ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกในโรงพยาบาลกุมภวาปี

ผู้แต่ง

  • พิทยา พลเวียง กลุ่มงานโสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลกุมภวาปี

คำสำคัญ:

ติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึก, ปัจจัยเสี่ยง, ภาวะแทรกซ้อน

บทคัดย่อ

           การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึก ที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลกุมภวาปี ทำการเก็บข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกุมภวาปีระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ.2561 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ Chi-square test

           ผลการศึกษา พบผู้ป่วยทั้งหมด 72 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 54.2 อายุเฉลี่ย 53.5 ปี โรคประจำตัวที่พบมากที่สุดได้แก่ เบาหวานร้อยละ 30.6 อาการที่พบบ่อยที่สุด คือ ปวดบวมบริเวณลำคอ ร้อยละ 63.9 สาเหตุส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อมาจากฟัน ร้อยละ 50 ตำแหน่งที่พบการติดเชื้อมากที่สุด คือ Submandibular space ร้อยละ 44.4 ระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ยอยู่ที่ 10.3 วัน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8.4) ผลเพาะเชื้อจากหนองที่พบเชื้อมากที่สุด คือ Klebsiella pneumoniae (ร้อยละ 9.7) พบผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน 13 ราย (ร้อยละ 18.1) โดยมีผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 8 ราย (ร้อยละ 11.1) ปอดติดเชื้อ 5 ราย (ร้อยละ 6.9) และมีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ 3 ราย (ร้อยละ 4.2) ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน มีอาการกลืนเจ็บกลืนลำบาก หายใจลำบาก มีการติดเชื้อที่ตำแหน่ง Parapharyngeal space,  Retropharyngeal space หรือมีการติดเชื้อหลายช่องเยื่อหุ้ม และมีผลเพาะเชื้อจากหนองเป็น Staphylococcus aureus มีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

           สรุป การติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึก มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูง ควรเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน มีอาการกลืนเจ็บกลืนลำบาก หายใจลำบาก มีการติดเชื้อที่ตำแหน่ง Parapharyngeal space, Retropharyngeal space หรือมีการติดเชื้อหลายช่องเยื่อหุ้ม และมีผลเพาะเชื้อจากหนองเป็น Staphylococcus aureus

 

References

1 .Vieira F, Allen S, Stocks R, Thompson J. Deep neck infection. Otolaryngol Clin North Am 2008; 41(3): 459-83.
2. พิมวิชญา ซื่อทรงธรรม, สุพจน์ เจริญสมบัติอมร, จิระพงษ์ อังคะรา. การอักเสบติดเชื้อของลำคอชั้นลึกในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วชิรเวชสาร 2561; 62(5): 365-74.
3. Poeschl P, Spusta L, Russmueller G, Seemann R, Hirschl A, Poeschl E, et al. Antibiotic susceptibility and resistance of the odontogenic microbiological spectrum and its clinical impact on severe deep space head and neck infections. Oral Surg Oral Med Oral Pathol Oral Radiol Endod 2010; 110(2): 151-6.
4. อนวัช วรรธนะมณีกุล. ปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนกับผลการรักษาการติดเชื้อช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกในผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาลชัยภูมิ. ว.การแพทย์โรงพยาบาลศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2563; 35(3): 665-678.
5. Kirov G, Benchev R, Stoianov S. Complications of the deep infections of the neck. Khirurgiia 2006; (3): 28-31.
6. Chen M, Wen Y, Chang C, Huang M, Hsiao H. Predisposing factors of life-threatening deep neck infection: logistic regression analysis of 214 cases. J Otolaryngo 1998; 27(3): 141-4.
7. กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลกุมภวาปี. สถิติผู้ใช้บริการ ปี 2561-2563. อุดรธานี: โรงพยาบาลกุมภวาปี; 2563.
8. รัศมี ซิ่งเถียรตระกูล. การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช; 2550. หน้า 1-16.
9. วิชาญ จงประสาธน์สุข. การศึกษาผู้ป่วยติดเชื้อของเยื่อหุ้มชั้นลึกบริเวณคอ 127 รายในโรงพยาบาลน่าน. ลำปางเวชสาร 2554; 37(2): 42-50.
10. รัชดาพร รุ้งแก้ว. การศึกษาย้อนหลังการอักเสบติดเชื้อบริเวณช่องเยื้อหุ้มคอชั้นลึกของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา แผนกผู้ป่วยใน กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ระหว่างปี พศ. 2560-2562. ว.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2563; 2(2): 213-229.
11. กรภัทร์ เอกัคคตาจิต. ลักษณะการติดเชื้อลำคอส่วนลึกของผู้ป่วยในโรงพยาบาลบุรีรัมย์. ว.การแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2562; 34(3): 321-32.
12. Srivanitchapoom C, Sittitrai P, Pattarasakulchai T, Tananuvat R. Deep neck infection in Northern Thailand. Eur Arch Otorhinolaryngol 2012; 269(1): 241-6.
13. วุฒิเวช จรัสมานะโชติ. การศึกษาทบทวนผู้ป่วยติดเชื้อบริเวณช่องโพรงศีรษะและลำคอส่วนลึกในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช. ว.แพทย์เขต 4-5 2556; 32(3): 201-12.
14. ชวน ชีพเจริญรัตน์. ลักษณะการติดเชื้อลำคอส่วนลึกและการเสียชีวิตในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. ว. หู คอ จมูก และใบหน้า 2560; 18(1): 44-55.
15. Almutairi D, Alqahtani R, Alshareef N, Alghamdi Y, Al-Hakami H, Algarni. Deep Neck Space Infections: A Retrospective Study of 183 Cases at a Tertiary Hospital. Cureus 2020; 12(2)e6841.
16. Kauffmann P, Cordesmeyer R, Troltzsch M Sommer C, Laskawi R. Deep neck infections: A single-center analysis of 63 cases. Med Oral Patol Oral Cir Bucal 2017; 22(5): 536-41.
17. Hazegawa J, Hidaka H, Tateda M, Kudo T, Sagai S, Miyazaki M, et al. An analysis of clinical risk factors of deep neck infection. Auris Nasus Larynx 2011; 38(1): 101-7.
18. Joon-Kyoo L, Hee-Dae K, SangChul L. Predisposing Factors of Complicated Deep Neck Infection: An Analysis of 158 Cases. Yonsei Med J 2007; 48(1): 55-62.
19. Suetrong S, Reechaipichitkul W, Chai nansamit S, Piromchai P. Deep Neck Infection in Adults: Factors Associated with Complicated Treatment Outcomes. J Med Assoc Thai 2017; 100(8): 179-188.
20. วราลักษณ์ ยั่งสกุล, พิชญ์นาฏ ศรีเมฆารตน์. ลักษณะการติดเชื้อลำคอส่วนลึกในโรงพยาบาลพังงา. ว.วิชาการแพทย์เขต 11 2563; 34(4): 1-12.
21. บุญชัย วิรบุญชัย. การติดเชื้อบริเวณลำคอส่วนลึก. ว.การแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2552; 24(1): 173-180.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31