ความชุกของมะเร็งระบบสืบพันธุ์สตรีในหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ณัฐชามญฑ์ เวทย์พิทยาคม กลุ่มงานสูตินรีเวชศาสตร์, โรงพยาบาลราชบุรี, จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

มะเร็งระบบสืบพันธุ์สตรี, สตรีวัยเจริญพันธุ์, มะเร็งปากมดลูก

บทคัดย่อ

การศึกษาพรรณาย้อนหลังเพื่อศึกษาหาความชุกของมะเร็งระบบสืบพันธุ์หญิง ที่เกิดในช่วงอายุ 15-40 ปี และเพื่อทราบถึงข้อมูลพื้นฐาน จำนวนบุตร ปัจจัยการเกิดโรค ระยะของโรค การรักษาที่ได้ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ วิธีการศึกษา ทำการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของสตรีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งระบบสืบพันธุ์สตรีและมารับการรักษาที่หน่วยมะเร็ง โรงพยาบาลราชบุรีตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2562 - 31 ธันวาคม 2563 จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS เกี่ยวกับความชุกของมะเร็งระบบสืบพันธุ์สตรี ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในสตรีกลุ่มวัยเจริญพันธุ์ อายุ 15-40 ปี

ผลการวิจัย พบมะเร็งระบบสืบพันธุ์ในสตรีอายุ 15-40 ปี จำนวน 42 ราย จากจำนวนสตรีที่มารับการรักษาในหน่วยมะเร็งนรีเวช 276 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.2 ในจำนวน 42 รายนั้น พบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก จำนวน 21 ราย คิดเป็น   ร้อยละ 50.0 มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกและมะเร็งรังไข่ ชนิดละ 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 21.4 เท่ากัน มะเร็งเยื่อบุช่องท้อง 2 ราย มะเร็งมดลูกชนิดซาร์โคมา 1 ราย สตรีที่เป็นมะเร็งปากมดลูกในวัยเจริญพันธุ์มีคู่นอน ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร้อยละ 76.2 และมี คู่นอนที่สูบบุหรี่สูงถึงร้อยละ 57.1 วัยเจริญพันธุ์ทั้ง 9 ราย ที่เป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกในสตรี พบว่ามีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 23 กก./ตร.ม. (กลุ่มน้ำหนักเกิน) โดยมีค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายที่ 33.18 กก/ตร.ม. โดยพบผู้ป่วย 7 ใน 9 ราย มีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 กก./ตร.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 77.8 ระยะที่ตรวจพบนั้น พบมะเร็งปากมดลูกระยะต้น 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.3 ระยะลุกลามและแพร่กระจาย 14 ราย ร้อยละ 66.7 มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก พบระยะต้น 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.8 ระยะแพร่กระจายเพียง 1 ราย และมี 1 รายในกลุ่มระยะต้นที่รับการรักษาด้วยยาฮอร์โมน มะเร็งรังไข่ตรวจพบในระยะต้น 7 ราย ร้อยละ 77.7

สรุป ความชุกของมะเร็งระบบสืบพันธุ์สตรีในช่วงอายุ 15-40 ปี ที่มารับการรักษาที่หน่วยมะเร็ง โรงพยาบาลราชบุรีเท่ากับร้อยละ 15.2 และพบหญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นมะเร็งปากมดลูกมากที่สุดโดยพบว่าสตรีวัยเจริญพันธ์ที่เป็นมะเร็งปากมดลูกมีคู่นอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป การมีคู่นอนสูบบุหรี่ สตรีวัยเจริญพันธ์ที่เป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกมีดัชนีมวลกายอยู่ในระดับน้ำหนักเกินและมากกว่า

 

References

Desandes E, Stark DP. Epidemiology of Adolescents and Young Adults with Cancer in Europe. Prog Tumor Res. 2016;43:1-15.

Goodman A. Abnormal genital tract bleeding. Clin Cornerstone. 2000; 3(1): 25-35.

WHO. Thailand Source: Globocan 2020. The Global Cancer Observatory. 2021:2.

กริชา ไม้เรียง. การรักษามะเร็งทางนรีเวชแบบอนุรักษ์ภาวะเจริญพันธุ์. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2019; 19 (ภาคผนวก) S209-S218

Oktay K, Harvey BE, Partridge AH, Quinn GP, Reinecke J, Taylor HS, et al. Fertility Preservation in Patients With Cancer: ASCO Clinical Practice Guideline Update. Journal of Clinical Oncology. 2018;36(19): 1994-2001.

Erin A. Keyser M, and Sloane W. Berger-Chen, MD. Gynecologic Issues in Children and Adolescent Cancer Patients and Survivors. OBSTET GYNECOL. 2018; 132:11.

Muñoz M, Santaballa A, Seguí MA, Beato C, de la Cruz S, Espinosa J, et al. SEOM Clinical Guideline of fertility preservation and reproduction in cancer patients (2016). Clinical and Translational Oncology. 2016;18(12):1229-36.

Pecorelli S. Revised FIGO staging for carcinoma of the vulva, cervix, and endometrium. International journal of gynaecology and obstetrics: the official organ of the International Federation of Gynaecology and Obstetrics. 2009;105(2):103-4.

หน่วยมะเร็งวิทยานรีเวช ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา. รายงานประจำปี 2562. คณะแพทยศาสตร์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2562.

Benard VB, Watson M, Castle PE, Saraiya M. Cervical carcinoma rates among young females in the United States. Obstetrics and gynecology. 2012; 120(5): 1117-23.

Pelkofski E, Stine J, Wages NA, Gehrig PA, Kim KH, Cantrell LA. Cervical Cancer in Women Aged 35 Years and Younger. Clin Ther. 2016;38(3):459-66.

Ushijima K. Current status of gynecologic cancer in Japan. jgo. 2009;20(2):67-71.

Son J, Carr C, Yao M, Radeva M, Priyadarshini A, Marquard J, et al. Endometrial cancer in young women: prognostic factors and treatment outcomes in women aged ≤40 years. International Journal of Gynecologic Cancer. 2020; 30(5):631-9.

Guo F, Levine L, Berenson A. Trends in the incidence of endometrial cancer among young women in the United States, 2001 to 2017. Journal of Clinical Oncology. 2021; 39(15_suppl): 5578-.

Sakboonyarat B, Pornpongsawad C, Sangkool T, Phanmanas C, Kesonphaet N, Tangthongtawi N, et al. Trends, prevalence and associated factors of obesity among adults in a rural community in Thailand: serial cross-sectional surveys, 2012 and 2018. BMC Public Health. 2020;20(1):850.

Schmandt RE, Iglesias DA, Co NN, Lu KH. Understanding obesity and endometrial cancer risk: opportunities for prevention. American journal of obstetrics and gynecology. 2011; 205(6): 518-25.

Won S, Kim MK, Seong SJ. Fertility-sparing treatment in women with endometrial cancer. Clin Exp Reprod Med. 2020; 47(4): 237-44.

Lalrinpuii E, Bhageerathy PS, Sebastian A, Jeyaseelan L, VinothaThomas, Thomas A, et al. Ovarian Cancer in Young Women. Indian journal of surgical oncology. 2017; 8(4): 540-7.

Bentivegna E, Gouy S, Maulard A, Pautier P, Leary A, Colombo N, et al. Fertility-sparing surgery in epithelial ovarian cancer: a systematic review of oncological issues. Annals of oncology : official journal of the European Society for Medical Oncology. 2016; 27(11): 1994-2004.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31