การพัฒนาแนวทางการประเมินและคัดกรองภาวะกลืนลำบากในผู้สูงอายุที่มีภาวะกระดูกข้อสะโพกหัก กลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พวงพยอม จุลพันธุ์ โรงพยาบาลอุดรธานี
  • พรพรรณ มนสัจจกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่
  • ณฐมน ภัทรเกริกชัย โรงพยาบาลอุดรธานี

บทคัดย่อ

ภาวะกลืนลำบากทำให้ผู้สูงอายุเกิดปอดอักเสบจากการสำลักและภาวะทุพโภชนาการตามมา การมีแนวทาง       การพยาบาลเพื่อประเมินภาวะกลืนลำบากจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีการกลืนอย่างปลอดภัย การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการประเมินและคัดกรองภาวะกลืนลำบากในผู้สูงอายุที่มีภาวะกระดูกข้อสะโพกหักและประเมินผลลัพธ์ในการนำแนวทางการประเมินภาวะกลืนลำบากมาใช้ในหอผู้ป่วยกลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี 6 หอผู้ป่วย ทำการศึกษาระหว่างเดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน 2564 ประยุกต์รูปแบบการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เป็นกรอบแนวคิดพัฒนาแนวทางการประเมิน 4 ระยะ ได้แก่ 1) ค้นหาปัญหาทางคลินิกจากการสอบถามผู้ให้บริการและผู้รับบริการ การรวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีความน่าเชื่อถือ 2) ค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้อง 3) พัฒนาแนวทางการพยาบาลและนำไปทดลองใช้ 4) นำแนวทางการพยาบาลที่ปรับปรุงไปใช้ กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพกลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี 57 คน และผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะกระดูกข้อสะโพกหัก 62 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม 3 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ความคิดเห็นของพยาบาลต่อความต้องการการพัฒนา และต่อการใช้แนวทางการประเมินและคัดกรองภาวะกลืนลำบากในผู้สูงอายุกระดูกข้อสะโพกหัก รวมถึงความ พึงพอใจ 2) แบบสอบถามผู้ป่วยเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินผลลัพธ์ 3) แบบประเมินคุณภาพการพัฒนา        การวิเคราะห์นำเสนอข้อมูล โดยสถิติเชิงพรรณา

ผลการศึกษาพบว่า เครื่องมือแนวทางการประเมิน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ประเมินอาการกลืนลำบาก   2) ประเมินอาการทั่วไปก่อนทดสอบการกลืน 3) ทดสอบการกลืนด้วยการจิบน้ำเปล่า 4) การดื่มน้ำจากแก้ว 5) การส่งเสริมการกลืนอย่างปลอดภัย ผลการนำแนวทางการประเมินมาใช้พบว่าผู้ป่วยไม่เกิดการสำลักร้อยละ 100 และพยาบาลพึงพอใจต่อการใช้แนวทางการประเมินโดยรวมในระดับสูง (mean=3.6, SD=0.4)

สรุป จากผลการศึกษาพบว่าแนวทางการประเมิน มีความเหมาะสมในการใช้งาน ช่วยส่งเสริมการกลืนอย่างปลอดภัยในผู้ป่วยสูงอายุกระดูกข้อสะโพกหัก และควรมีการพัฒนาแนวทางการประเมิน เพื่อให้สามารถวางแผนการพยาบาลและจัดการกับปัญหาการกลืนได้อย่างเหมาะสมในผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มอื่นๆ

 

References

Rofes L, Arreola V, Almirall J, Cabre M, Campins L, García-Peris P, Speyer R, Clave P. Diagnosis and management of oropharyngeal dysphagia and its nutritional and respiratory complications in the elderly. Gastroenterology research and practice 2011;3:1-13.

Love AL, Cornwell PL, Whitehouse SL. Oropharyngeal dysphagia in an elderly post-operative hip fracture population: a prospective cohort study. Age and ageing. 2013; 42(6): 782-5.

Liao KM, Lu HY. A national analysis of complications following total hip replacement in patients with chronic obstructive pulmonary disease. Medicine. 2016; 95(12)

Roche JJW, Wenn RT, Sahota O, Moran CG. Effect of comorbidities and postoperative complications on mortality after hip fracture in elderly people: prospective observational cohort study. BMJ. 2005; 331(7529):1374

Rofes L, Arreola V, Almirall J, Cabré M, Campins L, García-Peris P, Speyer R, Clavé P. Diagnosis and management of oropharyngeal dysphagia and its nutritional and respiratory complications in the elderly. Gastroenterology research and practice 2011;3:1-13.

Metani H, Tsubahara A, Hiraoka T, et al. Risk factors for patients who develop pneumonia either before or after hip fracture surgery. Japan J Compr Rehabil Sci 2015;6:43–9.

Lv H, Yin P, Long A, Gao Y, Zhao Z, Li J, et al. Clinical characteristics and risk factors of postoperative pneumonia after hip fracture surgery: a prospective cohort study. Osteoporos Int 2016;27: 3001–3009.

Madsen G, Kristoersen SM, Westergaard MR, Gjødvad V, Jessen MM, Melgaard D. Prevalence of Swallowing and Eating Diculties in an Elderly Postoperative Hip Fracture Population—A Multi-Center-Based Pilot Study. Geriatrics 2020;5(52): 1-12.

Hines S, Kynoch K, Munday J. Identification and nursing management of dysphagia in individuals with acute neurological impairment: A systematic review (new update). JBI Evidence Synthesis 2014;12(5):195-236.

Metani H, Tsubahara A, Hiraoka T, Seki S, Hasegawa T. Risk factors for patients who develop pneumonia either before or after hip fracture surgery. Jpn J Compr Rehabil Sci 2015;6:43-49.

Lawrence VA, Hilsenbeck SG, Noveck H, Poses RM, Carson JL. Medical complications and outcomes after hip fracture repair. Arch Intern Med. 2002; 162(18)

Flikweert ER,Wendt KW, Diercks RL, et al. Complications after hip fracture surgery: Are they preventable? Eur J Trauma Emerg Surg. 2018;44(4):573-580.

Altman KW, Yu G, Schaefer SD. Consequence of dysphagia in the hospitalized patient. Arch Otolaryngol Head Neck Surg.2010;136(8):784 - 789.

โรงพยาบาลอุดรธานี. รายงานการศึกษาสถานการณ์เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก. กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์. โรงพยาบาลอุดรธานี; 2562.

Soukup SM. The Center for Advanced Nursing Practice evidence-based practice model: promoting the scholarship of practice. The Nursing Clinics of North America 2000;35(2):301-9.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย: มายาคติในการใช้สูตรของทาโร ยามาเน และเครจซี-มอร์แกน, 2561. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 19 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://edserv.nida.ac.th

ชมพูนุช พงษ์อัคศิรา, นภัสกรณ์ โกมารทัต, ศิริลักษณ์ มานะพันธ์โสภี, วรรัตน์ ศิริเผ่าสุวรรณกุล, อรชร ทองบุราณ, ภคอร สายพันธ์ และคณะ. บรรณาธิการ. คู่มือแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก Clinical Practice Guidelines: dysphagia. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง; 2562.

สมเกียรติโพธิสัตย์, สมชาย พีระปกรณ, สุรจิต สุนทรธรรม, อภิรักษ์ปาลวัฒน์วิไชย, อาคม ชัยวีระวัฒนะ,อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ, และคณะ.เครื่องมือการประเมินคุณภาพแนวทางปฏิบัติ สำหรับการวิจัยและการประเมินผล.สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2556. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 19 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: www.dms.moph.go.th//imrta.

อัจฉรา คำมะทิตย์. หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล: ค้นหา วิเคราะห์ และนำไปใช้อย่างไร.วรสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้; 2564: 8 (2)

Ozeki M, Kagaya H, Inamoto Y, Iizumi T, Shibata S, Onogi K, Saitoh E. Positional effects of head and/or neck flexion as chin-down posture in normal subjects. Fujita Medical Journal 2020;6(4):128-131

Brodsky, M. B., Suiter, D. M., González-Fernández, M., Michtalik, H. J., Frymark, T. B., Venediktov, R., & Schooling, T. (2016)Screening accuracy for aspiration using bedside water swallow tests: a systematic review and meta-analysis. Chest, 150(1), 148-163.

Uhm KE, Kim M, Lee YM, Kim BR, Kim YS, Choi J. The Easy Dysphagia Symptom Questionnaire (EDSQ): a new dysphagia screening questionnaire for the older adults. European Geriatric Medicine 2019;10: 47–52.

Rofes, L., Arreola, V., & Clavé, P.The volume-viscosity swallow test for clinical screening of dysphagia and aspiration. In Stepping stones to living well with dysphagia 2012:72: 33-42. Karger Publishers

Rofes, L., Arreola, V., Mukherjee, R., & Clavé, P. Sensitivity and specificity of the Eating Assessment Tool and the Volume Viscosity Swallow Test for clinical evaluation of oropharyngeal dysphagia. Neurogastroenterology & Motility2014: 26(9), 1256-1265.

Saconato, M., Chiari, BM., Lederman, HM., Gonçalves, MLR, et al.

Effectiveness of Chin-tuck Maneuver to Facilitate Swallowing in Neurologic Dysphagia. International Archives of Otorhinolaryngology 2016:20:13-17

Smithard D, Westmark S, Melgaard D. Evaluation of the Prevalence of Screening for Dysphagia among Older People Admitted to Medical Services – An International Survey. OBM Geriatrics 2019;3(4):1-8

Delevatti C, Rodrigues EC, Almeida ST, Santos KW. Prevalence and risk factors for oropharyngeal dysphagia in fragile older adults with orthopedic fractures. Audiol Commun Res. 2020;25(e2388): 1-8.

รัตนา พรหมบุตร. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติในการดูแลผู้บาดเจ็บเพื่อลดภาวะเสี่ยงการตกเลือดจากการบาดเจ็บช่องท้อง. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2563;3(1): 46-58.

เรณู มูลแก้ว, ประทุม สร้อยวงค์, จินดารัตน์ ชัยอาจ. ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการการกลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือกสมอง. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย 2559;3(2): 44-55.

Chen S, Cui Y, Ding Y, Sun C, Ying Xing Y, Zhou R, Liu G. Prevalence and risk factors of dysphagia among nursing home residents in eastern China: a cross-sectional study. BMC Geriatrics 2020;20: 352-59.

Melgaard D, Sorensen LR, Lund D, Leutscher P, Ludwig M. Systematic Dysphagia Screening of Elderly Persons in the Emergency Department—A Feasibility Study. MDPI Geriatrics 2020;5(75): 1-7.

Madsen, M., Kristoffersen, SM.,Westergaard, MR., Gjødvad, V., Jessen, MM., Melgaard, D.Prevalence of Swallowing and Eating Difficulties in an Elderly Postoperative Hip Fracture Population-A Multi-Center-Based Pilot Study. Geriatrics 2020:5(52)

Melnyk BM, Fineout-Overholt E, Mays MZ. The evidence-based practice beliefs and implementation scales: Psychometric properties of two new instruments. Worldviews on Evidence-Based Nursing 2008; 5(4): 208-16.

Belafsky PC, Mouadeb DA, Rees CJ, Pryor JC, Postma GN, Allen J, Leonard RJ. Validity and Reliability of the Eating Assessment Tool (EAT-10). Annals of Otology Rhinology & Laryngology 2008;117(12):919-924.

Cheney DM, Siddiqui MT, Litts JK, Kuhn MA, Belafsky PC. The Ability of the 10-Item Eating Assessment Tool (EAT-10) to Predict Aspiration Risk in Persons with Dysphagia. Ann Otol Rhinol Laryngol; 2015.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31