช้โปรแกรม G*Power เครื่องมือที่ใช้ คือ (1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป โดยค่าความเที่ยงตรง (IOC) ผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน เฉลี่ยเท่ากับ 0.76 ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.80 (2) แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถามและ 9 คำถาม และ 3) แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย (MMSE-Thai 2002) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน (Spearman rank correlation coefficient)

       ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม จำนวน 80 คน เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65 เพศชาย ร้อยละ 35 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 60-69 ปี ร้อยละ 50 เรียนหนังสือทุกคน ร้อยละ 100 ไม่มีภาวะเสี่ยงโรคซึมเศร้า ร้อยละ 100 โดยปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องต่อภาวะสมองเสื่อมทางบวกระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อาชีพกับชนิดอาชีพที่ทำในปัจจุบัน (r = 0.93, p < 0.01) รายได้ต่อเดือนกับการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด (r = 0.86, p < 0.01) โรคประจำตัวกับดัชนีมวลกายเกิน (r = 0.86, p < 0.01) และระดับการศึกษากับโรคประจำตัว (r = 0.86, p < 0.01) สำหรับผลประเมินจากแบบสอบถามสภาพสมองเบื้องต้น (MMSE-2002) พบว่า มีผู้สูงอายุเรียนระดับประถมที่สงสัยภาวะสมองเสื่อม โดยมีคะแนนจุดตัด ≤17 จำนวน 5 คน ร้อยละ 7.5 และผู้สูงอายุเรียนระดับสูงกว่าประถมศึกษาที่สงสัยภาวะสมองเสื่อม โดยมีคะแนนจุดตัด ≤22 จำนวน 1 คน ร้อยละ 7.1 โดยสรุป พบว่า มีผู้สูงอายุที่สงสัยภาวะสมองเสื่อม จำนวน 6 คน ร้อยละ 7.5 จากจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด ผลการศึกษานี้ทำให้ทราบปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องต่อภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุนำสู่การวางแผนแก้ไขปัญหากับทีมสุขภาพต่อไป

 

References

1. World Health Organization. Dementia [Internet]. 2020 [cited 2021 Feb 10]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/dementia
2. กรมสุขภาพจิต. ข้อมูลจากระบบระบบศูนย์กลางการให้บริการผู้ป่วยจิตเวชของประเทศไทย กรมสุขภาพจิต [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www. dmh.go.th/report/data center/dmh
3.Anuja, P., Venugopalan, V., Darakhshan, N., Awadh, P., Wilson, V., Manoj. et al. Rapidly progressive dementia: An eight year (2008–2016) retrospective study. PLOS ONE 2018;13(1), e0189832. doi.org/10.1371/journal.pone.0189832
4. Devore, E. E., Grodstein, F., van Rooij, F. J., Hofman, A., Stampfer, M. J., Witteman, J. C., Breteler, M. M. Dietary antioxidants and long-term risk of dementia. Archives of neurology 2010; 67(7): 819-825.
5.Tinelli, C., Di Pino, A., Ficulle, E., Marcelli, S., Feligioni, M. Hyperhomocysteinemia as a Risk Factor and Potential Nutraceutical Target for Certain Pathologies. Front. Nutr 2019. doi.org/10.3389/fnut.2019.00049
6. ชัชวาล วงค์สารี, ศุภลักษณ์ พื้นทอง. ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ: การพยาบาลและการดูแลญาติผู้ดูแล. ว. มฉก.วิชาการ 2561; 22(3): 166-179.
7. ภานุชนาถ พูสี, โสภิณ แสงอ่อน, พัชรินทร์ นินทจันทร์. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. ว.การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2562; 33(1): 18-35.
8. ศิริกุล การุณเจริญพาณิชย์. ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมและการพยาบาล: บทบาทที่ท้าทายของพยาบาล. ว.พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558; 25(1): 1-12.
9. ขวัญเรือน ก๋าวิตู, สุคนธา ศิริ, ดุสิต สุจิรารัตน์, ศรุตพันธ์ จักร์พันธุ์ ณ อยุธยา. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ จังหวัดลำปาง. 34th The National Graduate Research Conference 2556; 915-923.
10.Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., Lang, A.-G. Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods 2009; 41(4),1149–1160. doi.org/10.3758/BRM.41.4.1149
11. สถาบันประสาทวิทยา. แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2551.
12. Kuiper JS, Zuidersma M, Oude Voshaar RC, Zuidema SU, van den Heuvel ER, Stolk RP, et al. Social relationships and risk of dementia: a systematic review and meta-analysis of longitudinal cohort studies. Ageing Res Rev 2015; 22: 39–57
13. สุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. การป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ. ว.การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561; 36(4): 6-14.
14. Scazufca M, Almeida OP. and Menezes P.R. The role of literacy, occupation and income in dementia prevention: the Sao Paulo Ageing & Health Study (SPAH). International Psychogeriatric Association 2010;1-7. doi: 10.1017/S104 161021000 1213
15. เอมอร แสงศิริ, ดวงกมล วัตราดุลย์, สุธานิธิ กาญจนกุล, ศรีรัตน์ ณัฐธำรงกุล, สถิตพร นพพลับ, สอาด วงศ์อนันต์นนท์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ. ว.พยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2558; 26(1): 104-118.
16. สุพิณญา คงเจริญ. โรคอ้วน: ภัยเงียบยุคดิจิทัล. ว.วิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย 2560; 11(3): 22-29.
17. อาทิตยา สุวรรณ์, สุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2559; 5(2): 21-32.
18. Katzman, R. Education and the prevalence of dementia and Alzheimer’s disease. Neurology 1993; 43(1): 13–20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31