การพัฒนาแนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ โรงพยาบาลเพ็ญ

ผู้แต่ง

  • ธมลวรรณ คณานิตย์ โรงพยาบาลเพ็ญ
  • ประจักร บัวผัน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชลการ ทรงศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนาแนวทาง, แนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพโรงพยาบาลเพ็ญ

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ โรงพยาบาลเพ็ญ ดำเนินการตั้งแต่ เดือนเมษายน ถึงเดือน สิงหาคม 2563 ขั้นตอนดำเนินการประกอบด้วย การวิเคราะห์สถานการณ์และพัฒนาแนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ การประเมินผลการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจงประกอบด้วย 3 กลุ่ม โดย กลุ่มที่ 1 จำนวน 11 คน เป็นคณะกรรมการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล ทำการวิเคราะห์สถานการณ์และยกร่างแนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพโรงพยาบาลเพ็ญ กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 คน ประกอบด้วย แพทย์ผู้รับผิดชอบการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลเพ็ญ จำนวน 1 คน และพยาบาลควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลของจังหวัดอุดรธานี จำนวน 10 คน เป็นผู้เชี่ยวชาญในการประเมินแนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ กลุ่มที่ 3 ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเพ็ญ จำนวน 80 คน เพื่อประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ดื้อยาต้านจุลชีพที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพโรงพยาบาลเพ็ญที่พัฒนาขึ้น และแบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพโรงพยาบาลเพ็ญ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของอัลฟ่าครอนบารคเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหาในข้อมูลคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

       ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพโรงพยาบาลเพ็ญที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 9 ด้าน คือ 1) การจัดสถานที่สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ 2) การจัดการผ้าที่ใช้กับผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ 3) การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ 4) การทำความสะอาดมือ  5) การสวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกายในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ 6) การควบคุมสิ่งแวดล้อม 7) การปฏิบัติตามหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากการสัมผัส 8) การเก็บสิ่งส่งตรวจผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ 9) การรับส่งต่อและการรายงานข้อมูลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ แนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ โรงพยาบาลเพ็ญที่พัฒนาขึ้น พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.36, SD 0.67) ส่วนการประเมินผลการพัฒนาแนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพโรงพยาบาลเพ็ญ พบว่า มีการปฏิบัติ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.86, SD 0.59)

 

References

1. World Health Organization. Regional strategy on prevention and containment of Antimicrobial resistance 2010-2015 [Internet]. 2011 [cited 2021 Jan]. Available from: http:// www.searo.who.int/LinkFiles/BCT-HTM-407.PDF
2. ศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ. แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 9 มกราคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.fda.moph. go.th/sites/drug/Shared%20Documents/AMR%20 การจัดการต้านจุลชีพ/แผนยุทธศาสตร์%20AMR%20 2560-2564.pdf
3. ภาณุมาศ ภูมาศ, วิษณุ ธรรมลิขิตกุล, ภูษิต ประคองสาย, ดวงรัตน์ โพธะ, อาทร ริ้วไพบูลย์, สุพล ลิ้มวัฒนานนท์. ผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐศาสตร์จากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย: การศึกษาเบื้องต้น. ว.วิจัยระบบสาธารณสุข 2555; 6(3): 352-360.
4. คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรงพยาบาลเพ็ญ. รายงานการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลเพ็ญ (2560-2562). โรงพยาบาลเพ็ญ; 2562.
5. Hanberger, H., Walther, S., Leone, M., Barie, P.S., Rello, J., Lipman, J. et al. Methicillin-resistant Staphylococus aureus ( MRSA ) in Eroup with infection control measures are taken. Infection control and hospital epidemiology 2010;38(3): 159-164.
6. อะเคื้อ อุณหเลขกะ. แนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มิ่งเมือง; 2561.
7. อะเคื้อ อุณหเลขกะ, สุชาดา เหลืองอาภาพงศ์, จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ. การป้องกันการติดเชื้อดื้อยาในหออภิบาลผู้ป่วย: Prevention of Multidrug Resistant Organism Infections in Intensive Care Units. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.
8. ปิยะฉัตร วิเศษศิริ, อะเคื้อ อุณหเลขกะ, นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาของบุคลากรพยาบาล แผนกอายุรกรรมในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. พยาบาลสาร 2558; 42(3): 119-134.
9. อิสรา สุขวัจนี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อของพยาบาลที่ปฏิบัติงานที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน. กรุงเทพฯ: สถาบันพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31