ผลของการใช้แนวทางปฏิบัติในการคัดกรองประเมินสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โดยอาสาสมัครสาธารณสุข ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สังวาลย์ พิพิธพร กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลอุดรธานี
  • อรกัญญา บัวพัฒน์ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

การคัดกรองทางสุขภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบ 2 กลุ่มวัดก่อนและหลังมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการใช้แนวทางปฏิบัติในการคัดกรองประเมินสุขภาพ และความพึงพอใจหลังการใช้แนวทางปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 ใช้เวลาดำเนินการ 4 สัปดาห์ โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความรู้และกิจกรรมการใช้แนวทางปฏิบัติในการคัดกรองประเมินสุขภาพ (health screening) ประกอบด้วยกิจกรรมให้ความรู้ การอภิปรายกลุ่มย่อย แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อถอดบทเรียนจากการดำเนินงาน ประเมินภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยง การลงบันทึกการคัดกรอง (verbal screening) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งผ่านการพิจารณาด้านความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และหาค่าความเชื่อมั่น (reliability) แบบประเมินความพึงพอใจ แบบวัดความรู้เรื่องการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โดยวิธีอัลฟาของคอนบราค มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 และ 0.77 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired samples T-test และ Independent T-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

           ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคุณสมบัติของข้อมูลส่วนบุคคลไม่แตกต่างกัน หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้การตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001 เท่ากัน) และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการใช้แนวทางปฏิบัติในการคัดกรองประเมินสุขภาพโดยรวมในระดับมาก (x̄=4.30, SD 0.24) ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยครั้งนี้ควรสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการพัฒนาสมรรถนะการตรวจคัดกรองโรคไม่ติดต่อโรคเรื้อรัง ของอาสาสมัครสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขเกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

References

1. World Health Organization. The Top 10 Causes of Death [Internet]. 2017 [cited 2017 Mar 12]. Available from: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs310/en/International Diabetes
2. Federation. IDF Diabetes Atlas. 8th ed. [Internet]. 2017 [cited 2019 February 1]. Available
from: http://diabetesatlas.org/resources/2017-atl as.html
3. สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2019/11/18054
4. กรมควบคุมโรค. เปลี่ยนวิกฤตเบาหวานด้วยพลังแห่งการพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc. moph.go.th/brc/news.php?news=15591&dept code=brc
5. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.Thai National Health Examination Survey, NHES V. นนทบุรี: 2559.
6. กรมควบคุมโรค. ข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 12 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/information-statistic/non-communicable-disease-.php
7. เพชราภรณ์ คําเอี่ยมรัตน์. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองตามหลัก 3อ.2สของประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน ตำบลทุ่ม อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ. ว.วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ 2558;8(3):4-11.
8. เขตสุขภาพที่ 8 ตรวจราชการ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 22 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://r8way.moph.go.th/report-2561/รายงานประจำปี%202561.pdf
9. วิชัย เทียนถาวร. ระบบเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประเทศไทย: นโยบายสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.
10. หทัยรัตน์ กันหาชิน, เพชรไสว ลิ้มตระกูล. การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี. ว.การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563;38(3):186-195.
11. นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล. หัวข้อสถิติที่น่าสนใจสำหรับการวิจัย สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=860
12. กุลชญา ลอยหา, เด่นดวงดี ศรีสุระ, มณฑิชา รักศิลป์, ชนฏ์พงศ์ เคลือศิริ, ภัทรภร เจริญบุตร, รมณียากร มูลสิน, และคนอื่นๆ. การเสริมสร้างศักยภาพบทบาทของนักจัดการสุขภาพชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน ในเขตตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2560;24(1):1-13.
13. Bloom, Benjamin. Taxonomy of education obectives the classification of educational Goals handbook I: Cognative domain. New York: David Mckay; 1970.
14. สุภัค โรจนตัณฑ์. การพัฒนางานการคัดกรองหากลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบางสวน อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. ว.วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ 2559;3:78-86.
15. กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักงานโรคไม่ติดต่อ. ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพในประชากร [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://thaincd.com/document/file/info/non-communicable disease/Screening%20Version%20Final_291014.pdf
16. สุชาดามณี วงศ์จรัส. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้เรื่องการตรวจคัดกรองสุขภาพ สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านหนองแก ตำบลแจระแม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. ว.วิชาการเฉลิมกาญจนา 2557;1(3):78-86.
17. พัชราวรรณ จันทร์เพชร, เพชรัตน์ ศิริสุวรรณ, ฉัตรลดา ดีพร้อม. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ในเขตพื้นที่ตำบลเมืองไพร อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2563;27(1):52-61.
18. จันทร์จิรา อินจีน, วิภาพร สิทธิสาตร์, จันทิมา นวะมะวัฒน์, ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์. การพัฒนาสมรรถนะการคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน:การสังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็นระบบ. ว.วิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University 2563;12(6):1175-1191.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31