ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาใหม่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร

ผู้แต่ง

  • ดลณชา อิสริยภานันท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • นวลใย พิศชาติ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร

คำสำคัญ:

ความเครียดการจัดการความเครียดนักศึกษาใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาใหม่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2563 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร จำนวน 107 คน เก็บข้อมูลโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามเรื่องความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาใหม่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความเครียด (SPST-20) จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น = 0.80 และแบบสอบถามการจัดการความเครียดจำนวน 17 ข้อ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ค่าความเชื่อมั่น =0.07 ค่า CVI=1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา

            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 93.45 มีความเครียดในระดับปานกลางร้อยละ 38.87 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดกับกลุ่มตัวอย่างมากที่สุดคือการไปไม่ถึงเป้าหมายที่กำหนด โดยมีความเครียดในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 63.55 ข้อกลัวทำงานผิดพลาดเป็นข้อที่มีความเครียดระดับปานกลาง พบมากถึงร้อยละ 48.59 และข้อปวดตึงกล้ามเนื้อเป็นข้อที่มีความเครียดระดับน้อยคือ พบร้อยละ 53.27 ในด้านการจัดการความเครียดของนักศึกษาใหม่ คณะพยาบาลศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.73) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการจัดการความเครียดในระดับสูงในหัวข้อจัดการความเครียดโดยพยายามระบายความเครียดหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการฟังเพลง/เล่มเกมส์/ดูหนัง และให้กำลังใจตัวเองว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะดีขึ้น (ค่าเฉลี่ย 3.44 เท่ากัน)

            ข้อเสนอแนะ ควรมีการติดตามความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาใหม่ โดยให้คำแนะนำการจัดการความเครียดที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยติดตามในชั่วโมงการพบอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นประจำทุกเดือน

References

1. พรพิมล ขจรภพ, พิสมัย สอนลำ, ราตรี แมนไธสง. ความสุข ความเครียด และสาเหตุความเครียด ของนิสิตเภสัชศาสตร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ว.เภสัชศาสตรอีสาน 2557; 9: (ฉบับพิเศษ): 180.
2. Lazarus, R.S., Folkman,S. Stress appraisal and coping. New York: Springer; 1984.
3. Limthongkul, M., Aree-Ue S. Sources of Stress, Coping Strategies, and Outcomes among Nursing Students during their Initial Practice. Rama Nurse Journal 2009;15(2): 192-205.
4. ณรงค์กร ชัยวงศ์. ใน: ประชุมวิชาการและนำเสนองานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 10 เรื่อง “การพัฒนางานวิจัย สร้างสรรค์สู่นวัตกรรม Thailand 4.0”; วันที่ 4-5 พฤศจิกายน 2560; ณ อาคารคณะทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ปทุมธานี; 2560.
5. Craven, R.F., Hirnle, C.J. Fundamental of nursing: Human health and functions. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2013.
6. พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 เข้าถึงได้จาก http://www.tnmc.or.th
7. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบวัดความเครียดกรมสุขภาพจิต (SPST - 20). [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 เข้าถึงได้จาก http://www.dmh.go.th
8. สุพาณี วรรณสา, นิธิตา ธารีเพียร. ศึกษาความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยปทุมธานี. ใน: ประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 6 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยปทุมธานี; 2562.
9. กัญญาณัฐ เพ็ชรผ่อง, จุฑามาศ เทพพพิทักษ์, ทรรศนีย์ บังมาต, ทิพวรรณ คำล้าน, ธัญญารัตน์ พูนทองเสน, ธาดารัตน์ ล่ำสวย, และคนอื่นๆ. ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30