การมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรงชนิด Community Acquired Sepsis กลุ่มผู้สูงอายุป่วย ต.หนองบัว อ. เมือง จ.อุดรธานี
บทคัดย่อ
วิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อศึกษาสถานการณ์/ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง/หารูปแบบและประเมินผลรูปแบบการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรงในชุมชนโดยเครือข่ายมีส่วนร่วม กลุ่มผู้ร่วมวิจัยแบบสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 17 คน กลุ่มผู้ร่วมวิจัยในรูปแบบการเฝ้าระวังและป้องกันติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรงในชุมชนจำนวน 30 คน ระยะเวลาดำเนินการเดือนกุมภาพันธ์ 2562- กันยายน 2563 โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาสถานการณ์/ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 2) พัฒนารูปแบบดำเนินงาน 3) ประเมินผลรูปแบบดำเนินงาน เครื่องมือวิจัยคือ รูปแบบการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรงชนิด community acquired sepsis กลุ่มผู้สูงอายุป่วยโดยเครือข่ายมีส่วนร่วม เครื่องมือเก็บเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แนวคำถามสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม 2) แนวทางการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม 3) แบบวัดความรู้เรื่องการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตในชุมชน หาค่าความเที่ยงโดยการคำนวณหาค่าสัมประสิทธ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงโดยรวม 0.71 วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ paired T-test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า (I) สถานการณ์การติดเชื้อในกระแสโลหิตในชุมชนพบได้ทุกกลุ่มวัย การเสียชีวิตพบมากในผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ประชาชนขาดความรู้ การสังเกตอาการและการตัดสินใจเข้าถึงการรักษาให้ทันเวลา และ อสม.ขาดสื่อความรู้ใช้แนะนำประชาชน (II) รูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรงในชุมชนประกอบด้วย 1) การอบรมให้ความรู้ อสม. ฝึกปฏิบัติสังเกตอาการสงสัยติดเชื้อในกระแสโลหิตในชุมชนและการตัดสินใจเข้าสู่การรักษาทางการแพทย์ให้ทันเวลา ประเมินคะแนนความรู้ก่อนและหลังการอบรมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) หลังอบรมให้ความรู้ อสม. แนะนำกลุ่มผู้สูงอายุป่วยและประชาชนเรื่องการสังเกตอาการสงสัยติดเชื้อในกระแสโลหิตและการเข้าถึงบริการการรักษาทางการแพทย์ให้ทันเวลาในพื้นที่ของตนเอง 2) การผลิตสื่อความรู้โดยใช้สติกเกอร์ ติดผนังหรือตู้เย็นข้อความอาการสงสัยติดเชื้อในกระแสโลหิตและการตัดสินใจเข้าสู่ระบบการรักษาสำหรับ อสม. เพื่อใช้แนะนำผู้สูงอายุป่วยและประชาชน หากมีอาการตามเอกสารให้พบเจ้าหน้าที่ รพ.สต. หรือเรียกบริการ 1669 (III) ประเมินผลหลัง อสม. แนะนำผู้สูงอายุป่วยและประชาชนจากข้อมูลการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ด้วยรถส่วนตัวและ 1669 อัตราเสียชีวิตก่อนและหลังดำเนินโครงการ 6 เดือนในวงรอบที่ 1 ลดลงจาก ร้อยละ 66.66 เหลือร้อยละ 40.00 หลังจาก อสม. แนะนำกลุ่มผู้สูงอายุป่วยและประชาชนร่วมกับใช้สื่อความรู้สติกเกอร์ อัตราเสียชีวิตหลังดำเนินโครงการ 6 เดือนในวงรอบ ที่ 2 เท่ากับร้อยละ 44.44
สรุป การให้ความรู้ อสม. แนะนำผู้สูงอายุป่วยและประชาชนเรื่องการสังเกตอาการสงสัยติดเชื้อในกระแสโลหิตและการเข้าถึงบริการการรักษาทางการแพทย์ให้ทันเวลา ลดอัตราเสียชีวิตได้
References
ศิวศักดิ์ จุทอง, กรีฑา ธรรมคัมภีร์, จิรวดี สถิตเรืองศักดิ์, อัสมา นวสกุลพงศ์, บรรณาธิการ. อายุรศาสตร์ปริทัศน์ในศตวรรษ 21. ใน: บดินทร์ ขวัญนิมิตตร. นิยามใหม่ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ. สงขลา: ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2560: หน้า 135
World Health Organization. Sepsis. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ23 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/sepsis, 2018.
แนวทางตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2561. Inspection Guideline.[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://inspection.dms.moph.go.th
เอกสารแผนงานการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ปีงบประมาณ 2562 (Service Plan Sepsis).สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี/โรงพยาบาลอุดรธานี
สรุปรายงานข้อมูลอัตราป่วยและเสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตในชุมชนปี 2560-2561. งานเฝ้าระวังภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตในชุมชน กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน. ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศโรงพยาบาลอุดรธานี.
ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาลระเบียบวิธีวิจัยและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์; 2555.
นิตย์ ทัศนิยม. เอกสารคำสอนเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสุขภาพ; ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.
วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. ว.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี 2558; 2: 29-48.
สมหมาย คชนาม. เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. โรงพยาบาลอุดรธานี; 2561
Benjamin Bioom (1913-99). Mastery learning. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤศจิกายน2563] เข้าถึงได้จาก: http://www.ibe.unesco.org/sites/default/files/bloome.pdf
Nasa P, Juneja D, Sing h O, Dang R, and Arora V. Severe Sepsis and its Impact on Outcome in Elderly and Very Elderly Patients Admitted in Intensive Care Unit. Journal of Intensive Care Med 2012; 27(3): 179.83
ประไพพรรณ ฉายรัตน์ และสุพัฒศิริ ทศพรพิทักษ์กุล. ประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวการณ์ติดเชื้อในกระแสโลหิต. ว.การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560; 35: 224-230.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร