คุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, หญิงตั้งครรภ์, โรคโควิด-19บทคัดย่อ
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อประชาชนทุกกลุ่ม รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการแผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 137 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) มีค่าความเที่ยง 0.65 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค 0.843 เก็บข้อมูลโดยหญิงตั้งครรภ์ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 137 คน ส่วนใหญ่อายุ 20-34 ปี ร้อยละ 70.07 สถานภาพสมรสและอยู่ด้วยกัน ร้อยละ 94.89 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 64.23 เป็นครรภ์หลังร้อยละ 59.12 อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ ร้อยละ 48.18 ส่วนใหญ่ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร้อยละ 50.36 คุณภาพชีวิตโดยรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับ ปานกลางร้อยละ 64.23 ส่วนรายด้านพบว่า ด้านร่างกาย ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับ ปานกลาง ร้อยละ 78.10, 75.18 และ 68.61 ตามลำดับ ส่วนด้านจิตใจส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีร้อยละ 54.01 และปานกลางร้อยละ 45.99 คุณภาพชีวิตในระดับไม่ดีด้านความสัมพันธ์ทางสังคม พบมากที่สุด ร้อยละ 5.84 รองลงมาเป็นด้านสิ่งแวดล้อมและด้านร่างกาย ร้อยละ 1.46 และ 0.73 ตามลำดับ แต่ไม่พบทางด้านจิตใจ สรุปได้ว่า ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 หญิงตั้งครรภ์มีคุณภาพชีวิตด้านจิตใจในเกณฑ์ดีและปานกลางรวมร้อยละ 100 ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมในระดับไม่ดีพบในสัดส่วนมากกว่าคุณภาพชีวิตด้านอื่นๆ
References
Lagadec N, Steinecker M, Kapassi A, Magnier AM, Chastang J, Robert S, et al. Factors influencing the quality of life of pregnant women: a systematic review. BMC Pregnancy Childbirth 2018;18(455):1-14.
WHO. "WHOQOL: Measuring Quality of Life" [internet]. 2020 [cited 2022 July]. Available from: https://www.who.int/tools/whoqol/whoqol-100
กรมสุขภาพจิต. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL–BREF–THAI) [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh. go.th/test
Morin M, Claris O, Dussart C, Frelat A, De Place A, Molinier L, et al. Health related quality of life during pregnancy: A repeated measures study of changes from the first trimester to birth. Acta Obstet Gynecol Scand 2019; 98(10): 1282–1291.
Zhenmin L. Message on COVID-19 from USG. United Nations 2020 [internet]. [cited 2020 April 22]. Available from: https://www.un.org/development/desa/statements/mr-liu/2020 /03/ message-on-covid-19
กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19): มาตรการสาธารณสุขและปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 29 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor 2//files/1.pdf
WHO. Impact of COVID-19 on people's livelihoods, their health and our food systems. [internet]. [cited 2021 July 3]. Available from: https://www.who.int/news/item/impact-of-covid-19-on-people's-livelihoods-their-health-and-our-food-systems
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 3 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://ittdash-board.nso.go.th/covid19_report_social.php
Krejicie RV, Morgan DW. Determination sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1973; 30: 607-610.
โรงพยาบาลอุดรธานี. สถิติการฝากครรภ์ปี พ.ศ. 2563. อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี; 2564.
พรนภา เจริญสันต์, ขวัญเรือน ด่วนดี, รังสินี พูลเพิ่ม. คุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. ว.พยาบาลทหารบก 2555;13(3):47-59.
สุนันทา ศรีมาคำ, จรัสศรี ธีระกุลชัย, จันทิมา ขนบดี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของสตรีตั้งครรภ์ที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์. ว.เกื้อการุณย์ 2561;25(2): 36-50.
กาญจนา ศรีสวัสดิ์. การพยาบาลสำหรับสตรีตั้งครรภ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2564.
มิ่งกมล อุตตสุรดี, สุรีย์พร กฤษเจริญ, ศศิธร พุมดวง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขของหญิงตั้งครรภ์. ว. พยาบาลสงขลานครินทร์ 2563;40(3):116-127.
อัญญา ปลดเปลื้อง, อมราวดี บุญยรัตน์, สุพรรณี กัณหดิลก, เพ็ญพักตร์ ลูกอินทร์, ณัฐพร อุทัยธรรม, พรพรรณ พรมประยูร และคนอื่นๆ. การวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์. ว. พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560;27(3):42-56.
สำนักนายกรัฐมนตรี. แถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137, ตอนที่ 24 ก (ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563).
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี. ระบบเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 29 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://r8way.moph.go.th/r8way/covid-19. php
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร