ชุดกิจกรรมพัฒนาสมองแบบผสมผสานภูมิปัญญาชุมชนต่อการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ชุมชนตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ณรงค์กร ชัยวงศ์ กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • ณิชาภัทร มณีพันธ์ กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • ปัณณทัต บนขุนทด สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • กัญปะนา ภาพยนตร์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโกรกขี้หนู

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรม, พัฒนาสมอง, ภูมิปัญญาชุมชน, ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาสมองภูมิแบบผสมผสานภูมิปัญญาชุมชนต่อการป้องกันภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ ในเขตตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ดำเนินการวิจัย        4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์สภาพปัจจุบันของผู้สูงอายุกับภาวะสมองเสื่อม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในตำบลชุมเห็ด จำนวน 258 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบทดสอบสมรรถภาพสมองของไทย (Thai mental state examination: TMSE) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาสมองแบบผสมผสานภูมิปัญญาชุมชน กลุ่มตัวอย่าง เป็นตัวแทนภาคีเครือข่าย 3 กลุ่ม จำนวน 29 คน ที่เข้าร่วมประชุมสนทนากลุ่ม และนำข้อมูลมาหลอมเป็นร่างชุดกิจกรรม ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบและยืนยันชุดกิจกรรมพัฒนาสมองแบบผสมผสานภูมิปัญญาชุมชน กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของชุดกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ขั้นตอนที่ 4 ทดลองและประเมินผลการใช้ชุดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (Mild cognitive impairment: MCI) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมพัฒนาสมองแบบผสมผสานภูมิปัญญาชุมชน 2) แบบทดสอบสมรรถภาพสมองของไทย (TMSE) 3) แบบประเมินความพึงพอใจ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาพื้นฐาน และสถิติอนุมาน T-test

  ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของผู้สูงอายุ 258 คน ในตำบลชุมเห็ด จังหวัดบุรีรัมย์ มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยร้อยละ 16.60 สงสัยมีภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 6.60 ไม่เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ร้อยละ 94.18 มีโรคประจำตัว ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 69.40 2) การพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาสมองแบบผสมผสานภูมิปัญญาชุมชน ประกอบด้วย 8 กิจกรรมย่อย ได้แก่ (1) สร้างสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกและสันทนาการ (2) การสร้างการรับรู้เรื่องโรคสมองเสื่อม (3) การเขียนแผนที่และแผนผังครอบครัว (4) การบริหารสมองด้วยสองมือ (5) ออกกำลังกายประกอบเพลงหมอลำด้วยท่าวิถีชุมชนและตาราง 9 ช่อง (6) ถอดคำปริศนาผญาสอนใจ และทายคำพังเพย (7) เกมส์คณิตคิดเร็วชีวิตประจำวัน และ (8) นิทานพื้นบ้านพาเพลินม่วนซื่นและการละเล่นพื้นบ้าน รูปแบบการดำเนินกิจกรรม ประกอบด้วย (1) การคัดกรองและประเมินภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ (2) การให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมกับประชาชนในชุมชน (3) กระตุ้นสมองโดยใช้ชุดกิจกรรม (4) ระบบสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสมองเสื่อม (5) ดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุเพื่อป้องกันปัญหาสมองเสื่อม 3) ผลตรวจสอบและยืนยันร่างชุดกิจกรรมพัฒนาสมองแบบผสมผสานภูมิปัญญาชุมชน มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.70 (SD = 0.50) 4) ภายหลังทดลองใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาสมองแบบภูมิปัญญาชุมชน ในกลุ่มตัวอย่าง ผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย 30 คน พบว่าคะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบสมรรถภาพสมองของไทย (x̄=25.93) สูงกว่าก่อนทดลอง (x̄=22.16) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.001 และมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมพัฒนาสมองโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.61 (SD = 0.49)

 

References

กรมการแพทย์ สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. รายงานการวิจัยระบบการคุมครองดานสุขภาพและสังคมสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมในชุมชนชนบท; 2561.

World Health Organization. Global action plan on the public health response to dementia 2017-2025. Geneva: WHO Document Production Services; 2017.

บรรลุ ศิริพานิช. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2560.

เพชรรัตน์ พิบาลวงค์, จตุพร จันทะพฤกษ์, ภาวิณี แพงสุข, ปิยนุช ภิญโย, ภควรรณ ตลอดพงษ์, นิสากร เห็มชนาน. การศึกษาสถานการณ์ภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2561; 8(2): 46-57.

Alzheimer’s Society [Internet]. Mild cognitive impairment (MCI). [cited 2021 Mar 1]. Available from: https://www.alzheimers.org.uk/info/200 07/types_of_dementia/16mild_cognitive_impair-ment.mci2015.

Teng, E., Tassniyom, K., Lu, P.H. Reduced quality of life ratings in mild cognitive impairment: Analyses of subject and informant responses. American Journal Geriatric Psychiatry 2012; 20(12): 1016–1025

พัชญ์พิไล ไชยวงศ์, เพื่อนใจ รัตตากร, พีรยา มั่นเขตวิทย์. ผลของโปรแกรมฝึกความคิดความเข้าใจต่อความสามารถด้านความคิดความเข้าใจและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่สงสัยว่ามีภาวะสมองเสื่อม. ว.เทคนิคการแพทย์เชียงใหม่ 2558; 48(3): 182-191.

Gerhard, W. E., Thomas, L., Stefan, K. l., Michael, H. New developments in the diagnosis of dementia. Deutsches Arzteblatt International 2010; 107(39): 677–683.

Atkinson, R.C., Shiffrin, R.M. The Psychology of Learning and motivator: Advances in Research and Theory. New York: Academic; 1997.

Greenway, M. C., Duncan, N. L., Smith, G.E. The memory support system for mild cognitive impairment: Randomized trial of a cognitive rehabilitation intervention. International journal of geriatric psychiatry 2013; 28(4): 402–409.

ปัญญเดช พันธ์วัฒน์, สมศักดิ์ลิลา, สมโภชน์อเนกสุข. กระบวนการถ่ายทอดทางสังคมด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ. ว.วิจัย มสด สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2560; 13(1): 149-170.

จารุวรรณ ก้านศรี, รังสิมันต์ สุนทรไชยา, นภัทร เตี๋ยอนุกูล, ภัทรวดี ศรีนวล, นภัสสร ยอดทองดี, เกรียงศักดิ์ ยศพิมพ์. ผลของโปรแกรมการฝึกความจำด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อความสามารถในการจำของผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องเล็กน้อย. พยาบาลสาร 2560; 44(2): 12-21.

อรพรรณ แอบไธสง. การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการฝึกความจำในผู้สูงอายุสมองเสื่อม [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.

Spector A, Thorgrimsen L, Woods B, Royan L, Davies S, Butterworth M, et al. Efficacy of an evidence-based cognitive stimulation therapy programmed for people with dementia: randomized controlled trial. Br J Psychiatry 2003; 183(3): 248-54.

Krejcie, R. V., Morgan, D. W. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30(3): 607-610.

กลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพสมอง. แบบทดสอบสมรรถภาพสมองของไทย Thai Mental State Examination (TMSE). สารศิริราช 2536; 45(6): 359-374.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2545.

ชัชวาล วงค์สารี, ศุภลักษณ์ พื้นทอง. ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ: การพยาบาลและ

การดูแลญาติผู้ดูแล. ว. มฉก.วิชาการ 2561; 22(43-44): 166-179.

ชุติมา ทองวชิระ, ณัฐรพี ใจงาม, สุชาดา โทผล. รูปแบบการป้องกันภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชนเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. ว.วิจัย มหาวิทยาลัย ขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2562; 19(3): 96-109.

Breuil, V., De Rotrou, J., Forette, F. Cognitive stimulation of patients with dementia: Preliminary results. International Journal of Geriatric Psychiatry 1994; 9: 211-217.

ปะราลี โอภาสนันท์, วิยะดา รัตนสุวรรณ. ผลของการใช้ชุดกิจกรรมป้องกันโรคสมองเสื่อมต่อการทำงานของสมองของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน. ว.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2563; 12(1): 255-267.

Kleinman, Arthur. Patients and Healers in the Context of Culture: An Exploration of the Borderland between Anthropology Medicine and Psychiatry. London: University of California Press; 1980.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-01 — Updated on 2022-08-31

Versions