การดำเนินงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อที่มีประสิทธิภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • กิ่งเพชร ชินศิรประภา โรงพยาบาลศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อที่มีประสิทธิภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อที่มีประสิทธิภาพของ รพ.สต. อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภูเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทัศนคติ ด้านการบริหาร ด้านการมีส่วนร่วม และด้านการสนับสนุน และข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านความถูกต้อง และด้านความพึงพอใจ ในกลุ่มผู้อำนวยการ รพ.สต.จำนวน 17 คน กลุ่มผู้รับผิดชอบงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อใน รพ.สต. จำนวน 17 คน และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานอื่นใน รพ.สต.จำนวน 104 คน ระยะเวลาในการศึกษา เดือนธันวาคม 2563 – เดือนกุมภาพันธ์ 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยการดำเนินงานกับประสิทธิภาพการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อของ รพ.สต

          ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการดำเนินงานฯ และประสิทธิภาพการดำเนินงานฯ ว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และปัจจัยของการดำเนินงานฯ ในทุกด้านมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับประสิทธิภาพของการดำเนินงานฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และพบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นตรงกันว่ามีความเหมาะสมเป็นลำดับสุดท้าย คือในปัจจัยการดำเนินงานฯ ด้านการมีส่วนร่วม เรื่องของการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ร่วมกันของ รพ.สต.ทุกแห่งในอำเภอฯ และในปัจจัยด้านความรู้เรื่องการทบทวนความรู้การดำเนินงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อของเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ร่วมกัน ภายในแต่ละ รพ.สต.

          ข้อเสนอแนะควรมีแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อที่มีประสิทธิภาพ ควรกำหนดให้มีการทบทวนความรู้การดำเนินงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ของเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ร่วมกัน ภายในแต่ละ รพ.สต. เป็นระยะและทุกครั้งที่พบปัญหา จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ร่วมกันของ รพ.สต.ทุกแห่งในอำเภอเป็นประจำทุกปี กระตุ้น และส่งเสริม ให้กลุ่มผู้ปฏิบัติอื่นใน รพ.สต.ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ของ รพ.สต. และมีหลากหลายวิชาชีพ ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และเข้ามาร่วมในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อมากยิ่งขึ้นและให้มีการดำเนินงานในรูปแบบของโซนที่มีกำหนดไว้ อันเป็นการสร้างระบบเครือข่ายในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ

References

1. กรองกาญจน์ สังกาศ. การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ: บทบาทพยาบาลควบคุมการติดเชื้อ. จุลสารชมรมควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย. 2537; 3(2), 63 – 68.
2. อะเคื้อ อุณหเลขกะ. ระบาดวิทยาและแนวปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล. เชียงใหม่. โรงพิมพ์มิ่งเมือง; 2556.
3. มนสิช สิทธิสมบูรณ์.ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 8. พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2550.
4. ศิริพร จีระศักดิ์ และคณะ.การพัฒนาเครือข่ายพยาบาล/ผู้รับผิดชอบงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ/ในการควบคุมการติดเชื้อใน รพ.สต. จังหวัดเชียงใหม่. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2558.
5. ลินจง บุญถนอม. ผลการจัดการแบบมีส่วนร่วมต่อคุณภาพงาน IC ของ รพ.สต. เครือข่ายโรงพยาบาลบ้านโป่ง. TUH Journal online Volume 2 No.3 September – December 2017; 2560
6. วิลาวัลย์ พิเชียรเสถียร. การพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อ เล่มที่ 1. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. พิมพ์ลักษณ์ ; 2542.
7. ประชาภรณ์ ทัพโพธิ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพ รพ.สต.จังหวัดนครปฐม. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน] คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน; 2557.
8. องค์การถ่ายทอดความรู้และเป็นส่วนร่วมกับงานวิจัยโปรตอนจากทวีปยุโรป. Knowleadge Transfer.
[อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2563].เข้าถึงได้จาก http://www.protoneurope.org>; 2560.
9. วรเดช จันทรศร. ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ. หนังสือในโครงการตำราสมาคมนักวิจัยมหาวิทยาลัยไทย; 2552.
10. จารุณี รามัน. POSDC: หลักการบริหารจัดการยุคคลาสสิคยังคงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรได้ดีในยุคปัจจุบัน. [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2563] เข้าถึงได้จาก http://th.hrnote.asia>orgdevelopment .
11. ภคปภา รัตนภักดี.การพัฒนาระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อใน รพ.สต. เครือข่ายโรงพยาบาลห้วยพลู.[อินเทอร์เน็ต]. 2557. [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2563] เข้าถึงได้จาก http://www.huayploohospital.com> data_km/2015090154.pdf.
12. สันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์. สาระสำคัญของการมีส่วนร่วมของบุคลากร. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์; 2551.
13. กัลยาณี มุลทา. การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อใน รพ.สต.ไค้นุ่น. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์; 2560.
14. จุรีรัตน์ ฐิตวังโส.การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อใน รพ.สต.จังหวัดพังงา.วารสารสุขภาพภาคประชาชนภาคใต้ 2562; 2: 21 -30.
15. วราภรณ์ ประทุมนันท์. รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการแบบบูรณาการงาน IC ใน รพ.สต.เครือข่าย
โรงพยาบาลขอนแก่น ที่ประสบความสำเร็จและนำสู่ความยั่งยืน.[อินเทอร์เน็ต]. 2554.[เข้าถึงเมื่อ 12 ตุลาคม 2563].เข้าถึงได้จาก http://www.wongkarnpat.com/view pat.php?id=1530.
16. สถาบันบำราศนราดูร.คู่มือปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.
17. งาน IC รพ.ศรีบุญเรือง. รายงานสรุปผลการนิเทศติดตามการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อใน รพ.สต.อำเภอศรีบุญเรือง. โรงพยาบาลศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู; 2563.
18. รชฏ ชยสดมภ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ พฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดีขององค์การ และความผูกพันต่อองค์การ: กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์แห่งหนึ่ง. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสาตร์; 2550.
19. มัณฑนา ศิริเอก. ทัศนคติมีผลต่อพฤติกรรมในองค์การอย่างไร. [อินเทอร์เน็ต]. 2551. [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www.jub pub.com/articles/showarticle.asp?id=2298.
20. วิโรจน์ สารรัตนะ. การบริหาร หลักการ ทฤษฎีประเด็นทางการศึกษา และบทวิเคราะห์. องค์การศึกษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พิมพ์พิสุทธิ์ ; 2545.
21. พัณศา คดีพิศาล. ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของพนักงานบริษัทเวิลด์พลาสจำกัด และบริษัทในเครือ. [ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์] มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2553.
22. สนธยา พลศรี. เครือข่ายของการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ.โอเดียนสโตร์; 2550.
23. วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การวิเคราะห์เปรียบเทียบความหมายของการบริหาร การจัดการ การบริหารการพัฒนา และการบริหารจัดการ. กรุงเทพฯ: บริษัทเอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30