การพัฒนารูปแบบการดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุติดสังคมที่สูญเสียคู่สมรส
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุติดสังคม, การสูญเสียคู่สมรสบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาสุขภาพและความต้องการดูแลสุขภาพ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบ ตลอดจนประสิทธิผลของรูปแบบกิจกรรมการดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุติดสังคมที่สูญเสียคู่สมรส ต.ท่าบ่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ทำการเก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 กรกฎาคม – 31 ตุลาคม 2564 ดำเนินการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสภาพปัญหาทางจิตใจ, การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม และแบบสอบถามความต้องการการดูแลสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ขั้นตอนที่ 2 ศึกษารูปแบบการดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุติดสังคมที่สูญเสียคู่สมรสโดยรูปแบบ ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบจากผู้สูงอายุติดสังคมที่สูญเสียคู่สมรส จำนวน 30 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือรูปแบบ KEMISE Model และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired T-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีอาการปวดข้อเข่า ขาบั้นเอว ตามองเห็นไม่ค่อยชัด อารมณ์ซึมเศร้า ท้อแท้ใจ ไม่มีความสุขมากที่สุด เครียดและกังวลว่าจะติดเชื้อโควิด19 และกลัวการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด 19 การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมในระดับปานกลาง (x̄=2.55, SD 1.06) มีความต้องการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง (x̄=3.52, SD 0.59) โดยรูปแบบกิจกรรมการดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุติดสังคมที่สูญเสียคู่สมรส คือ KEMISE model ประกอบด้วย 1) Knowledge; การให้ความรู้ 2) Experiment; การฝึกปฏิบัติ 3) Modelling; การนำเสนอตัวแบบ 4) Individual happiness; การสร้างความสุขด้วยตนเอง 5) Sharing experience; การแบ่งปันประสบการณ์ และ 6) Empowerment home visit; การเยี่ยมบ้านแบบเสริมพลังทั้งนี้หลังใช้รูปแบบ KEMISE model ผู้สูงอายุติดสังคมที่สูญเสียคู่สมรสมีคะแนนการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบโดยทุกกิจกรรม มีความพึงพอใจในระดับดีขึ้นไป ค่าเฉลี่ยที่ระดับ 4.20 และปัจจัยความสำเร็จในการดูแลสุขภาพตนเองคือการออกกำลังกาย การทำงานอดิเรก การฝึกภาวนา การแบ่งปันประสบการณ์และการเยี่ยมบ้านดังนั้นโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ ควรนำรูปแบบดังกล่าวขยายผลสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโดยดำเนินการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม
References
2. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กรมกิจการผู้สูงอายุ. มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่องสังคมสูงอายุ(ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง; 2562.
3. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี; 2554.
4. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมิราช. สังคมผู้สูงอายุ: นัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 3 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงจาก: http://www. stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom12/05-01.html.
5. Eliopoulos C. Gerontological Nursing. 8th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2014.
6. MauK LK. Gerontological Nursing Competencies for Care. Massachusetts: Courier; 2014.
7. กิตติพร เนาว์สุวรรณ, มาริสา สุวรรณราช. สภาพปัญหาและความต้องการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ตอนล่าง. ว.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2562; 11(2): 118-132.
8. สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์. สวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในประเทศไทย. ว.เทคโนโลยีภาคใต้ 2557; 7(1): 73-82.
9. นารีรัตน์ จิตรมนตรี. ประชากรสูงอายุ: แนวโน้มและประเด็นการดูแลผู้สูงอายุ. ใน: วิไลวรรณ ทองเจริญ,บรรณาธิการ. ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.
10. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553. เล่ม 127, ตอนที่ 56 ก, หน้า 3 (ลงวันที่ 15 กันยายน 2553).
11. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามกลุ่มอายุ รายจังหวัด และภาค พ.ศ. 2554 - 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 16 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงจาก: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx
12. เจษฎา มูลยาพอ, บุญส่ง สินธุ์นอก, พระมหาปริญญา วรญาโณ, สมเดช นามเกต. การพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาในจังหวัดหนองคาย. ว.ปัญญาปณิธาน 2563; 5(2): 207-220.
13. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ. ศูนย์แพทย์ชุมชนท่าบ่อ .ข้อมูลรายงานภาวะสุขภาพผู้สูงอายุศูนย์แพทย์ชุมชนท่าบ่อ ปีงบประมาณ 2563. ท่าบ่อ: โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ; 2563.
14. กิตติพร เนาว์สุวรรณ, อุทุมพร ดุลยเกษม, ธมลวรรณ แก้วกระจก, นภชา สิงห์วีรธรรม. การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง. ว.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2562; 25(2): 181-193.
15. สรีพันธุ์ วรพงศธร. การวิจัยทางสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: วิฑรูย์การปก; 2558.
16. Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., Buchner, A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods 2007; 39(2): 175-191.
17. Hair FJ., Black CW., Babin JB., Anderson ER. Multivariate Data Analysis. 7th ed. New Jersey: Pearson Education; 2010.
18. อรสา ใยยอง, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. ภาวะซึมเศร้าและอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุจังหวัดนนทบุรี. ว.สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2554; 56(2): 117-128.
19. รสพร เพียรรุ่งเรือง, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. ปัญหาสัมพันธ์ภาพระหว่างบุคคลและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุจังหวัดพิษณุโลก. ว.สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2558; 60(1): 23-34.
20. สิริวรรณ คงทอง, วราภรณ์ คงสุวรรณ, กิตติกร นิลมานัต. ประสบการณ์ภาวะเศร้าโศกของคู่สมรสไทยพุทธของผู้ป่วยวิกฤตและตาย. ใน: การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4; วันที่ 10 พฤษภาคม 2556; ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. หาดใหญ่; 2556.
21. ศรินรัตน์ วัฒนธรนันท์. ความโศกเศร้าจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก: บทบาทพยาบาล. ว.พยาบาลสภากาชาดไทย 2560; 10(1): 13-21.
22. วรรณภา ศรีธัญรัตน์, ลัดดา ดำริการเลิศ. การจัดการความรู้และการสังเคราะห์แนวทางปฏิบัติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล: แนวทางปฏิบัติในการบริการ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยสาธารณสุข; 2553.
23. ณรงค์ ด้วงปาน. รัตน์ชนก ไตรวรรณ์, กิตติพร เนาว์สุวรรณ. การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุการเปลี่ยนผ่านจากภาวะติดบ้านไปสู่ติดสังคมในจังหวัดสงขลา. ว.สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ 2563; 26(1): 112-128.
24. ยุทธนา พูนพานชิ, แสงนภา อุทัยแสงไพศาล. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพโดยชุมชน เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ. ว.วิชาการสาธารณสุข 2557; 23(2): 226-238.
25. นวรัตน์ ไวชมภู, รัตติภรณ์ บุญทัศน์, นภชา สิงห์วีรธรรม. การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อ. ว.เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2562; 6(2): 262-269.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร