ผลของการสอนอย่างมีแบบแผนต่อความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมในการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

ผู้แต่ง

  • จีรวรรณ์ ประชุมฉลาด โรงพยาบาลปราสาท จังหวัดสุรินทร์
  • ภาวิณี แพงสุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

การสอนอย่างมีแบบแผน, ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย, การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง, planed teaching program, End stage renal disease, chronic kidney disease, continuous ambulatory peritoneal dialysis

บทคัดย่อ

           การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอนอย่างมีแบบแผนต่อความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมในการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง จำนวน 20 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการสอนอย่างมีแบบแผนและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง ทั้ง 3 ฉบับ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ ได้ค่า CVI=1 เท่ากัน ค่าความเที่ยงได้ค่า KR-21=0.70, สัมประสิทธิ์แอลฟา      ของครอนบาค=0.90 และ 0.81 ทำการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม 2563 ถึง มกราคม 2564 ด้วยวิธีการตอบแบบสอบถามโดยวัดความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Paired T-test

           ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 55 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 25 สถานภาพสมรส/คู่ ร้อยละ 50 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 65 และมีรายได้ต่อเดือน น้อยกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 85 และพบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง ภายหลังได้รับการสอนอย่างมีแบบแผนมีค่าเฉลี่ย 22.20 (SD 4.58), 41.25 (SD 5.94) และ 62.85 (SD 9.28) ตามลำดับ คะแนนสูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีแบนแผนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.001

           ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่ารูปแบบการสอนอย่างมีแบบแผนช่วยให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมีความรู้ ทัศนคติที่ดีและเกิดพฤติกรรมการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม

 

References

1. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. เผยสถิติคนไทยติดเค็ม ป่วยโรคไตเรื้อรังกว่า 8 ล้านคน [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 30 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/ Content/51283
2. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2558.
3. ปองทิพย์ อุ่นประเสริฐ, ภาคภูมิ บำรุงราชภักดี, สมชาย ยงศิริ, สันติชัย ดินชูไทย, ตระการ ไชยวานิช. ภาวะแทรกซ้อนทางศัลยกรรมจากท่อล้างไตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการรักษาโดยวิธีทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้องถาวรที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา. บูรพาเวชสาร 2562; 6(1): 11-23.
4. เพชรรุ่ง อิฐรัตน์. การพยาบาลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องที่มีการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้อง: กรณีศึกษา 2 ราย. ว.โรงพยาบาลมหาสารคาม 2561; 15(2): 95-110.
5. Stuart S., Booth TC, Cash CJ.C., Hameeduddin A, Goode JA, Harvey C, Malhotra. A Complication of continuous ambulatory peritoneal dialysis. Radiographics 2009; 29(2): 441-460.
6. Kerschbaum J, König P and Rudnicki M. Risk factors associated with peritoneal-dialysis-related peritonitis. International Journal of Nephrology 2012; 2012(-): 1-11.
7. พนิดา เทียมจรรยา, ชมนาด วรรณพรศิริ, ดวงพร หุ่นตระกูล. การดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้องจากการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. ว.การพยาบาลแลสุขภาพ 2554; 5(3): 92-103.
8. วนิดา วิชัยศักดิ์, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย, ยิ่งยศ อวิหิงสานนท์. การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตระหว่างกลุ่มผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยการฟอกเลือดหรือการล้างไตทางช่องท้องและกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. ว.เวชศาสตร์ร่วมสมัย 2561; 62(1): 91-105.
9. วรรณคล เชื้อมงคล, สิริภา ช้างศิริกุลชัย, จิรายุทธ จันทร์มา, ชญานิศ บุญนาศักดิ์, ธนทรัพย์ ลีลาทรัพย์วงศ์. ความรู้ในการดูแลตัวเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ณ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ. ศรีนครินทร์เวชสาร 2559; 31(1): 47-58.
10. โรงพยาบาลปราสาท. ข้อมูลผู้ป่วย CAPD. สุรินทร์: โรงพยาบาลปราสาท; 2563.
11. ศศิพิมพ์ ไพโรจน์กิจตระกูล, ธีรนุช ห้านิรัติศัย, ศุภชัย ฐิติอาชากุล. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลร่วมกันต่อการดูแลร่วมกันของผู้ป่วยและครอบครัว ภาวะโภชนาการและการติดเชื้อที่แผลช่องสายออกในผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้องแบบต่อเนื่อง. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2557; 20(2): 325-340.
12. รุจิราพร ป้องเกิด, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง. ว.เกื้อการุณย์ 2559; 23(2): 165-182.
13. วัชรี รัตนวงค์, ทิพาพร จ้อยเจริญ. พฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการรักษาบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 30 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.cbh.moph.go.th/app/intranet/files/km/1507187098_12
14. Bloom B.S. Taxonomy of education objective: The classification of educational goals: Handbook II: Affective domain. New York: David Mckay; 1964.
15. ชิตชวรรณ คงเกษม, สุนีย์ ละกำปั่น, ปิยะธิดา จึงสมาน. โปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้อง. ว.พยาบาลสาธารณสุข 2560; 31(1): 75-89.
16 .อนุวัติ คูณแก้ว. สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2562.
17. สุมิตรา ชูแก้ว, ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, วรรณภา ประไพพานิช. ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตามการรับรู้ของพยาบาลในการช่วยเหลือและสร้างเสริมสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2556; 18(2): 249-158.
18. วาสนา นัยพัฒน์. ผลของการสอนอย่างมีแบบแผนโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่ต่อระดับความรู้ความตระหนักและการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ของหญิงตั้งครรภ์. ว.เวชสารแพทย์ทหารบก 2555; 65(1): 21-31.
19. รุ่งรัตน์ วีรกุล, สาคร หับเจริญ. ผลการสอนอย่างมีแบบแผนต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับยาเคมีบำบัดโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. ว.โรคมะเร็ง 2554; 31(1): 22-33.
20. วศินี สมศิริ, จินตนา ชูเซ่ง. ผลของการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถและพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่เข้ารับการทำหัตถการหลอดเลือดหัวใจโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. ว.มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2554; 3(3): 33-45.
21. ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. การใช้แบบจำลอง KAP กับการศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติการป้องกันการติดเชื้อเอช ไอ วี/เอดส์ ของคนประจำเรือไทย. ว.วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย 2556; 8(2): 84-102.
22. จิฬารัตน์ ปาณียะ, จุรี คงเพชร. ผลของการสอนอย่างมีแบบแผนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดเปิดทางเชื่อมระหว่างถุงน้ำตากับช่องจมูกแบบไม่นอนโรงพยาบาล. ว.มหาวิทยาลัยนราธิวาส 2557; 6(1): 25-35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31