การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกสาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินแบบมีส่วนร่วม กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สุวรรณา นาที โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

การนิเทศทางคลินิกวิกฤตฉุกเฉิน, เจตคติต่อการนิเทศ, รูปแบบการนิเทศทางคลินิก

บทคัดย่อ

การนิเทศทางการพยาบาลควรมีรูปแบบที่ชัดเจน เข้าใจและสามารถวัดผลได้ โดยเฉพาะการนิเทศทางคลินิกฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเฉพาะทางเร่งด่วน เพื่อลดภาวะคุกคามชีวิต การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกสาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพหัวหน้าเวร กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินจำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นรูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย รูปแบบการนิเทศทางคลินิกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ       1) รูปแบบการนิเทศทางคลินิกสาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง และ 2) แนวทางการนำไปใช้และประเมินประสิทธิผลรูปแบบการนิเทศฯ โดยประเมินจากความเสี่ยงระดับ E-I และ ความสามารถของผู้นิเทศด้านทักษะการนิเทศและทักษะเชิงวิชาชีพจากการปฏิบัติงาน เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล       4 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ความสามารถทักษะการนิเทศทางคลินิกด้านผู้นำทีมปฏิบัติการพยาบาล 3) ความสามารถทักษะเชิงวิชาชีพตามมาตรฐานงานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 4) การประชุมกลุ่มย่อยร่วมกับพยาบาลวิชาชีพหัวหน้าเวรในบทบาทผู้นิเทศทางคลินิก โดยเครื่องมือด้านความสามารถทักษะการนิเทศทางคลินิกด้านผู้นำทีมปฏิบัติการพยาบาล และด้านความสามารถทักษะเชิงวิชาชีพตามมาตรฐานงานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน มีค่าความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.88 และ 0.90 ความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.92 และ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดำเนินการในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง กันยายน 2564

ผลการศึกษาพยาบาลวิชาชีพหัวหน้าเวร 24 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 87.5 อายุเฉลี่ย 35.25 ปี (SD=8.04)  ตำแหน่งงานระดับชำนาญการ ร้อยละ 58.3 ปฏิบัติงานที่ห้องฉุกเฉินนานเฉลี่ย 6.96 ปี (SD=5.78) สำรวจอุบัติการณ์ความเสี่ยง ปี พ.ศ. 2564 พบ 82 เหตุการณ์ เป็นความเสี่ยงระดับ E-I 22 เหตุการณ์ โดย 3 ลำดับแรก ได้แก่ missed diagnosis and delayed diagnosis ร้อยละ 36.36 รองลงมา คือun-planed cardiopulmonary resuscitation ร้อยละ 18.18 และการสื่อสารส่งต่อข้อมูลพยาบาลผิดพลาด ร้อยละ 13.64 การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกสาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินแบบมีส่วนร่วมใช้กระบวนการนิเทศแบบชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง พัฒนาพยาบาลหัวหน้าเวรให้มีบทบาทเป็นผู้นิเทศทางคลินิก  แนวทางการนำไปใช้และประเมินประสิทธิผลรูปแบบการนิเทศฯ พบว่า ความสามารถทักษะการนิเทศทางคลินิกต่อบทบาทผู้นิเทศทางคลินิกในภาพรวม คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 61.04, SD= 6.99) และด้านความสามารถทักษะเชิงวิชาชีพตามมาตรฐานงานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ของพยาบาลวิชาชีพหัวหน้าเวรต่อบทบาทผู้นิเทศทางคลินิกพิจารณาตามรายด้านองค์ประกอบทักษะเชิงวิชาชีพตามมาตรฐานงานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินทั้ง 10 องค์ประกอบ ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับดี (x̄= 84.37, SD =9.24) การประชุมย่อยเพื่อเปิดโอกาสให้พยาบาลวิชาชีพหัวหน้าเวรในบทบาท ผู้นิเทศทางคลินิก แสดง ข้อคิดเห็นร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และข้อเสนอแนะ ทุกคนเห็นด้วยว่าการนิเทศทางคลินิก เป็นเครื่องมือสำคัญในการให้คำปรึกษา ติดตามกำกับ ควบคุมคุณภาพ การปฏิบัติการพยาบาลให้เป็นไปตามมาตรฐานการพยาบาล

ประสิทธิภาพของการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิกแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบชี้แนะร่วมกับการเป็น พี่เลี้ยง และแนวทางการนำไปใช้ฯ ภายหลังการนิเทศ เป็นระยะเวลา 6 เดือน พบว่ามีความเสี่ยงเกิดขึ้นจำนวน 10 เหตุการณ์ แต่ไม่พบความเสี่ยงในระดับ E-I เลย

 

References

กรมการแพทย์. คู่มือแนวทางการจัดบริการห้องฉุกเฉินที่เหมาะสมกับระดับศักยภาพสถานพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 23 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dms.go.th

ยุวเรศ สิทธิชาญบัญชา. ความแออัดของแผนกฉุกเฉิน: Emergency Department Crowding. ใน: การประชุมวิชาการเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 7 บทบาทพยาบาลฉุกเฉิน ปัจจุบันและอนาคต; วันที่ 7-11 กุมภาพันธ์ 2554. กรุงเทพฯ: N P Press Limited Partnership; 2550.

สถิติผู้ป่วยมารับบริการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลอุดรธานี 2561–2563. อุดรธานี:กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลอุดรธานี; 2564.

เรวดี ศิรินคร. การนิเทศทางคลินิก [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 23 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www1.si.mahidol.ac.th

สำนักการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การ

สงเคราะห์ทหารผ่านศึกฯ; 2551.

รัชตวรรณ ศรีตระกูล. แนวคิด หลักการและทฤษฎีการนิเทศทางการพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. 2555[เข้าถึงเมื่อ 18 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nurse.kku.ac.th/index.php/download/category

องอาจ นัยพัฒน์. วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.กรุงเทพฯ :สามลดา: 2548.

อรุณรัตน์ อินทสุวรรณ. การพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการนิเทศการพยาบาลของกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลระนอง [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 23 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://nursing.iserl.org/bcnsurat/index.php/researcher

เบ็ญจพร ไพบูลย์พลาย้อย. ผลของโปรแกรมการนิเทศการพยาบาลแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วยต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 23กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://nursing.iserl.org/bcnsurat/index.php/researcher

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31