ศึกษาประเมินสภาพรถตู้โดยสารสาธารณะและปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของพนักงานขับรถตู้โดยสารสาธารณะจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อรณิชา ไก่จันทร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วรางคณา สังสิทธิสวัสดิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

สภาพรถตู้โดยสารสาธารณะ, ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19, โรคโควิด-19

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ดำเนินการเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 เพื่อศึกษาประเมินสภาพรถตู้โดยสารสาธารณะและปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของพนักงานขับรถตู้โดยสารสาธารณะจังหวัดขอนแก่นที่ขนส่งผู้โดยสารข้ามจังหวัด เก็บข้อมูลด้วยแบบสังเกตสภาพรถตู้ฯจำนวน 54 คัน และแบบสัมภาษณ์พนักงานขับรถตู้ฯ จำนวน 55 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมนและเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการศึกษาพบว่า การจัดสภาพรถตู้โดยสารสาธารณะมีการป้องกันโรคโควิด-19อยู่ในระดับดี (x̄ =8.48, SD=1.11)ความรู้ในการป้องกันโรคโควิด-19อยู่ในระดับสูง (x̄ =12.13, SD=1.12) เจตคติในการป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ในระดับสูง (x̄ =2.98, SD=0.13)และพฤติกรรมในการป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ในระดับสูง (x̄ =2.96, SD=0.19) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนและความรู้มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับพฤติกรรมในการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.239, p=0.030) และ (r= 0.335, p=0.012) ตามลำดับ

สรุปผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนและความรู้ในการป้องกันโรคโควิด-19

 

References

กระทรวงสาธารณะสุข. กรมควบคุมโรค.สถานการณ์โรคโควิด-19 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุขและปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 16 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/115092021061 0033910.pdf

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน. รายงานสถานการณ์โรคโควิด-19 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 16 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no536-220664.pdf

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ.ขสมก.รายงานสถานการณ์โควิด-19 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bmta.co.th/th/events

สุขสรรณ์ ท้าวเม้ย และราเชนทร์ นพณัฐวงศกร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการให้บริการของพนักงานขับรถโดยสารสาธารณะองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตการเดินรถที่ 6. ว.บัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น 2563; 7(2): 260-271.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (Covid Free Setting) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 16 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.anamai.moph.go.th/webupload/xdccaaf3d7f6ae30ba6ae1459 eaf3dd66/m_document/6740/35249/file_down load/a8e02d5 bcff95d75a4a9b96041aeaf0a.pdf

Bloom BS et al. Hand book on formative and summative evaluation of student learning. NewYork; McGraw Hill; 1971

ชูใจ คูหารัตนไชย. สถิติเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร. 2542.

กรมขนส่งทางบก. การเลือกใช้บริการรถโดยสารสาธารณะถูกกฎหมาย [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dlt.go. th/th/public-news/view.php?did=2461

ณัฎฐวรรณ คำแสน. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. ว.วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2564; 4(1) : 33-47.

ดรัญชนก พันธ์สุมาและพงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ว.ศรีนครินทร์เวชสาร 2564; 36(5): 597-604.

อภิวดี อินทเจริญ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุลและสุวรรณา ปัตตะพัฒน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. ว.สภาการสาธารณสุขชุมชน 2564; 3(2): 19-30.

ฮูดา แวหะยี. การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ของวัยรุ่นในเขตตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. ว.สภาการสาธารณสุขชุมชน 2564; 6(4): 158-168.

รัฐบาลไทย. ศบค. เห็นชอบยกเลิก พรก.ฉุกเฉินฯ มอบ สธ.เสนอแผนปฏิบัติการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รองรับการเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ต่อที่ประชุมครม. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 12 พฤษภาคม 2565].เข้าถึงได้จาก: https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/59595

ชญาน์นันท์ ใจดี, เสริมศรี สันตติ และชื่นฤดี คงศักดิ์ตระกูล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจของผู้ดูแลเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็ก. ว.รามาธิบดีพยาบาลสาร 2564; 18(3):389-403.

นงนุช เสือพูมี. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้กับพฤติกรรมการป้องกัน วัณโรคปอดของประชาชน ตำบลสวนกล้วย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. ว.พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข2556; 23(2): 79-93.

จารุวรรณ แหลมไธสง. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจของผู้ดูแลเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็ก กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31