คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ใช้การรักษาแบบประคับประคอง อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • เย็นอุรา สัตยาวัน กลุ่มงานการแพทย์ โรงพยาบาลหนองวัวซอ

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย, การรักษาแบบประคับประคอง

บทคัดย่อ

โรคไตวายเรื้อรัง จัดอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของโลก เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตที่ต่ำ อัตราการเสียชีวิตสูงเมื่อเทียบกับโรคเรื้อรังอื่นๆ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต และการรับรู้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่รักษาแบบประคับประคอง เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยที่มารับบริการคลินิกโรคไตเรื้อรัง จำนวน 34 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม KDQOL-SFTM เวอร์ชัน 1.3 ฉบับภาษาไทย เป็นคำถามเกี่ยวข้องคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง 19 ด้าน และ 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านข้อมูลทั่วไป ส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 64.71 มีอายุเฉลี่ย 74 ปี (S.D. = 7.08, Range 62 - 86) ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสแต่งงาน ร้อยละ 82.35 และไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย ต้องอาศัยผู้ดูแล คิดเป็นร้อยละ 58.22 ด้านโรคร่วมที่พบมากที่สุดคือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และไขมันในเลือดสูง ร้อยละ 41.78, 29.41 และ 14.71 ตามลำดับ มีระยะเวลาในการรักษาแบบประคับประคอง เฉลี่ย 17.8 เดือน (S.D.=18.54, Range 3 - 72) (2) ด้านคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่รักษาแบบประคับประคอง อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี มีค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมในระดับปานกลาง (x̄=51.76, S.D.=14.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตด้านการสนับสนุนจากสังคมมากที่สุดในระดับดี (x̄=85.29, S.D.=17.13) รองลงมาคือด้านความพึงพอใจที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ (x̄=76.47, S.D.=15.71) และด้านความพึงพอใจต่อการรักษา (x̄=76.47, S.D.=15.93) ส่วนด้านที่ต่ำที่สุดคือ ด้านกิจกรรมทางเพศ (x̄=19.12, S.D.=16.35) และด้านความคิดเห็นด้านสุขภาพทั่วไป (x̄=20.59, S.D.=20.42) (3) การรับรู้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่รักษาแบบประคบประคอง พบว่า คุณภาพชีวิตประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1) คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย 2) คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ และ 3) คุณภาพชีวิตด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

การทำวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการพัฒนาโปรแกรมหรือรูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ใช้การรักษาแบบประคับประคอง โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล ครอบครัว และชุมชน

 

References

Foley RN, Parfrey PS, Sarnak MJ. Epidemiology of cardiovascular disease in chronic renal disease. Journal of the American Society of Nephrology: JASN. 1998 Dec 1;9(12 Suppl):S16-23.

Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K, Ongaiyooth L, Vanavanan S, Sirivongs D, Thirakhupt P, Mittal B. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrology Dialysis Transplantation. 2010 May 1;25(5):1567-75.

ข้อมูลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง โรงพยาบาลหนองวัวซอ. ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (โปรแกรมคอมพิวเตอร์). เข้าถึงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564

Levey AS, Coresh J, Balk E, Kausz AT, Levin A, Steffes MW, Hogg RJ, Perrone RD, Lau J, Eknoyan G. National Kidney Foundation practice guidelines for chronic kidney disease: evaluation, classification, and stratification. Annals of internal medicine. 2003 Jul 15;139(2):137-47.

Davison SN, Levin A, Moss AH, Jha V, Brown EA, Brennan F, Murtagh FE, Naicker S, Germain MJ, O’Donoghue DJ, Morton RL. Kidney disease: improving global outcomes. Executive summary of the KDIGO Controversies Conference on Supportive Care in Chronic Kidney Disease: developing a roadmap to improving quality care. Kidney Int. 2015 Sep;88(3):447-59.

World Health Organization. Pain relief and palliative care. National Cancer Control Programmes. Policies and Managerial guidelines. 2002:83-91.

Mapes DL, Bragg-Gresham JL, Bommer J, Fukuhara S, McKevitt P, Wikström B, Lopes AA. Health-related quality of life in the Dialysis Outcomes and Practice Patterns Study (DOPPS). American Journal of Kidney Diseases. 2004 Nov 1; 44:54-60.

Liem YS, Bosch JL, Hunink MM. Preference-based quality of life of patients on renal replacement therapy: a systematic review and meta-analysis. Value in Health. 2008 Jul 1;11(4):733-41.

Wight JP, Edwards L, Brazier J, Walters S, Payne JN, Brown CB. The SF36 as an outcome measure of services for end stage renal failure. BMJ Quality & Safety. 1998 Dec 1;7(4):209-21.

Bakewell, B. A., Higgins, M., and Edmuns, E. Quality of life in peritoneal dialysis patients: Decline over time and association with clinical outcomes. Kidney International 61 (2002): 239–248.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement. 1970 Sep;30(3):607-10.

ขนิษฐา หอมจีน, พรรณทิพา ศักดิ์ทอง. การแปลและทดสอบกระบวนการคิดของแบบสอบถาม คุณภาพชีวิตในโรคไต ฉบับย่อภาษาไทย เวอร์ชัน 1.3. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2019 Jan 30;2(1):3-14.

Mc Millan SC, Mahon M. Measuring quality of life in hospice patients using a newly developed Hospice Quality of Life Index. Quality of Life Research. 1994 Dec;3(6):437-47.

อารยา องค์เอี่ยม, พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. วิสัญญีสาร 2561; 44(1): 36-42.

เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร. การวิจัยเชิงปฏิบัติการสำหรับการพยาบาลชุมชน. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา. 2558

Murtagh FE, Sheerin N. Conservative management of end-stage renal disease. Oxford: Oxford University Press; 2010 Mar 18.

นิภา อัยยสานนท์. การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต โดยการฟอกเลือด และการล้างไตทางช่องท้องอย่างถาวร (Doctoral dissertation, มหาวิทยาลัย ศิลปากร).

คัทลียา อุคติ และณัฐนิช จันทจิรโกวิท. ความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีการขจัดของเสียทางเยื่อบุช่องท้องต่อเนื่อง. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2550; 25(3):171-7.

Da Silva-Gane M, Wellsted D, Greenshields H, Norton S, Chandna SM, Farrington K. Quality of life and survival in patients with advanced kidney failure managed conservatively or by dialysis. Clinical Journal of the American Society of Nephrology. 2012 Dec 1;7(12):2002-9.

World Health Organization. The world health organization quality of life (WHOQOL)-BREF. World Health Organization; 2004.

Stewart AL, Teno J, Patrick DL, Lynn J. The concept of quality of life of dying persons in the context of health care. Journal of pain and symptom management. 1999 Feb 1;17(2):93-108.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31