ความสัมพันธ์ระหว่าง Adenoidal nasopharyngeal ratio (ANR) กับภาวะหยุดหายใจระหว่างหลับในเด็กที่มีภาวะต่อมอะดีนอยด์โต

ผู้แต่ง

  • จักรินทร์ โชติกลาง กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

สัดส่วนช่องหลังโพรงจมูก, ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ, ต่อมอะดีนอยด์โต

บทคัดย่อ

ภาวะต่อมอะดีนอยด์โตเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในประชากรเด็ก การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง Adenoidal nasopharyngeal ratio (ANR) กับภาวะหยุดหายใจระหว่างหลับในเด็กที่มีภาวะต่อม อะดีนอยด์โตในโรงพยาบาลอุดรธานี ประเทศไทยการวิจัยนี้ทำการศึกษาย้อนหลังในข้อมูลผู้ป่วยเด็กที่มีอายุระหว่าง 2- 8 ปีที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะต่อมอะดีนอยด์โตในประวัติการรักษาของโรงพยาบาลอุดรธานีตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยเก็บประวัติเกี่ยวกับอาการต่างๆ เช่น การกรน น้ำมูก คัดจมูก หายใจเสียงดัง หายใจทางปาก การง่วงนอนในช่วงกลางวันและภาวะการเจริญเติบโตถดถอย ร่วมกับการวัด Adenoidal nasopharyngeal ratio (ANR) จากเอกซเรย์ทั่วไปบริเวณ

อะดีนอยด์และแบ่งตามเกณฑ์ Adenoidal nasopharyngeal ratio (ANR) เป็นมีการอุดตันเล็กน้อย (ANR <0.7) การอุดตันปานกลาง (ANR 0.7-1.1) และการอุดตันมาก (ANR > 1.1) ใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Chi-square test ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์

ผลการศึกษาผู้ป่วยเด็กอายุ 2-8 ปี จำนวน 131 คนเป็นเพศชาย 80 คน ร้อยละ 61.1 คิดเป็นสัดส่วน ชายต่อหญิงเป็น 1.56:1 อายุเฉลี่ย 4.8 ปี (S.D.=1.7) ในผู้ป่วยทุกคนพบอาการนอนกรน (snoring) ร้อยละ 100 ภาวะหยุดหายใจระหว่างหลับ (obstructive sleep apnea ) ร้อยละ 61.1 มีน้ำมูก (nasal discharge) ร้อยละ 55.7 จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่าไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างเพศ, อายุ และ ANR ที่แตกต่างกันกับภาวะหยุดหายใจระหว่างหลับ (p=0.494, p=0.116 และ p=0.352 ตามลำดับ)

สรุป เอกซเรย์ทั่วไปบริเวณอะดีนอยด์เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการประเมินภาวะอะดีนอยด์โตโดยเฉพาะในประเทศที่มีทรัพยากรจำกัด เครื่องมือนี้สามารถให้ข้อมูลการวัดสัดส่วน (ANR ratio) เพื่อประเมินภาวะอะดีนอยด์โตได้อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจผ่าตัด ถึงแม้ว่าในการศึกษานี้จะพบว่าไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างอายุ, เพศ, ANR ที่แตกต่างกันกับภาวะหยุดหายใจระหว่างหลับ

 

References

Peter JR. The adenoid and adenoidectomy. In: Michael G, George GB, Martin JB, Ray C, John H, Nicholas SJ.et al., editors. Scott-Brown's Otolaryngology. 7thed., Vol. 1. London: Hodder Arnold; 2008. p. 1095-101.

Ourenço EA, Lopes KC, Pontes A, Oliveira MH, Umemura A, Vargas A. Comparison between radiological and nasopharyngolaryngoscopic assessment of adenoid tissue volume in mouth breathing children. Rev Bras Otorrinolaringol2005; 71: 23-8.

Jaw TS, Sheu RS, Liu GC, Lin WC. Development of adenoids: A study by measurement with MR images. Kaohsiung J Med Sci 1999; 15:12-8.

Görür K, Döven O, Unal M, Akkus N, Ozcan C. Preoperative and postoperative cardiac and clinical findings of patients with adenotonsillar hypertrophy. Int J PediatrOtorhinolaryngol2001;59:41-6.

Muzumdar H, Arens R. Diagnostic issues in pediatric obstructive sleep apnea. Proc Am ThoracSoc2008;5:263-73.

Chervin RD, Ruzicka DL, Giordani BJ, Weatherly RA, Dillon JE, Hodges EK, Marcus CL, Guire KE. Sleep-disordered breathing, behavior, and cognition in children before and after adenotonsillectomy. Pediatrics 2006; 117:e769-e778.

Gozal D. Sleep-disordered breathing and school performance in children. Pediatrics 1998;102:616-620.

Paulussen C, Claes J, Claes G, Jorissen M. Adenoids and tonsils, indications for surgery and immunological consequences of surgery. Acta OtorhinolaryngolBelg2000;54:403-8.

Mlynarek A, Tewfik MA, Hagr A, Manoukian JJ, Schloss MD, Tewfik TL,etal.Lateral neck radiography versus direct video rhinoscopy in assessing adenoid size. J Otolaryngol2004;33:360-5.

Oluwole M, Mills RP. Methods of selection for adenoidectomy in childhood otitis media with effusion. Int J PediatrOtorhinolaryngol1995;32:129-35.

Orji FT, Ezeanolue BC. Evaluation of adenoidal obstruction in children: Clinical symptoms compared with roentgenographic assessment. J LaryngolOtol 2008; 122: 1201-5.

Kolo ES, Ahmed AO, Kazeem MJ, Nwaorgu OG. Plain radiographic evaluation of children with obstructive adenoids. Eur J Radiol 2011;79:e38-41.

Kurien M, Lepcha A, Mathew J, Ali A, Jeyaseelan L. X-rays in the evaluation of adenoid hypertrophy: It's role in the endoscopic era. Indian J Otolaryngol Head Neck Surg 2005; 57: 45-7.

Feres MF, Hermann JS, Sallum AC, Pignatari SS. Radiographic adenoid evaluation - Suggestion of referral parameters. J Pediatr (Rio J) 2014; 90: 279-85.

Kolo ES, Salisu AD, Tabari AM, Dahilo EA, Aluko AA. Plain radiographic evaluation of the nasopharynx: Do raters agree? Int J PediatrOtorhinolaryngol 2010; 74: 532-4.

Cohen LM, Koltai PJ, Scott JR. Lateral cervical radiographs and adenoid size: Do they correlate? Ear Nose Throat J 1992; 71: 638-42.

Wang Jing, Zhoa Yu, Yang Wen, ShenTian, Xue Pei, Yan Xiaohong, et al. Correlations between obstructive sleep apnea and adenotonsillar hypertrophy in children of different weight status. Scientifc Reports. Nature research 2019; 9: 11455.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31