ผลของการใช้โปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับสื่อวีดีทัศน์ต่อความรู้และความวิตกกังวล ในผู้ป่วยระยะเตรียมการผ่าตัดต่อมไทรอยด์แผนกหู คอ จมูก โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • จุฬาภรณ์ ศรีเมือง โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยก่อนผ่าตัดต่อมไทรอยด์, การให้ข้อมูลอย่างแบบมีแบบแผนโดยสื่อวีดีทัศน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้และความวิตกกังวล ระหว่างกลุ่มทดลองและ  กลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองได้รับข้อมูลอย่างมีแบบแผนโดยสื่อวีดีทัศน์ และกลุ่มควบคุม ได้รับข้อมูลตามวิธีปกติ         กลุ่มประชากรที่ศึกษาคือ ผู้ป่วย ที่นัดมารับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ แบบวางแผนล่วงหน้า (elective operation) ที่แผนกหู คอ จมูกโรงพยาบาลอุดรธานีตั้งแต่เดือน มิถุนายน ถึง กันยายน พ.ศ. 2564คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีใช้สูตร Two      dependent means ของ Application N4Studies ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 60 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติในการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มควบคุม 30 คน และกลุ่มทดลอง 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับสื่อวีดีทัศน์และแผ่นพับ เรื่องการผ่าตัดก้อนต่อมไทรอยด์ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้ เรื่องการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ แบบประเมินความวิตกกังวลและซึมเศร้า (Thai HADS) และแบบประเมินความพึงพอใจผู้มารับการผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีแจกแจงความถี่ ร้อยล่ะ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม 2 กลุ่ม โดยใช้สถิติ Independent T-Test และเปรียบเทียบระยะก่อนและหลังการทดลองโดยใช้สถิติ Paired sample T-Test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 44.6 ปี ไม่มีโรคประจำตัวร้อยละ 75 ระยะเวลาเป็นก้อนต่อมไทรอยด์ 1-3 ปี ร้อยละ 38.3 ไม่เคยรับการผ่าตัด ร้อยละ 46.7 ภายหลังได้รับความรู้กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้สูงกว่าก่อนให้ข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001 และ p<0.001) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.01) ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ภายหลังให้โปรแกรมลดลงกว่าก่อนให้ข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001 และ p<0.001) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง 2 กลุ่ม พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.045) ส่วนคะแนนความพึงพอใจพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

สรุปได้ว่าการให้ข้อมูลและความรู้ผู้ป่วยก่อนผ่าตัดต่อมไทรอยด์มีความจำเป็น โดยเฉพาะการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนโดยสื่อวีดีทัศน์ช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับโรคและช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยมีความพึงพอใจในรูปแบบการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนโดยสื่อวีดีทัศน์ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้อย่างมั่นใจ

 

References

วิทกาญจน์ เกตุแก้ว. การศึกษาการผ่าตัดไทรอยด์ข้างเดียวด้วยกล้องวีดีทัศน์ผ่านทางรักแร้เปรียบเทียบกับการผ่าตัดไทรอยด์ข้างเดียวแบบเปิด. เอกสารประกอบการสอนภาควิชาโสต ศอ นาสิก มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.

ศักดิ์ชัย ธีระวัฒนสุข. ผลการดูแลและค่าใช้จ่ายในผู้ป่วยก้อนไทรอยด์ที่ได้รับการผ่าตัดในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี. ว.การแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2556; 2:24-30

นัฐวุฒิสมบูรณ์ทรัพย์.การศึกษาการศึกษาเปรียบเทียบผลการผ่าตัดไทรอยด์โดยการใส่สายระบายเลือดและไม่ใส่สายระบายเลือดในโรงพยาบาลพุทธโสธร. ว.ศูนย์การแพทย์ทางคลินิคโรงพยาบาลพระปกเกล้า 2559; 2:102-109

นพวรรณ บุญบำรุง. ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษวิกฤตการพยาบาล. ว.พยาบาลสงขลานครินทร์ 2560; 2:160-168

Maranets I, Kain ZN. Preoperative anxiety and intraoperative anesthetic requirements. Anesth Analg. 1999; 89(6): 1346-51.

พรทิพย์ ศุภมณี, วิไลพรรณ สมบุญตนนท์, อุมาพร ลัฐิกาวิบูลย์, กิติรัตน์ เตชะไตรศักดิ์. ประสิทธิผลของการเยี่ยมเพื่อให้ความรู้ก่อนผ่าตัดต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดใหญ่ทางนรีเวชกรรม โรงพยาบาลศิริราชวารสารพยาบาลศาสตร์ปี 28(1): 47-57

พรทิวา มีสุวรรณ, ขนิษฐา นาคะการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยความต้องการข้อมูลและความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนได้รับการผ่าตัดหูคอ จมูก ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2551; 26(1):185-193.

ดวงดาว อรัญวาสน์, เทพกร สาธิตการมณีการให้ข้อมูลก่อนผ่าตัดทั้งวิธีการปกติและการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนสามารถลดความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วย. ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิสัญญีสาร 2555; 38(2): 102-108.

สมศิริ เกษตรเวทิน,ณัฐพัชร์ พรหมมินทร์ ผลของการให้ข้อมูลโดยสื่อวีดีทัศน์ต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมก่อนผ่าตัด. ว.แพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2560, 25(2):162-170

ศรีประภา จันทร์มีศรี.ความต้องการและการได้รับข้อมูลของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดในระยะก่อน ผ่าตัด ระยะผ่าตัด และระยะหลังผ่าตัด. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สงขลา; 2551.

เพ็ญศรี จะหนู.ผลการใช้สื่อวีดีทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ต่อระดับความรู้และความพึงพอใจในผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก ห้องผ่าตัดหู คอ จมูก โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนางานของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ; 2558.

ศูนย์คอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาลอุดรธานี รายงานสถิติ ผู้ป่วยนอก.โรงพยาบาลอุดรธานี, พ.ศ. 2560-2564.

ธนา นิลชัยโกวิทย์, มาโนช หล่อตระกูล อุมาภรณ์ ไพศาลสุทธิเดช. การพัฒนาแบบสอบถาม Hospital Anxiety and Depression Scale ฉบับภาษาไทยในผู้ป่วยมะเร็ง.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย2539; 41(1)

สุพรทิพย์ ธนาโรจน์กุล. ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยโสต ศอนาสิกโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต; 2563.

กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร. อรุณการพิมพ์; 2550.

งามพิศ ธนไพศาล. ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมในการผ่าตัดและดนตรีบำบัดต่อความ วิตกกังวลและความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ได้รับการวางสายล้างไตทางหน้าท้องชนิดถาวร โรงพยาบาลศรีนครินทร์. [รายงานการศึกษาอิสระ] ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่. คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

จีรพร อินนอก. ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความปวด และความทุกข์ทรมานในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2551.

สุเมธา ขวัญส่ง. การพัฒนาข้อมูลเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยก่อนผ่าตัดทวารใหญ่ ศูนย์มะเร็งอุดรธานี.รายงานการศึกษาอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่.คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31