อัตราการติดเชื้อเอช ไอวี จากมารดาสู่ทารก ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ปี 2550-2562

ผู้แต่ง

  • สิริลักษณ์ รัตนแมนสรวง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง

คำสำคัญ:

การติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารก, ยาต้านไวรัส

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราการติดเชื้อเอชไอวีของทารก ที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี และวิเคราะห์เชิงลึกหาปัจจัยสำคัญเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารก วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังเชิงพรรณนา (retrospective descriptive study) โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูลเวชระเบียนของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีและทารกที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีทุกรายที่รับบริการในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2550-30 กันยายน 2562 จำนวน 75 ราย นำมาวิเคราะห์ใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) และการวิเคราะห์เชิงลึก

            ผลการศึกษา ในระยะ 12 ปีมีจำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุงทั้งหมด 11,315 คน พบความครอบคลุมการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ครั้งที่ 1 ร้อยละ 100 ครั้งที่ 2 ร้อยละ 99.9 และพบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 75 รายคิดเป็นร้อยละ 0.7 ซึ่งมีอายุในช่วง 21-35 ปี ร้อยละ 65.3 ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งคุณภาพพบร้อยละ 26.2 อายุครรภ์ขณะคลอดครบกำหนดร้อยละ 68.0 วิธีการคลอดพบคลอดปกติร้อยละ 96.0 ตรวจพบว่ามีผลการติดเชื้อเอชไอวีก่อนตั้งครรภ์ร้อยละ 37.3 ขณะตั้งครรภ์ร้อยละ 60.0 ไม่ทราบว่าติดเชื้อ (ตรวจพบตอนคลอด) ร้อยละ 2.7 ซึ่งพบในมารดาที่ไม่ได้ฝากครรภ์และปกปิดข้อมูลผลการตรวจเอชไอวี การเข้าถึงและรับยาต้านไวรัสก่อนคลอดมากกว่า 4 สัปดาห์ก่อนคลอดพบร้อยละ 88.0 รับยาน้อยกว่า 4 สัปดาห์ (ก่อนปี 2560) พบร้อยละ 6.6 รับยาน้อยกว่า 12 สัปดาห์ (ตั้งแต่ปี 2560) ร้อยละ 2.7 และไม่ได้รับยาต้านไวรัสร้อยละ 2.7 สูตรยารักษามารดาขณะตั้งครรภ์พบมากที่สุดคือ สูตรยาเป็นแบบผสมผสานร้อยละ 33.8 รองลงมาคือ สูตร AZT+3TC+LPV/r ร้อยละ 29.3 และพบว่าไม่ได้รับยาร้อยละ 2.7 การเข้ารับการรักษาและรับยาต่อเนื่องขณะตั้งครรภ์ร้อยละ 88.0 จำนวนทารกที่คลอดจากมารดาติดเชื้อเอชไอวีมีทั้งหมด 75 ราย เป็นเพศหญิงร้อยละ 54.7 เพศชายร้อยละ 45.3 น้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ย 2,768 กรัม ได้รับนมผงอย่างเดียวต่อเนื่องร้อยละ 96.0 ได้รับนมผงและนมมารดาร้อยละ 4 ได้รับการตรวจเลือดเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยวิธี PCR ครั้งที่ 1 จำนวน 74 ราย (ร้อยละ 98.7) ผลตรวจเป็นบวกจำนวน 2 ราย (ร้อยละ 2.7) ครั้งที่ 2 71 รายจาก 74 ราย (ร้อยละ 95.9) ไม่พบผลบวก ครั้งที่ 3 (เฉพาะเสี่ยงสูง 9 ราย ได้ตรวจ 8 ราย) (ร้อยละ 88.9) ผลตรวจเป็นบวก 1 ราย ร้อยละ 12.5 ตรวจยืนยันแอนตีบอดี 66 ราย ร้อยละ 90.4 พบผลตรวจเป็นบวก 1 ราย ร้อยละ 1.5 สูตรยารักษาที่ทารกได้รับแรกเกิดส่วนใหญ่เป็น AZT ชนิดน้ำร้อยละ 88 ได้รับ AZT+NVP+3TC ครบ 6 สัปดาห์ร้อยละ 10.7 และไม่ได้รับยาร้อยละ 1.3 ผลการวินิจฉัยทารกติดเชื้อเอชไอวีพบว่า ไม่ติดเชื้อแน่นอนร้อยละ 96 น่าจะติดเชื้อร้อยละ 2.7 และติดเชื้อเอชไอวีร้อยละ 1.3

            สรุปผลการศึกษา อัตราการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารกในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ปี 2550-2562 คิดเป็นร้อยละ 4.0 อัตราการเสียชีวิตของทารกที่ติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารกคิดเป็นร้อยละ 2.7 จากการศึกษาเชิงลึกพบว่า มารดาเข้าถึงการรักษาล่าช้าจากการปกปิดข้อมูลและรับยาไม่ต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารก

References

1. กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ, มนูญ ลีเชวงวงศ์, รัตนชัย เริ่มรวย. ประเทศไทยยุติปัญหาการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี เอดส์จากแม่สู่ลูก. เดลินิวส์. 3 กรกฎาคม 2559.
2. กระทรวงสาธารณสุข. กรมอนามัย. โรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2552.
3. กระทรวงสาธารณสุข. กรมอนามัย. แนวทางดำเนินงานเพื่อป้องกันจากถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกและการดูแลแม่ลูก และครอบครัวที่ติดเชื้อเอชไอวี. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2554.
4. กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย 2557.กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2557.
5. กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทยปี 2560. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2560.
6. กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค. แนวทางการตรวจวินิจฉัยรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2563. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.
7. ศูนย์พัฒนาระบบบริการยาต้านไวรัสสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย.แนวทางการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ระดับชาติ ปีพ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2553.
8. นักขัต เสาร์ทอง, ธวัชชัย คงอยู่. ผลการติดตามการใช้ยาต้านไวรัสในการป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกโรงพยาบาลแม่สาย จังหวัดเชียงราย. ว.การพยาบาลการสาธารณสุขและการติดยา 2556; 14(3): 12-23.
9. สุพรรณี เลาวหุตานนท์. อัตราการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารกในโรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ว.สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2556; 3(1): 55-61.
10. ทิพวัลย์ ลิ่มลิขิต. อัตราการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารก ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ปีงบประมาณ 2556-2559. ว.โรงพยาบาลมหาสารคาม 2559; 13(3): 11-21.
11. จุฑาทิพย์ ธรรมวินิจฉัย, ทวีวงศ์ ตันตราชีวธร. ความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารกที่คณะ
แพทยศาสตร์วชิรพยาบาล. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2564; 65(1): 84-94.
12. Dinh TH, Mushavi A, Shiraishi RW, Barr BT, Balachandra S, Shambira G, et al. Impact of timing of antiretroviral treatment and birth weight on mother-to-child human immunodeficiency virus transmission: Findings from an 18-month prospective cohort of a nationally representative sample of mother–infant pairs during the transition from option A to option B+ in Zimbabwe. Clin Infect Dis 2018; 66(4): 576-85.
13. กัลยา วานิชย์บัญชา. สถิติสาหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
14. World Health Organization. Antiretroviral drugs for treating pregnant women and preventing HIV infection in infants, 2010 .Recommendation for a public health approach. Geneva: Switzerland; 2010.
15. แสงเดือน กิ่งแก้ว, วันทนา มณีศรีวงศ์กูล, พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรพฤติกรรมสุขภาพกับความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสของผู้ติดเชื้อเอชไอวี. ว.พยาบาลสาธารณสุข 2556; 29(1): 14.
16. UNAIDS. It takes a village: Ending Mother to Child HIV Transmission-a partnership uniting the millennium villages project and UNAIDS; 2010.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30