ผลของการใช้โปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะการใช้ยาหยอดตาต่อพฤติกรรม ความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อหิน โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • รัตนา ค้าขาย กลุ่มงานการพยาบาลตรวจรักษาพิเศษ ห้องตรวจตา โรงพยาบาลอุดรธานี
  • ภาวนา ดาวงศ์ศรี กลุ่มงานการพยาบาลตรวจรักษาพิเศษ ห้องตรวจตา โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

ต้อหิน, โปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจและการพัฒนาทักษะ, พฤติกรรมความร่วมมือในการรักษา

บทคัดย่อ

การวิจัยก่อนทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อน-หลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ พฤติกรรมความร่วมมือในการรักษา ความพึงพอใจก่อนและหลังใช้โปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจและการพัฒนาทักษะในการใช้ยาหยอดตา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อหินโรงพยาบาลอุดรธานี คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดย G*Power 32 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้เรื่องโรคต้อหิน แบบประเมินทักษะการใช้ยาหยอดตา แบบประเมินความพึงพอใจ โปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะการใช้ยาหยอดตา ที่ประยุกต์จากแนวคิดของฟิชเชอร์ (Fisher) ตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีอัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินความรู้ แบบประเมินทักษะ และแบบประเมินความพึงพอใจเท่ากับ 0.75, 0.70 และ 0.84 ตามลำดับ นำเสนอข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired T-test

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 32 คน เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.3 อายุเฉลี่ย 63.6 ปี หลังใช้โปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะการใช้ยาหยอดตา กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคต้อหินเพิ่มขึ้นจาก 11.2 คะแนน (SD=2.2) เป็น 14.3 คะแนน (SD=0.9) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ค่าคะแนนเฉลี่ยด้านทักษะการใช้ยาหยอดตาเพิ่มขึ้นจาก 34.7 คะแนน (SD=3.3) เป็น 37.0 คะแนน (SD=2.9) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจเพิ่มขึ้นจาก 40.8 คะแนน (SD=4.0) เป็น 41.8 คะแนน (SD=4.2) แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p=0.069)

สรุปผล ผลของการใช้โปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจและการพัฒนาทักษะการใช้ยาหยอดตา ต่อพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อหิน พบว่าคะแนนเฉลี่ยระดับความรู้และทักษะการใช้ยาหยอดตาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อผู้ให้บริการเพิ่มขึ้นแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไปควรมีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพระยะยาวขึ้น เช่น 6 เดือนถึง 1 ปี เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกถึงความเชื่อด้านการรับรู้ อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมการใช้ยาหยอดตา และควรมีการประเมินผลลัพธ์การรักษาในเรื่องของค่าความดันลูกตา ระดับการมองเห็น การพยากรณ์ของโรคโดยแพทย์ผู้รักษา ความร่วมมือในการรักษาและการมีวินัยในการหยอดตา เป็นต้น

 

References

สมพร จันทรา. “ต้อ” ปัญหาตาในผู้สูงอายุ. Healthtoday Thailand. 2553; 10(110): 88-91.

สมสงวน อัษญคุณ, ประภัสสร ผาติกุลศิลา, นภาพร ตนานุวัฒน์, ดิเรก ผาติกุลศิลา, เกษรา พัฒนพิบูลย์บรรณาธิการ. โรคต้อหิน Glaucoma โรคตาที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติ. ฉบับปรับปรุง. เชียงใหม่: วิทอินดีไซน์; 2556: 94-111.

อาวิกา อายุมั่น, ดารณี เชี่ยวชาญธนกิจ. การใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเพื่ออธิบายพฤติกรรมการใช้ยาควบคุมความดันตาของผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อหินในคลินิกโรคตา โรงพยาบาลรามาธิบดี. รามาธิบดีเวชสาร. 2561; 41(1)

สมสงวน อัษญคุณ,ประภัสสร ผาติกุลศิลา, นภาพร ตนานุวัฒน์, ดิเรก ผาติกุลศิลา, เกษรา พัฒนพิฑูรย์. โรคตาที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติ. เชียงใหม่: วิทอินดีไซน์; 2552.

Wishal D.Ramdas, Roger C.W.Wolfs, Albert Hofman. Lifestyle and Risk of Developing Open Angle Glaucoma. Arch Ophthalmol; 2011: 129(6): 767-772.

Quigley HA, Broman. The Number of people with glaucoma worldwide in 2010 and 2020: British Jounal of Ophthalmology; 2006; 93(3). 262-267

พรรักษ์ ศรีพล. ความชุกของภาวะสูญเสียการมองเห็นในผู้ป่วยต้อหิน. ชัยภูมิเวชสาร. 2561; 38(2): 46-55.

ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์,สุดารัตน์ ใหญ่สว่าง,ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์, สมสงวน อัษญคุณ บรรณาธิการ. โรคต้อหิน(Glaucoma). ตำราจักษุวิทยา. กรุงเทพฯ: ที คิว พี; 2555: 171-221.

หทัยกาญจน์ เชาวกิจ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อหิน. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] สาขาวิชาการพยาบาลศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553

งานสารสนเทศโรงพยาบาลอุดรธานี ข้อมูลสถิติห้องตรวจตา โรงพยาบาลอุดรธานี พ.ศ. 2563

สุวัฒนา ชุณหคล้าย, สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาและความดันตาของผู้ป่วยโรคต้อหิน. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. Graduate Research Conference 2014 Khonkaen University]. 1821-1822. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564]; เข้าถึงได้จาก: https://gsbooks.gs.kku.ac.th/57/grc15/files/mmp83.pdf

Fisher W.A., Fisher J.D, Harman J. The Information-Motivation- Behavioral Skills Model: A general social psychological approach to understanding and promoting health behavior. In: Suls J, Wallston K.A editors. Social psychological foundations of health and illness. Malden : Blackwell; 2003: 82-106.

สิทธิพรร์ สุนทร, วัชรินทร์ สุทธิศัย, พงษ์ศักดิ์ ซิมมอนด์ส, รัชนิดา ไสยรส, ภัณฑิลา น้อยเจริญ. แนวคิดและกระบวนทัศน์ในการกำหนดขนาดตัวอย่างด้วย G*Power. ว.สหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา 1; 2562: 8(1).

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ยู แอนด์ ไอ อินเตอร์ มีเดีย; 2553.

เพชรรัตน์ ศิริสุวรรณ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. [วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์]. ราชาวดีสาร ; 2561: 8(1)

ศิริรัตน์ นาคงาม, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, นิรัตน์ อิมามี. การประยุกต์แบบจำลองข่าวสาร แรงจูงใจ และทักษะพฤติกรรมในการรับประทานยาของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารสุขศึกษา. 2559; 39(133).

ศิริพร ลวณะสกล. ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะต่อพฤติกรรม การคว่ำหน้าในผู้ป่วยหลังทำผ่าตัดจอประสาทตาและฉีดแก๊ส. ว.วิชาการแพทย์เขต 11. 2562; 33(3)

นัสชฎาพร นันทะจันทร์, นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล, นงค์คราญ วิเศษกุล. ผลของการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะต่อความมีวินัยในการรับประทานยาต้านไวรัสในเยาวชนที่ติดเชื้อเอชไอวี. พยาบาลสาร. 2558; 42(3).

ศิริลักษณ์ กิจศรีไพศาล, ปรัศนีย์ พันธุ์กสิกร. ความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยต้อหิน: การวิจัยเชิงคุณภาพ. ว.สภาการพยาบาล. 2562; 34(4).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31