ผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้อื่นตามการรับรู้ของเหยื่อ
คำสำคัญ:
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, การรับรู้ของเหยื่อบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้อื่นตามการรับรู้ของเหยื่อ ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นเหยื่อผู้ได้รับผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้อื่นในชุมชนแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง เฉพาะผู้ที่มีความสมัครใจ และยินดีให้ข้อมูล จำนวน 50 คน ในช่วงเดือนมกราคม - มิถุนายน 2564 ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลแบบวิเคราะห์แก่นสาระ
ข้อค้นพบจากการศึกษาพบว่าผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นเพศหญิง ร้อยละ 80.00 อายุเฉลี่ย 42.50 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 39.68 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 71.43 และอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 71.82 ส่วนการรับรู้ผลกระทบของเหยื่อจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้อื่น จำแนกเป็น 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) ด้านร่างกาย ได้แก่ การบาดเจ็บเกิดบาดแผล การถูกทำร้าย ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วย เช่น ความดันโลหิตสูง 2) ด้านจิตใจอารมณ์ ได้แก่ ความเครียด ความกังวล ความรู้สึกท้อแท้ เซ็ง กลัว เบื่อหน่าย บีบคั้นทางจิตวิญญาณ เศร้า หวาดระแวง คิดทำร้ายตนเองและผู้อื่น 3) ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่สูญเสียทรัพย์สินเงินทอง สิ้นเปลืองค่ารักษาพยาบาล สูญเสียผลิตภาพ และสูญเสียค่าใช้จ่ายจากอุบัติเหตุ/ความรุนแรง การฟ้องร้องคดีความ การเป็นหนี้ชุมชน และ 4) ด้านสังคม ทั้งต่อผู้ได้รับผลกระทบเอง รวมทั้งครอบครัวและชุมชน ได้แก่ ความกลัว ขาดความไว้ใจ การทะเลาะ ความขัดแย้ง ความรุนแรง การเลิกร้างกับคู่ครอง การเลียนแบบพฤติกรรม ขาดความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต ภาระดูแลซ้ำซ้อน ทรัพย์สินของชุมชนเสียหาย กองทุนชุมชนขาดสภาพคล่อง และมลทินชุมชน
ผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้อื่นที่มีต่อเหยื่อ มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการดำรงชีวิตในทุกด้าน และเป็นปัญหาที่ซุกซ่อนในครัวเรือน ชุมชน ที่มีความรุนแรงและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องจำเป็นต้องดำเนินการคัดกรองเพื่อป้องกันการเกิดนักดื่มหน้าใหม่ ลดความรุนแรง เรื้อรัง ลดความสูญเสีย เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีของประชาชน
References
Jernigan DH, Ross CS. Commentary on Bosque-Prous et al. (2014): Alcohol advertising and older adults. Addiction 2014; 109(10): 644-1645.
Laslett AM, Room R, Waleewong O, Stanesby O, Callinan S. Harm to others from drinking: patterns in nine societies. Bangkok: World Health Organization; 2019.
World Health Organization. Global status report on alcohol and health 2018 [อินเทอร์เน็ต]. 2018 [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.paho.org/hq/index.php?option =com_docman&view=download&category_slug=technical-reports-7776&alias=46653-who-s-global-status-report-on-alcohol-and-health-2018-1&Itemid=270&lang=en
อรทัย วลีวงศ์, จินตนา จันทร์โคตรแก้ว, สุรศักดิ์ ไชยสงค์,ทักษพล ธรรมรังสี. รายงานโครงการศึกษาวิจัยการศึกษาผลกระทบของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อบุคคลรอบข้างผู้ดื่มในประเทศไทย (ระยะที่ 1) [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.cas. or.th./wp-content/uploads/2016/03/Binder1.pdf
รัศมี สังข์ทอง, กาญจน์สุนภัส บาลทิพย์, ถนอมศรี อินทนนท์, อุไรวรรณ พัฒนสัตยวงศ์, นูรตัสนีม อูมูดี.รายงานการวิจัยเรื่องผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อบุคคลอื่น Harm to Others (HTO) from Alcohol Drinking. สงขลา: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา; 2562.
สิริกร นามลาบุตร, วรานิษฐ์ ลำใย. ลักษณะของภัยเหล้ามือสองที่เกิดจากการดื่มของเยาวชนในสถานศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดหนองคาย (รายงานฉบับสมบูรณ์). สงขลา: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา; 2561.
กลุ่มรายงานมาตรฐาน ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขายาเสพติด กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ1 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcser-vice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1
ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล: ระเบียบวิธีวิจัยและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์; 2555.
Nayak MB, Patterson D, Wilsnack SC, Karriker-Jaffe KJ, Greenfield TK. Alcohol's Secondhand Harms in the United States: New Data on Prevalence and Risk Factors. Journal of studies on alcohol and drugs 2019; 80(3): 273–281.
ทานตะวัน สุรเดชาสกุล. ทบทวนองค์ความรู้:แอลกอฮอล์กับความรุนแรง [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://alcoholrhythm.com/wpcontent/uploads/ 2019/04/14
Callinan S, Laslett AM, Rekve D, Room R. Alcohol’s harm to others: an international collaborative project. The International Journal of Alcohol and Drug Research 2016; 5(2): 25-32.
กันยปริณ ทองสามสี, อิสระ ทองสามสี. ความรุนแรงที่สืบเนื่องจากการดื่มสุรา: วิเคราะห์ข่าวในหนังสือพิมพ์รายวันระหว่างปี 2549-2558. ว.สังคมศาสตร์วิจัย 2561; 9(1): 7-26.
อรทัย วลีวงศ์. IHPP Fact sheet: “ภัยเหล้ามือสอง” ผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ต่อผู้อื่น [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ihppthaigov.net/DB/ publication/publication_newsletter_show.php?id=69
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. สุราสร้างภาระอะไรให้กับสังคมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://dol.thaihealth.or.th/File/media/2f6b2110-62bb-47d1-ad97-f4419eb65fff.pdf
กนกวรรณ จังอินทร์, สมเดช พินิจสุนทร. พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบต่อครอบครัวของผู้ดื่มแอลกอฮอล์ที่เข้าบำบัดในโรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี. ว.การพัฒนาสุขภาพชุมชน 2560; 5(3): 487-501.
อมรรัตน์ อัครเศรษฐสกุล. พฤติกรรมและผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. ว.สมาคมพยาบาลสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2556; 31(1): 101–109.
สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. ข้อเท็จจริงและตัวเลขเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย พ.ศ.2559-2561. กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์; 2562.
สุจิตตา ฤทธิ์มนตรี. การศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพของกัญชาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2562.
Waleewong O. Alcohol and Crime, Violence, Peace and Security of Society. [Internet]. 2016 [cited 2022 August 10]. Available from: http://www.cas.or.th/wp-content/uploads/2016/ 05/alh_social_safety_ 20160512.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร