ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมและภาวะความสามารถของสมองบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุ ตำบลนามะเฟือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, ภาวะสมองเสื่อม, ภาวะความสามารถของสมองบกพร่องเล็กน้อย, ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อม, ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะความสามารถของสมองบกพร่องเล็กน้อยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะสมองเสื่อม และภาวะความสามารถของสมองบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุ โดยทำการสำรวจผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่เขตเทศบาล ตำบลนามะเฟือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ได้กลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 534 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย และแบบประเมินภาวะพุทธิปัญญาฉบับภาษาไทย ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดย Chi-Square Test และการทดสอบ Fisher's Exact Test โดยกําหนดค่านัยสําคัญทางสถิติที่ p-value = 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุมีอัตราร้อยละ 0.7 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะ สมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา การมีอาชีพทำในปัจจุบัน จำนวนชนิดของยารักษาโรคประจำตัวมากกว่า 5 ชนิด และการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ความชุกของภาวะความสามารถของสมองบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุ มีอัตราร้อยละ 3.4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะความสามารถของสมองบกพร่องเล็กน้อย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p < 0.05) ได้แก่ เพศ การมีโรคประจำตัว และจำนวนชนิดของยารักษาโรคประจำตัวมากกว่า 5 ชนิด
ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการกำหนดแนวทางการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน เน้นการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุที่เริ่มมีภาวะความสามารถของสมองบกพร่องเล็กน้อย เช่น การส่งเสริมอาชีพในผู้สูงอายุ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง สนับสนุนการเข้ากิจกรรมทางสังคม เป็นต้น
References
Wangtongkum, S., Sucharitakul, P., Silprasert, N., & Inthrachak, R. Prevalence of Dementia among population Age Over 45 Years in Chiang Mai, Thailand. Journal of the Medical Association of Thailand 2008; 91(11):1685–1690.
รติมา คชนันทน์. เอกสารวิชาการ สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย[อินเตอร์เน็ต]กรุงเทพฯ. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1617171499-823_0.pdf
จารุวรรณ ฉิมมานิตย์. พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ หมู่ที่3 และ4 ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัย บูรพา; 2551
ชัชวาล วงค์สารี. ผลการทบการเกิดภาวะสมองเสื่อมต่อผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2560:680-687.
กระทรวงสาธารณสุข.ข้อมูลประชากรกลางปีพ.ศ. 2564 -65 [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี:กระทรวงสาธารณสุข 2565 [เข้าถึงเมื่อ 30 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://nbdatacenter.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=populationpyr amid.php&cat_id=ac4eed1bddb23d6130746d62d2538fd0&id=db4e8d42e1234a75bd03d430c31feb2f
กลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพสมอง train the brain Forum Thailand (2537). แบบวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุของไทย Thai geriatric depression scale: TDGS) สารศิริราช, 46, 1-9
สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุกรมการแพทย์. แนวทางการจัดการดูแลผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมแบบครบวงจร [Practice guidelines of comprehensive care management for older person with dementia]. กรุงเทพฯ: สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จ-พระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์; 2562.
ฤทัยรัตน์ แสงนา, กนกพร ภิญโญพรพาณิช, วิชุดา จิรพรเจริญ, ชัยสิริ อังกุระวรานนท์. การศึกษาคุณสมบัติการวัดของเครื่องมือ 14 ข้อคำถามในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2563; 28(3): 199-210.
วันดี โภคะกุล, จิตนภา วาณิชวโรตน์. การดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมสำหรับบุคลากรสาธารณสุข [Dementia patient care for health personnel]. กรุงเทพฯ: สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์; 2551.
Hemrungrojn, S. (2011). Montreal cognitive assessment (MOCA). Retrieved from http://www. mocatest.org/pdf files/test/MoCA-Test-Thai.pdf
วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. การป้องกันการประเมินและการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม.บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ:คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.;2556.
ภรัญวิทย์ อนันต์ดิลกฤทธิ์. ภาวะสมองเสื่อม. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2564:392-397.
ลลิตา พนาศร,สุธรรม นันทมงคลชัย,ศุภชัย ปิติกุลตัง, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์,พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุจังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558:197-208.
ศิรสา เรืองฤทธิ์ชาญกุล. การใช้ยาร่วมกันหลายขนานในผู้สูงอายุ. วารสารการแพทย์และการสาธารณสุข.กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยมหิดล;2561:95-102.
กรวรรณ ยอดไม้. บทบาทครอบครัวกับการดูแลผู้สูงอายุภาสะสมองเสื่อมในชุมชน. วารสารการพยาบาล กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560: 189-200.
Panza F, Capurso C, D’Introno A, Colacicco AM, Capurso A, Solfrizzi V. Prevalence rates of mild cognitive impairment subtypes and progression to dementia. J Am Geriatr Soc 2006; 54(9): 1474-5
ปิยะภร ไพรสนธิ์, พรสวรรค์ เชื้อเจ็ดตน. ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับภาวการณ์รู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงราย. วารสารสภาการพยาบาล.มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง; 2560:64-78.
Lee LK, Shaha S, Chin AV, Yusoff NAM, Rajab NF, Sziz SA. Prevalence of gender disparities and predictors affecting the occurrence of mild cognitive impairment (MCI). Arch Gerontol Geriatr 2012; 54(1): 185-91.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร