การพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยมะเร็งตับที่เข้ารับการตรวจรักษาโดยให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดง

ผู้แต่ง

  • มุกดา นาผล ห้องตรวจสวนหัวใจ กลุ่มงานการพยาบาลตรวจรักษาพิเศษ โรงพยาบาลอุดรธานี
  • อภิชาติ โสภาพรม ห้องตรวจสวนหัวใจ กลุ่มงานการพยาบาลตรวจรักษาพิเศษ โรงพยาบาลอุดรธานี
  • ศุภนิต หงษ์ชัย ห้องตรวจสวนหัวใจ กลุ่มงานการพยาบาลตรวจรักษาพิเศษ โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อม, การตรวจรักษาโดยให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (The research and development) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยมะเร็งตับที่เข้ารับการตรวจรักษาโดยให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดง โรงพยาบาลอุดรธานี ดำเนินการระหว่างเดือนพฤษภาคม 2564 - มีนาคม 2565 ที่ห้องตรวจสวนหัวใจ โรงพยาบาลอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยมะเร็งตับที่เข้ารับการตรวจรักษาโดยให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดงจำนวน 30 ราย พยาบาลวิชาชีพ ห้องตรวจสวนหัวใจ จำนวน 10 คน ขั้นตอนการดำเนินการศึกษาวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนได้แก่ 1) การสำรวจสภาพปัญหาและพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมโดยวิธีการระดมสมอง 2) ทดลองใช้รูปแบบการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อม 3) ศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อม 2) แบบสอบถามสำหรับผู้ป่วย ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความวิตกกังวล(STAI Form Y-2) แบบประเมินความร่วมมือค่าความเชื่อมั่น KR 20 เท่ากับ 0.96 และ 3) แบบสอบถามสำหรับพยาบาลวิชาชีพ ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความคิดเห็นต่อการพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อม วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยใช้สถิติ dependent T-test วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า รูปแบบการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยมะเร็งตับที่เข้ารับการตรวจรักษาโดยให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยและประเมินความต้องการผู้ป่วยและการจัดเตรียมข้อมูล 2) ขั้นดำเนินการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อม 3) ขั้นทบทวนให้ข้อมูลเพิ่มเติมและเปิดโอกาสให้สอบถาม 4) ขั้นประเมินผลการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมที่ได้รับการพัฒนาในครั้งนี้ ได้แก่ ด้านผู้ป่วยพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลของผู้ป่วยมะเร็งตับที่ได้รับการตรวจรักษาโดยยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดงลดลงหลังให้ข้อมูลเตรียมความพร้อม โดยก่อนให้ข้อมูลค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลเท่ากับ 46.4 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.5) ค่าคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลหลังให้ข้อมูลเท่ากับ 36.0 คะแนน(ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.0) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.02) และผู้ป่วยให้ความร่วมมืออยู่ในระดับสูงมากที่สุดร้อยละ 83.3 ผลลัพธ์ด้านผู้ให้บริการ พบว่า พยาบาลวิชาชีพห้องตรวจสวนหัวใจทุกคน เห็นด้วยมากต่อการใช้รูปแบบการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยมะเร็งตับ

 

References

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สถิติข้อมูลผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ. นนทบุรี: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

โรงพยาบาลอุดรธานี. สถิติผู้มารับบริการตรวจสวนหัวใจ โรงพยาบาลอุดรธานี ปีงบประมาณ 2563-2564. อุดรธานี: โรงพยาบาล; 2564.

Leventhal H, Johnson JL. Laboratory and field experimentation development of a theory of self-regulation. In: P.T. Wooldridge’ M.H. Schmitt RC’ Leonard JK. Skipper Zeds.X. Behavioral Science and Nursing Theory. St.Louis: Mosby; 1983. p.189-262.

เกศรา วรชัยมงคลกุล. การศึกษาเปรียบเทียบผลการลดภาวะความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาทางยาอย่างเดียวกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาทางยาร่วมกับดนตรีบำบัด [วิทยานิพนธ์]. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง; 2556.

Spielberger, C.D., Gorsuch, R.L., Lushene, P.R., Jacobs, G.A. Manual for the state-trait anxiety inventory. Polo Alto, CA: Consulting Pwychologists Press; 1983.

ดาราวรรณ ต๊ะปินดา. การลดความวิตกกังวลของพยาบาลประจำการที่ดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนความคิดร่วมกับการฝึกสติ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2535.

เจษฏา ศรีบุญเลิศ. ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลและความร่วมมือในผู้ป่วยมะเร็งตับขณะตรวจรักษาโดยให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดง [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

.บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย; 2550.

เมฑามาศ สมยา, ศิริลักษณ์ กิจศรีไพศา, เบญจพร บรรณสาร. ผลของโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจต่อพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาและผลการตรวจเสมหะในผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่. ว.พยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2563; 1: 24-36.

ดุษาร์กร เปียทิพย์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการฟื้นฟูสภาพระยะแรกต่อผลลัพธ์ด้านร่างกายและความวิตกกังวลของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.

ศศิธร สุทธิสนธิ์. ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัดเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายต่อความวิตกกังวลและความร่วมมือในการผ่าตัดเนื้อตา ที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2560.

จำเนียร พัฒนจักร. ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมก่อนการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจต่อความวิตกกังวลและความร่วมมือในการตรวจ [รายงานการศึกษาอิสระ]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2561.

เมฑามาศ สมยา. ผลของโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจต่อพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาและผลการตรวจเสมหะในผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2561.

ภัทรพร นาคะไพฑูรย์. การพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูลสำหรับญาติของผู้ป่วยมะเร็ง หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31