การสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชน ด้วยต้นกล้าพยาบาลกับครอบครัวอุปถัมภ์: กรณีศึกษาชุมชนตำบลกลันทา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ณรงค์กร ชัยวงศ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • รัชนี ผิวผ่อง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • เพิ่มพูล บุญมี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • เยี่ยม คงเรืองราช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

สุขภาวะผู้สูงอายุ, ชุมชน, ต้นกล้าพยาบาล, ครอบครัวอุปถัมภ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชนในระยะก่อนและหลังดำเนินกิจกรรมการสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชน ด้วยต้นกล้าพยาบาลกับครอบครัวอุปถัมภ์ 2) ประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนร่วม ดำเนินการวิจัยในระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ผู้เข้าร่วมวิจัยประกอบด้วย 1) ครอบครัวอุปถัมภ์ จำนวน 32 ครอบครัว โดยเป็นครอบครัวที่มีผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรัง 2) นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1 จำนวน 32 คน 3) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 และ 6 ตำบลกลันทา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 20 คน    4) พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกกลาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 2 คน 5) ผู้ใหญ่บ้าน 2 คน หมู่ 2 และหมู่ 6 และ 6) อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นประจำตำบลกลันทา 1 คน ดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอน ประกอบด้วยขั้นที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชน ขั้นที่ 2 การวางแผนกิจกรรม ขั้นที่ 3 การดำเนินงานตามแผน ขั้นที่ 4 การสะท้อนการปฏิบัติกิจกรรม และขั้นที่ 5 การประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินสุขภาวะผู้สูงอายุแบบองค์รวม 4 ด้าน ได้แก่ สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิตใจ สุขภาวะทางสังคม สุขภาวะทางปัญญา 2) แบบประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติในการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชนและ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนร่วม ค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือทั้ง 3 ฉบับ (IOC) มีค่ามากกว่า 0.60 ทุกข้อ วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ตามวิธีของ Cronbach’s Alpha Coefficient ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.94, 0.98 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติ T-test กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้กระบวนการตีความเพื่อการวิเคราะห์เนื้อหา

               ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม มีคะแนนการรับรู้สุขภาวะของตนเองสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิตใจ สุขภาวะทางสังคม สุขภาวะทางปัญญาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชนของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄=4.48, SD 0.56) เมื่อพิจารณาทักษะรายด้านที่สูงที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม รองลงมาคือ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ ตามลำดับ 3) ความพึงพอใจของเครือข่ายชุมชนและครอบครัวอุปถัมภ์ ต่อกิจกรรมการสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชนด้วยต้นกล้าพยาบาลอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.76, SD 0.33)

               จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า กิจกรรมการสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชน ด้วยต้นกล้าพยาบาลกับครอบครัวอุปถัมภ์สามารถเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุได้ อีกทั้งยังช่วยพัฒนานักศึกษาให้เกิดผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติรวมถึงคนในชุมชนรู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะช่วยสร้างและผลิตบัณฑิตพยาบาลเพื่อรับใช้สังคมตามความคาดหวังชุมชนต่อไป

References

1. อติญาณ์ ศรเกษตริน, ดาราวรรณ รองเมือง, รุ่งนภา จันทรา. การศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21: สมรรถนะและบทบาทของอาจารย์พยาบาล. ว.พยาบาลทหารบก 2562; 20(1): 12-20.
2. Panich V. Transformative learning. Bangkok: S.R. Printing Mass product; 2015.
3. Flecky, K. Foundations of service learning. Jones and Bartlett [Internet]. 2011 [cited 2020 Jun 14]. Available from: http://samples.jbpub.com/97807637595 82/59582
4. ภูษณิศา มีนาเขตร, สิริทรัพย์ สีหะวงษ์. ผลของการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการใช้ Courseville ในรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพต่อการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล. ว.สุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2562; 25(1): 74-87.
5. Cohen, J.M., Uphoff, N.T. Rural development participation: Concept and measures for project design implementation and evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies. Cornell: Cornell University; 1981.
6. เกษม สุวัณโณ. การศึกษาสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตชุมชนท่าอิฐ วัดแสงสิริธรรม ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2560.
7. ประคอง กรรณสูต. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์; 2542.
8. ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ, สุรีย์ ธรรมิกบวร, สุรสม กฤษณะจูฑะ. โรงเรียนผู้สูงอายุกับการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในชุมชนท้องถิ่นอีสาน. ว.สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร 2560; 14(1): 134-162.
9. กาญจนา แก้วเทพ. การสื่อสารกับสังคมผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย; 2554.
10. ศิราณีย์ อินธรหนองไผ่, จุฑามาศ คชโคตร. ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชุมชน หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. ว.พยาบาลตำรวจ 2560; 9(2): 104-114.
11. อัศนี วันชัย, ชนานันท์ แสงปาก, ยศพล เหลืองโสมนภา. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิดในการศึกษาพยาบาล. ว.วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2560; 11(2): 105-115.
12. ดวงฤดี ลาศุขะ, ทศพร คำผลศิริ, กนกพร สุคำวัง, โรจนี จินตนาวัฒน์. การพัฒนาศักยภาพผู้นำในการสร้างเสริมกระบวนการพัฒนาสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงอายุในชุมชน. ว.สภาการพยาบาล 2554; 26(พิเศษ): 59-68.
13. อติญาณ์ ศรเกษตริน, ชุลีพร เอกรัตน์, ชไมพร จินตคณาพันธ์, อรวรรณ สัมภวมานะ. การพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง: กรณีศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2558; 21(1): 110-121.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30