ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ของนักศึกษาพยาบาลในเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย ยืนยาว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์*
  • ไวยพร พรมวงค์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์*
  • กัลยารัตน์ คาดสนิท วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น*

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19), นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ของนักศึกษาพยาบาลในเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลในเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 602 คน โดยกำหนดตัวอย่างด้วยสูตรเครซี่และมอร์แกนใช้เครื่องมือในการวิจัย 4 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้ เรื่อง การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) แบบสอบถามทัศนคติการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) กับด้านความรู้และด้านทัศนคติการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) โดยการทดสอบไควสแควร์ (Pearson’s Chi – square test)

      ผลการวิจัยพบว่า ด้านความรู้เรื่องการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) มีคะแนนเฉลี่ย 12.86 คะแนน (SD 1.18) ซึ่งอยู่ในระดับสูง ด้านทัศนคติมีคะแนนเฉลี่ย 4.65 คะแนน (SD 0.35) ซึ่งอยู่ในระดับสูง และด้านพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) มีคะแนนเฉลี่ย 4.25 คะแนน     (SD 0.47) ซึ่งอยู่ในระดับเหมาะสม การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ความรู้และทัศนคติการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.033 และ p <0.001 ตามลำดับ) การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะสำหรับนักศึกษาพยาบาลในการเสริมสร้างความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และควรถ่ายทอดสู่ครอบครัวและชุมชนเกิดความเข้มแข็งและความยั่งยืนในการดูแลสุขภาพต่อไป

Author Biographies

ธวัชชัย ยืนยาว , วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์*

*คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

 

ไวยพร พรมวงค์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์*

*คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

 

กัลยารัตน์ คาดสนิท , วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น*

*คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

 

References

1. World Health Organization. Novel Coronavirus (COVID-19) Advice for the Public [Internet]. 2020 [cited 2020 May 29]. Available form: https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-corona virus-2019/advice-for-public
2. มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ภาควิชาจุลชีววิทยา. ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่2019 (novel coronavirus 2019, 2019-nCoV) [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 28 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1410
3. กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 29 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia
4. Johns Hopkins University& medicine. COVID-19 Basics [Internet]. 2020 [cited 2020 May 29]. Available form https://www.aamc.org/coro navirus-covid-19-clinical-guidance-repository
5. กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์ โควิด-19 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 29 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.ddc.moph.go.th.https://coro navirus.jhu.edu/#covid-19-basics.
6. กระทรวงสาธารณสุข. สถาบันพระบรมราชชนก. ยุทธศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก ปี พ.ศ. 2560 – 2564. นนทบุรี: กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
7. Schwartz, N. E. Nutritional knowledge, attitude and practice of high school graduated. Journal of the American Dietetic Association 1975; 66(1): 28-31.
8. Krejcie, R.V., D.W. Morgan. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30(3): 607-610.
9. มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. แพทย์โรคติดเชื้อและระบาด. ความรู้พื้นฐาน COVID-19 ตอนที่ 1 โรคโควิด-19 การติดเชื้อ การป่วย การดูแลรักษา การป้องกันการแพร่เชื้อและการติดเชื้อ. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2563.
10. สุรีย์พันธุ์ วรพงศธร. การวิจัยทางสุขศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วิฑูรย์การปก; 2558.
11. สยมพร ศิรินาวิน. โควิด-19 ไวรัส คน สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2563.
12. ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ, ทักษิกา ชัชชวรัตน์. ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. ว.วิจัยการพยาบาลและสุขภาพ 2563; 21(2): 29-39.
13. วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ตถาตาพับลิเคชั่น; 2556.
14. ธวัชชัย ยืนยาว, เพ็ญนภา บุญเสริม. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) หญิงในจังหวัดสุรินทร์.ว.การแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2563; 35(3): 555-564.
15. บุปผา พาโคกทม, ขนิษฐา วรธงชัย. สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพไทยแลนด์ 4.0 โรงพยาบาลชุมชนระดับ F1-F3. ว.การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563; 38(3): 110-118.
16. นิติพล ภูตะโชติ. พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: พับลิเคชั่นวี พริ้นท์; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31