การศึกษาเปรียบเทียบช่วงระยะเวลาการถอดสายระบายแบบท่อยางชนิดแข็ง (tube rubber drain) และแบบท่อยางชนิดอ่อนนุ่ม (Penrose drain) ในผู้ป่วยที่มีการอักเสบติดเชื้อบริเวณช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึก
คำสำคัญ:
ช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึก, สายระบาย, ถอดสายระบาย, สายระบายแบบฉีดน้ำล้าง, สายระบายไม่ฉีดน้ำล้างบทคัดย่อ
การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกพบได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย การดำเนินโรคค่อนข้างเร็วส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิตได้ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะการดำเนินโรค สาเหตุ การรักษา ตลอดจนภาวะแทรกซ้อนของการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลังนี้ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระยะเวลาการถอดสายระบายชนิด Penrose drain และสายระบายชนิด tube rubber drain หลังการผ่าตัดผู้ป่วยที่มีการอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึก วิธีการศึกษา การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นdeep neck infection เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลบึงกาฬและผ่าตัดระบายหนองในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2564 มีผู้ป่วยเข้าตามเกณฑ์การคัดเข้า 92 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการใส่สายระบายชนิด Penrose drain (ไม่ได้รับการฉีดน้ำเกลือล้าง) จำนวน 35 คน และกลุ่มที่ได้รับการใส่สายระบายชนิด tube rubber drain (ได้รับการฉีดน้ำเกลือล้าง) จำนวน 57 คน ซึ่งจะได้รับการทำแผลด้วยการฉีดน้ำเกลือล้างวันละ 1-2 ครั้ง ครั้งละอย่างน้อย 200 มิลลิลิตร โดยทั้ง 2 กลุ่มจะไม่ได้รับการตัดสายระบายให้สั้นลง (short drain) ก่อนการถอดสายระบาย ทำการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและใช้สถิติ Chi-square, Independent T-test และ Mann-Whitney test
ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 59.8 อายุเฉลี่ย 49.8 ปี (SD=15.1) เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับความดันโลหิตสูงร้อยละ 51.0 อาการไข้ร่วมกับแก้มบวมคางบวมเป็นอาการนำที่มาโรงพยาบาลมากที่สุดร้อยละ 83.7 ฟันผุ เป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อร้อยละ 70.7 ตำแหน่งการอักเสบติดเชื้อที่พบมากที่สุด ได้แก่ submandibular space ร้อยละ 32.6 ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดระบายหนองร้อยละ 56.5 และระบายหนองพร้อมกับถอนฟันขณะผ่าตัดร้อยละ 31.5 เชื้อที่พบมากที่สุด ได้แก่ Staphylococcus spp. ร่วมกับ Streptococcus spp. ร้อยละ 7.6 และพบ Burkholderia pseudomallei ร้อยละ 7.6 เท่ากัน พบภาวะแทรกซ้อนจาก electrolyte imbalance, septic shock ร้อยละ 7.6 และ 5.4 ตามลำดับ ผลการรักษาหายดีกลับบ้าน ได้ร้อยละ 93.4 ระยะเวลาที่ใส่สายระบายชนิด Penrose drain หลังผ่าตัด 7.1 วัน (SD=5.8) มากกว่าระยะเวลาใส่สายระบายชนิด tube rubber drain หลังผ่าตัด 6.0 วัน (SD=3.3) แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.145) ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อมากกว่า 1 ตำแหน่งและเป็นกลุ่ม tube rubber drain มีระยะเวลาที่ถอดสายระบายเร็วกว่ากลุ่ม Penrose drain โดยค่า median (IQR) = 7.4 (4.6) วัน และ 9 (3.4) วัน ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p = 0.003 โดยใช้สถิติ Mann Whitney U Test และระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ยในกลุ่ม Penrose drain 7.1 วัน (SD=4.6) กลุ่ม tube rubber drain 6.8 วัน (SD=4.2) ซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.170)
สรุป การวินิจฉัยและได้รับการผ่าตัดระบายหนองร่วมกับการถอนฟันและให้ยาปฏิชีวนะที่รวดเร็วและเหมาะสมเป็นการรักษาหลักในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกที่มีสาเหตุจากฟัน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล การดูแลแผลหลังการผ่าตัดเป็นเรื่องที่สำคัญ ควรเลือกชนิดสายระบายอย่างเหมาะสม ทั้ง Penrose drain และ tube rubber drain เพื่อช่วยให้แผลหายหลังการผ่าตัดรักษา
References
Poeschl PW, Spusta L, Russmueller G, Seemann R, Hirschl A, Poeschl E, et al. Antibiotic susceptibility and resistance of the odontogenic microbiological spectrum and its clinical impact on severe deep space head and neck infections. Oral Surg Oral Med Oral Pathol Oral Radiol Endod 2010; 110: 151-6.
Crespo AN, Chone CT, Fonseca AS, Montenegro Carolina M, Pereira R, Milani Altenami J, et al. Clinical versus computed tomography evaluation in the diagnosis and management of deep neck infection. Sao paulo Med J 2004; 122(6): 259-63.
Christian JM, Goddard AC, Gillespie MB. Deep neck infection. In: Cummings CW, Flint PW,
Haughey BH, Lund VJ, Niparko JK, Robbins KT, Thomas JR, et al., editors. Otolaryngology head and neck surgery. 6th ed. Philadelphia: Elsevier; 2015. p.164-75.
Wang J, Ahani A, Pogrel MA. A five-year retrospective study of odontogenic maxillofacial
infections in a large urban public hospital. Int J Oral Maxillofac Surg 2005; 34(6): 646–649.
Igoumenakis D, Giannakopoulos N-N, Parara E, Mourouzis C, Rallis G. Effect of causative Tooth extraction on clinical and biological parameters of odontogenic infection: a prospective clinical trial. J Oral Maxillofac Surg 2015; 73(7): 1254–1258.
Heim N, Warwas FB, Wiedemeyer V. The role of immediate versus secondary removal of the odontogenic focus in treatment of deep head and neck space infections. A retrospective analysis of 248 patients. 2019; Clin Oral Investig 2019; 23(1): 2921–2927.
Doyle G, McCutcheon J. Clinical Procedures for Safer Patient Care. BCcampus; 2015.
Ding M, Lee C, Wang Y, Hsu C, Tsai Y, Tsai M, et al. Innovative continuous-irrigation approach for wound care after deep neck infection surgery: A case report. Int J of Surg Case Rep 2021; 80: 10-12.
Gallo O, Deganello, Meccariello G, Spina R, Peris A. Vacuum-Assisted Closure for Managing Neck Abscesses Involving the Mediastinum: The American Oto-Rhino-Laryngol 2012; 122(4): 785-788.
Roongkraw R. A Retrospective Study of Deep Neck Infection among Inpatients Audiovisual, Neck, Nasal Sections at Srisaket Hospital, Srisaket Province between 2017-2019. J Khon Kaen Provincial Health Office 2020; 2(2): 213-230.
Aswakul K. Deep neck infection in Maharat Nakhon Ratchasima hospital. Thai J Otolaryngol Head Neck Surg 2007; 2: 44-8.
Kongtangit P. Comparison of clinical course and outcome between diabetic and non-diabetic patients. Thai J Otolaryngol Head Neck Surg 2020; 14(1): 35-51.
Vongnijsil C. Deep neck abscess clinical review at Khon Kaen hospital. J Khon Kaen Provincial Health Office 2008; 32(2): 147-54.
Kanthong S. Retrospective study of incidence and treatment outcome of deep neck infection and facial space abscess for 491 patients at Chaiyaphum hospital during 1999 to 2007. J Khon Kaen Provincial Health Office 2008; 32: 153-64.
Rekos G. Evaluation of Drain Usage in Odontogenic Infections, A 10 Year Retrospective Analysis. [Thesis]. Ohio: Ohio State University; 2010.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร