ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • นงนุช หอมเนียม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • สุภาพร มะรังษี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • ดลนภา จิระออน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโกรกขี้หนู

คำสำคัญ:

โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ผู้ป่วยติดบ้าน, ผู้ป่วยติดเตียง

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบก่อนทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพ อสม. ต่อความรู้ และทักษะในการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงในชุมชน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ อสม. จำนวน 30 คน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เทศบาลเมืองชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และมีผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงอาศัยอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบดำเนินการวิจัยในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจที่สร้างขึ้นตามแนวคิดของ Gibson (1993) ร่วมกับการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มี 4 ขั้นตอน คือ      (1) การคนพบสภาพการณจริง (2) การสะทอนคิดอย่างมีวิจารณญาณ (3) การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเอง และ (4) การคงไวซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ และ 2) คู่มือการปฏิบัติของ อสม. ตามทักษะต่างๆ จำนวน 8 ทักษะ เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมโดยใช้แบบประเมินความรู้และแบบประเมินทักษะในการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน  ติดเตียงที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity Index; CVI) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าเท่ากับ 0.81 และ 0.85 ตามลำดับ และทดสอบค่าความเชื่อมั่นคูเดอร์ริชาร์ดสัน (KR-20) เท่ากับ 0.73 และ 0.86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติค่าที (Dependent t-test)

ผลการวิจัยพบว่า อสม. ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 52 ปี จบชั้นประถมศึกษาเป็นส่วนใหญ่ ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพ อสม. มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value  <0.001) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยภายหลังเข้าโปรแกรม อสม. มีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้เพิ่มขึ้นจากระดับปานกลาง  (x̄ = 12.97, S.D. = 1.54) เป็นระดับดี (x̄.= 16.07, S.D. = 2.32) และทุกคนสามารถผ่านการประเมินทักษะการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ในระดับดี ร้อยละ 100

 

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2554. นนทบุรี: กิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2557.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมอประจำบ้าน. นนทบุรี: มาดมน กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย. รายงานประจำปีสำนักอนามัยผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 2565 เมษายน 22] เข้าถึงได้จาก: https://eh.anamai.moph.go.th/th/anniversary-report

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 – 2570. [เข้าถึงเมื่อ 2565 ตุลาคม 27] สืบค้นจาก เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.g0.th

ณฐนนท บริสุทธิ์. การศึกษาสถานการณ์และทิศทางการพัฒนา อสม. ในยุคประเทศไทย 4.0. นนทบุรี: กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพปี พ.ศ. 2563; 2563.

วิเชียร เทียนจารุวัฒนา, กิตติพร เนาว์สุวรรณ และสายสมร วชิระประพันธ์. แนวทางการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คุณภาพเพื่อสนับสนุนกำลังคนด้านสาธารณสุขสำหรับระบบสุขภาพในอนาคต. ว.วิชาการสาธารณสุข. 2564;30(2): 353-366.

ชนิดา เตชะปัน, สิวลี รัตนปัญญา และสามารถ ใจเตี้ย. การเสริมสร้างพลังอำนาจในการดำเนินงานด้านสุขศึกษาชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย 2562; 9(1): 17-23.

คมสันต์ ธงชัย และสุชาดามณี บุญจรัส. การปรับตัวของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทบ้านท่าบ่อ ตำบลแจระแม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 2560; 9(3): 206-220.

ปิยรัตน์ ชูมี และ จิราพร อุดมกิจพิพัฒน์. ความรู้ด้านโรคเรื้อรังและสมรรถนะในการให้บริการด้านโรคเรื้อรังในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 2564; 7(4): 277-293

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโกรกขี้หนู. แบบฟอร์มการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเทศบาลเมืองชุมเห็ด. 2563.

Gibson, C. H. The process of empowerment in mothers of chronically ill children. Journal of Advanced Nursing. 1993;21(6): 1201-1210.

วีณา อิศรางกูร ณ อยุทธยา. การเสริมสร้างพลังอำนาจในการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. 2555; 2(2): 14-20.

กมลทิพย์ ทิพย์สังวาลย์, นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ และประจวบ แหลมหลัก. ผลโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน. ว.มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 2561; 25(1): 275-290.

เพ็ญจันทร์ แสนประสาน และคณะ. ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด. ว.พยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2558; 26(1): 119-132.

คณะทำงานพัฒนาคู่มือการดูแลระยะยาว: ผู้ป่วยติดบ้าน/ ติดเตียง. คู่มือการดูแลระยะยาว (Long Term Care) สำหรับทีมหมอครอบครัว. 2559. กรุงเทพฯ: บริษัท ไซเบอร์พริ้นท์ กรุ๊ป จำกัด.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มืออาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) กลุ่มดูแลผู้สูงอายุ (LTC). 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุปาณี เสนาดิสัย และวรรรภา ประไพพานิช. (บรรณาธิการ). การพยาบาลพื้นฐาน ปรับปรุงครั้งที่ 2. 2563.กรุงเทพฯ: บริษัท จุดทอง จำกัด.

Taylor, Carol. and others. Fundamentals of nursing the art and science of nursing care. 9th edition. Philadelphia: Lippincott Williams&Wilkins. 2018.

Bloom, B.S. Taxonomy of Education. David McKay Company Inc., New York; 1975.

ประวีนา เอี่ยมยี่สุ่น. การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain Assessment). ว.วิพิธพัฒนศิลป์ บัณฑิตศึกษา. 2564;1(2): 18-32.

วิภารัตน์ เบ็ญจมาศ การสร้างเสริมพลังอำนาจชุมชนดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานบ้านหนองบัว ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. ว.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2560;23(1): 31-43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31